ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรคือพลังงานหลัก ในระบบไฟในรถยนต์  (อ่าน 1847 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
อะไรคือพลังงานหลัก ในระบบไฟในรถยนต์
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2013, 05:36:33 PM »
อยากเอาเนื้อหาของเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง อาจจะได้ข้อจริงว่าอะไรกันแน่ที่เป็นพลังงานหลัก ในระบบไฟของรถยนต์ หรือว่ามันทำงานร่วมกัน ลองอ่านดูนะครับ เนื้อความอาจจะยาวหน่อยแต่คิดว่าได้ประโยชน์มาก ที่ทำให้ทราบการทำงานของระบบทั้งส และขออภัยเพื่อนๆสมาชิกด้วย เพราะการตอบปัญหาและเนื้อหาที่นำมากล่าว จะเป็นกึ่งวิชาการ ทำให้เนื้อเรื่องมันยาว ขอบคุณครับ


ในเรื่องการทำงานของแบ็ตเตอรี่และไดน์ชาร์จ( Alternator) ว่าอะไรคือตัวที่จ่ายพลังงานกระแสไฟฟ้าในรถยนต์ทั้งหมดที่แท้จริง ไดน์ชาร์จหรือแบ็ตเตอรี่ ก็มีหลายๆท่านให้ความเห็นคิดต่าง ตามความเข้าใจของแต่ละท่าน ไม่ขอตอบว่าท่านใดตรงประเด็นและท่านใดไม่ตรงประเด็น แม้ในความคิดของผมเอง ก็พยายามทบทวนความเข้าใจตามตำรา ที่ท่านครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมา จากท่านผู้ทรงความรู้ และในสื่อด้านวิชาการต่างๆ ก็ยังสับสนกับการทำความเข้าใจที่ท่องแท้ ว่าแท้จริงแล้ว ระหว่างแบ็ตเตอรี่ กับตัวไดน์ชาร์จ ตัวไหนทำการจ่ายพลังงานกระแสไฟฟ้าให้กับโหลดในรถยนต์ทั้งหมด บางท่านหรือแหล่งที่มาให้ข้อมูลก็มีความคิดต่างกัน บ้างก็บอกว่า ตัวไดน์ชาร์จ(Alternator) เป็นตัวจ่ายกระแสไฟทั้งหมดให้กับรถยนต์ และบอกว่าแบ็ตเตอรี่ เป็นเพียงพลังงานเสริม ยามที่ไดน์ชาร์จจ่ายไม่ทัน ไม่พอ แบ็ตก็จะเข้ามาเสริมให้กับระบบไฟในรถยนต์ บางท่านและบางแหล่งข้อมูล ก็บอกว่าไดน์ชาร์จมีไว้สำหรับชาร์จ หรือป้อนประจุไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่ เก็บพลังงานในรูปของกระแสไฟ ให้แบ็ตเต็มไว้เสมอ เมื่อจ่ายออกก็ต้องหามาแทน โดยการชาร์จให้กระแสไฟเต็มตลอดเวลา เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของโหลดในรถยนต์


เมื่อเป็นดังนี้ ก็อยากจะมาถกปัญหา แชร์ประสบการณ์ทางความคิดและความรู้ มาวิเคราะห์กันว่า ความน่าจะเป็นควรจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุและผล ผิดบ้างถูกบ้างก็อย่าตำหนิ สิ่งไหนที่คิดว่าเป็นความรู้และถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็รับเก็บเอาไว้ประดับความรู้ สิ่งไหนที่เห็นว่ามันยังแตกต่างขาดเหตุและผลน้อยไป ก็เก็บเอาไว้เปรียบเทียบกับข้อมูล ที่สามารถจะค้นคว้า ได้จากแหล่งเรียนรู้ ที่สมัยนี้โลกทางด้านวิทยาการ สามารถค้นคว้าได้ง่าย เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ก็ได้ข้อมูลที่อยากรู้ ความรู้ที่ได้จากตำราและครูบาอาจารย์ หากจะให้รู้แจ้งและเห็นจริง ก็ต้องทดลองและปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย จึงจะสมบูรณ์


สำหรับผมแล้วก็ขอเอาความรู้แบบงูๆปลาๆ รูบ้างไม่รู้บ้าง มาออกความคิดเห็นต่างในเรื่องนี้บ้าง ว่าความคิดนี้ถูกต้องหรือไม่ และอย่างไร หากผิดพลาดหรือขาดความเข้าใจไปบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่ด้วย มาเข้าเนื้อหาของเรื่องนี้กันดีกว่า


ไดน์ชาร์จและแบ็ตเตอรี่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างไรได้บ้าง ตามความรู้และเข้าใจของผมแบบพื้นๆทั่วไป เมื่อกล่าวถึงไดน์ชาร์จ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า มีไว้สำหรับชาร์จ แบ็ตเตอรี่ ไม่ใช่บอกแบบกำปั้นทุบดิน เพราะหน้าที่ของมันก็คือการสร้างกระแสไฟหรือประจุกระแสไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่ ที่ได้จาการทำงานของสนามแม่เหล็ก ของขดลวดโรเตอร์ ที่เหนี่ยวนำไปยังขดลวดสเตเตอร์ เกิดกระแสไหลในขดลวด ในรูปแบบของกระแสไฟ AC และนำกระแสไฟที่เป็นรูปสัญญาณ AC นี้ ไปทำการเร็คติฟลาย ให้เป็นไฟกระแสไฟตรง DC เพื่อนำไปชาร์ทให้กับแบ็ตเตอรี่


แต่เนื่องจากกระแสไฟที่ได้จากการเร็คติฟลาย ไม่เป็นกระแสไฟตรงแบบกระแสไฟ ที่ได้จาการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนประจุบวก ในทางฟิสิคส์เคมี ในการทำปฏิกริยาระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ ในน้ำกรดกำมะถันเจือจางทางเคมี หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า กระแสไฟที่ได้จากการแปลงพลังงานทางเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนประจุบวก เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามผิวของตัวนำ ดังนั้นกระแสไฟที่ได้จากการเร็คติฟลายของ Diode ในไดน์ชาร์จ จึงไม่สามารถเป็นเส้นตรงราบเรียบเช่นกระแสไฟ DC ของแบ็เตอรี่ และยังมีส่วนของกระไฟที่มีลักษณะเป็น Ripple Voltage อันแสดงออกถึงความไม่เป็นเส้นตรงของลักษณะกระแสไฟ DC ที่เป็นคุณสมบัติของกระแสไฟที่ได้จากแบ็ตเตอรี่ และเป็นคุณสมบัติอันไม่พึงประสงค์ ในระบบวงจรไฟฟ้าทางอีเลคโทรนิคส์ เป็นผลที่ทำให้เกิดการรบกวนวงจรอีเลคโทรนิคส์ย่านความถี่ต่ำ เกิดเสียงฮัมในภาคขยายความถี่ต่ำ ของย่าน AF amplifier ของอุปกรณ์เครื่องเสียงวิทยุและเครื่อง Amplifier


ประการที่สำคัญ กระแสไฟที่ได้จากการ Generate ของไดน์ชาร์จ ไม่สามารถที่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าในรูปของกระแส ให้คงที่ได้ตลอดเวลา เมื่อมีการใช้กระแสไฟของรถยนต์มาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการหมุนของทุ่นโรเตอรให้มีรอบความเร็วเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไปหมุนไดชาร์จ เพิ่อให้ทุ่นโรเตอร์หมุนด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กหรือสนามแม่เหล็ก เพิ่มขึ้นและเสริมทับกันมากๆ ยิ่งโรเตตอร์หมุนเร็วการเกิดเส้นแรงสนามมากขึ้น เมื่อสนามแม่เหล็กนี้ไปตัดกับขดลวดสเตเตอร์ ทำให้มีกระแสที่ไหลในเส้นลวดมากขึ้นตาม


เมื่อเป็นดังนี้ หากเราใช้รถที่ความเร็วต่ำ หรืออยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา มีการใช้กระแสไฟมาก เช่นในเวลากลางคืนหรือกลางวันเปิดแอร์ เปิดไฟหน้ารถ เปิดเครื่องเสียง ในจังหวะที่รถอยู่ในรอบเดินเบา มีการใช้กระแสไฟมาก ที่ตัวไดน์ชาร์จจะไม่สามารถผลิตกระแสไฟออกมาจ่ายให้กับโหลดที่ใช้กระแสไฟในขณะนั้น ไดน์ชาร์จจะผลิตกระแสได้ประมาณ 6-10 Amp เมื่อรอบเครื่องยนต์อยู่ในจังหวะรอบเดินเบา มันจึงมีกระแสไฟไม่พอจ่าย จึงเป็นภาระหน้าที่ ของแบ็ตเตอรี่ที่จะต้องจ่ายกระแสไฟไปแทนจากแบ็ตเตอรี่ (ความเข้าใจที่ผมคิดว่าผิด)


ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของกระแสไฟฟ้า ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าในรูปของกระแสไฟ เช่นแบ็ตเตอรี่ หากมีการเก็บพลังงานในรูปของกระแสยิ่งมาก ยิ่งมีแรงดันของกระแสมากขึ้นตาม และถ้าหากมีการใช้กระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้กับโหลด มันจะดึงกระแสจากแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีแรงดันของกระแสที่สูงกว่าไปใช้ มากกว่าที่มันจะไม่ดึงกระแสไฟจากตัวไดน์ชาร์ทไปใช้งานโดยตรง เพราะค่าแรงดันของกระแสไฟจากไดน์ชาร์จ มีน้อยแค่ 6-10 Amp เท่านั้น ในรอบเดินเบา เมื่อเทียบกับกระแสไฟที่ถูกชาร์จเก็บไว้ในหม้อแบ็ต 45-100 Amp


ในเรื่องตรงจุดนี้ ที่ใช้สนับสนุนว่า กระแสไฟจากไดน์ชาร์ท ถูกนำไปใช้น้อย กว่ากระแสที่มาจากแบ็ตเตอรี่ ก็คือให้เราหาแอมป์มิเตอร์ มาต่ออันดับระหว่างขั่ว B+ ของไดน์ชาร์จ กับขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่(แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1) เพื่อเอาไว้อ่านค่ากระแสไฟชาร์จในรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ และก็ให้เอาแอมป์มิเตอร์ อีกตัวหนึ่ง มาต่ออันดับกับขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่กับสายไฟทั้งหมดที่ต่อเข้าขั่วบวกกับแบ็ตเตอรี่( แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 2) ที่เราเอาออกมาต่ออันดับกับแอมป์มิเตอร์ (แอมป์มิเตอร์ต้อง สามารถวัดกระแสได้อย่างน้อย 30 Amp )


จากนั้นให้ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ให้อยู่ในจังหวะรอบเดินเบา ให้ดูที่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 ว่ามีกระแสไหลผ่านกี่แอมป์ สมุติว่าอ่านได้ 10 แอมป์ ทีนี้ก็มาดูแอมป์มิเตอร์ ตัวที่ 2 ว่าขณะนี้อ่านได้กี่แอมป์ แล้วลองเปิดแอร์ เปิดอุปกรณ์ที่ใช่ไฟทั้งหมดในรถ ในระหว่างที่เปิดไฟในรถทีละจุดให้สังเกตที่แอมป์มิเตอร์ ตัวที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะพบว่าไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 2 จะมีกระแสเพิ่มขึ้น สมมุติว่าเปิดไฟใช้กระแสทั้งหมดอ่านได้เท่ากับ 20 Amp


ช่วงนี้เราจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 เพราะกระแสไฟส่วนมากออกจากแบ็ตเตอรี่ ทำอย่างไรที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่ต่อจาก B+ ของไดน์ชาร์จ ไปที่ขั่วบวกแบ็ต ของแอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 ก็ต้องรอให้การใช้กระแสไฟจากแบ็ตจนเกือบจะถึงหรือต่ำกว่า 30 Amp ที่นี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสจากไดน์ชาร์จลดลง เพราะมีการจ่ายกระแสไปยังโหลดของระบบไฟทั้งหมด กระแสไฟที่มีการเอาออกไปใช้งาน หากมีการใช้งานในขณะนั้น เป็นครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของกระแสไฟทั้งหมดในตัวแบ็ตเตอรี่ จะพบว่ามีแรงเคลื่อนโวลเต็จเริ่มลดลง


เมื่อแบ็ตเตอรี่มีโวลเต็จลดลง ทำให้ไฟโวลเต็จที่ต่อไปใช้ที่ตัวไดน์ชาร์จ ที่ขดลวดโรเตอร์ ลดลงไปด้วย การเกิดสนามแม่เหล็กที่ไปตัดกับขดลวดสเตเตอร์ ก็ต่ำลง กระแสไฟที่ได้จากขดลวดสเตเตอร์ก็ลดลง ประกอบกับโหลดมีการใช้กระแสมาก ในขณะที่กระแสในตัวแบ็ตเริ่มลดลงจนมีผลกับการใช้กระแสขณะนั้น โหลดจึงดึงกระแสจากไดน์ชาร์จมากขึ้น ในสภาวะเช่นนี้ในทางปฏิบัติ เราคงไม่สตาร์ทเครื่องยนต์จอดรถเปิดแอร์ไว้นานๆ ปกติทั่วไปก็ขับรถสลับกับความเร็วที่สูงและต่ำกันไป โดยมากรอบเครื่องยนต์จะอยู่ที่สองพันกว่ารอบขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ไดน์ผลิตกระแสไฟออกมามาก 20-30 Amp มันก็จะชาร์จประจุไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่จนเต็มในระยะเวลาอันสั้น เมื่อเต็มแล้ว ไดนชาร์จมันก็จะหยุดผลิตกระแสไฟออกมา โดยวงจรเร็คกูเรเตอร์ ที่มีวงจร reference current หรือ voltage compare คอนโทรลตัดต่อการจ่ายไฟเข้าขดโรเตอร์ของไดน์ชาร์จ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก

จนกว่าการใช้กระแสไฟจากแบ็ตเตอรี่จะลดลงมา ณ. จุดๆหนึ่งตามที่เขาออกแบบกำหนดไว้ในวงจรเร็คกูเรเตอร์ว่า กระแสจากแบ็ตลงมากี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจะทำให้ระบบคอนโทรลของวงจร ทำการจ่ายไฟให้กับขดลวดโรเตอร์ เริ่มสร้างสนามแม่เหล็ก ให้กับขดลวดสเตอร์ผลิตกระแสไฟออกมาชาร์ทให้กับแบ็ตเตอรี่ทำการชาร์จไฟให้กับแบ็ตเตอรี่ต่อ
ถามว่า ในระหว่างที่ไดน์ชาร์จหยุดการทำงานนี้ กระแสไฟที่จ่ายไปให้กับระบบไฟในรถยนต์ทั้งหมดมาจากไหน หากไม่ใช่จากแบ็ตแล้วจะเอาจากไหน ดังนั้นการที่มีผู้ทรงความรู้บอกว่า ไดน์ชาร์จ เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักให้กับระบบไฟในรถทั้งหมด มันดูจะขัดกับหลักการที่ผมกล่าวมาทั้งหมด


การที่บอกว่าไดน์เป็นตัวจ่ายพลังงานหลักให้กับระบบไฟในรถยนต์ และแบ็ตเตอรี่เป็นเพียงแหล่งพลังงานเสริมช่วยในสภาวะไดน์ผลิตกระแสไม่พอ คำว่าพลังงานหลัก มันจะต้องจ่ายไฟได้เต็มตามสภาวะของโหลดได้เพียงพอและตลอดเวลา ไม่ใช่มีการเปลี่ยนแปลง พลังงานของกระแส ที่มีตัวแปรเรื่องรอบของเครื่องยนต์ และประการสำคัญ ไดน์ชาร์จ หากไม่มีไฟจากแบ็ตเตอรี่จ่ายให้ขดโรเตอร์ก่อน ไดน์ชาร์จก็ไม่สามารถทำงานได้ และอะไรคือพลังงานตัวจริงและเป็นพลังงานหลัก
ในระหว่างที่ไดน์ชาร์จหยุดทำงานจ่ายกระแสไฟ เนื่องจากกระแสไฟในแบ็ตเตอรี่เต็ม เพื่อป้องการ โอเวอร์ชาร์จ ที่จะสร้างความเสียหายให้กับแผ่นธาตุในโครงสร้างของแบ็ตเตอรี่ ในทางเคมี และการเกิดความร้อนในตัวแบ็ตเตอรี่ อันเป็นเหตุทำให้แบ็ตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง


ถามว่า ในระหว่างที่ไดน์ชาร์จหยุดทำงาน อะไรคือแหล่งจ่ายพลังงานหลัก
ถามว่า การที่จะเกิดสนามแม่เหล็กเสริมมากขึ้น เพื่อสร้างกระแสไฟที่มากเพื่อจ่าย ให้กับโหลดและชาร์จให้แบ็ตเตอรี่ ยังคงต้องอาศัยเรื่องรอบเครื่องยนต์เป็นหลัก จะถือว่า เป็นพลังงานหลักได้ไหม?
ถามว่า หากกระแสไฟที่จ่ายให้กับวงจรไฟฟ้าในรถยนต์ ที่ต้องการไฟ DC กระแสตรง ที่ได้จาก พลังงานเคมี แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการเคลื่อนที่ของอีเล็คตรอนบวก ในแนวเส้นตรงของกระแส กับกระแสไฟที่ได้จากการ เร็คติไฟน์ของวงจรไดโอด ในตัวไดน์ชาร์ท ที่มีกระแสไฟไม่เรียบ เหมือนกระแสไฟ DC มันขัดกับคุณสมบัติ ที่วงจรไฟฟ้าอีเลคโทรนิคส์ ที่ใช้ร่วมกับระบบไฟในรถยนต์ ต้องการไฟ DC กระแสตรง
ถามว่า ถ้าหากไดน์ชาร์ทมีไว้เป็นพลังงานหลัก ทำไมนักออกแบบดีไซน์ จึงไม่พัฒนา ระบบวงจรชาร์จเยอร์ ที่มีวงจรเร็คติไฟร์ แปลงไฟจาก AC เป็น DC ให้มีกระแสไฟตรงเช่นเดียวกับกระแสไฟที่ได้จากแบ็ตเตอรี่


มันต้องมีเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง และหนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือต้องการพัลส์ของกระแสไฟที่ไม่เป็นเส้นตรงนี้ หรือกระแสไฟที่มี Ripple voltage ไปกระตุ้นเซลของตะกั่วซันเฟต ที่เป็นตะกอนสีขาวจับอยู่ที่แผ่นตะกั่วอ๊อกไซด์ขั่วบวกและลบของแบ็ตให้หลุดออกมาละลายกับน้ำ เกิดเป็นกรดกำมะถันจือจาง เพื่อให้เกิดขบวนการทางเคมี ในการประจุกระแสไฟได้ง่าย และนี้ก็คงเป็นเหตุผลหนึ่งในหลายๆเหตุผล


เรื่องพัลส์ของกระแสไฟที่มีผลต่อการทำปฏิกิริยาทางเคมี เคยมีผู้สร้างจรอีเลคโทรนิคส์ ที่มีการสร้างสัญญาณพัลส์ ไปกระตุ้นเซลตะกั่วซันเฟต ที่จับอยู่ที่แผ่นธาตุตะกั่วอ๊อกไซด์แผ่นตะกั่วขั่วลบ ให้หลุดออกมาทำปฏิกิริยากับน้ำ เป็นกรดกำมะถันเจือจาง ในแบ็ตเตอรี่ที่ทิ้งไว้นานๆโดยไม่ได้ชาร์จ และเสื่อม ให้กลับมาใช้งานได้ต่อไป มันก็เป็นเครื่องยืนยันนได้ส่วนหนึ่ง ที่ไดน์ชาร์จ ควรจะทำหน้าที่ชาร์จประจุให้กับแบ็ตเตอรี่เท่านั้น ถึงแม้บางท่านจะมีข้อคิดต่างมุมว่า ทำไมเวลาที่เครื่องยนต์ติดแล้วเอาขั่วลบแบ็ตออก แล้วเครื่องยนต์ยังติดและใช้งานได้


ที่เครื่องยนต์ติดใช้งานได้ ก็เพราะว่าระบบการทำงานของไดน์ชาร์จ จ่ายไฟออกมาแทนแบ็ตเตอรี่ แต่หากเครื่องยนต์มีโหลดการใช้กระแสไฟมาก และอยู่ในจังหวะรอบเดินเบา ไฟที่ออกมาจากไดน์ชาร์จ จะมีกระแสไฟไม่พอทำให้โวลเต็จตก จนระบบไฟจุดระเบิดไม่พอ เครื่องยนต์ก็ดับ และถามว่าหากการสตาร์ทเครื่องยนต์ในจังหวะนั้น โดยไม่มีไฟจากแบ็ตจ่ายไปยังมอเตอร์สตาร์ท แล้วอะไรคือพลังงานหลักในความคิดผม และอยากจะเห็นความคิดต่างมุมจากเพื่อนๆสมาชิกหรือท่านที่ทรงความรู้ ช่วยชี้แนะว่าที่แท้ควรจะเป็นอย่างไร ผมเองก็มีความเข้าใจบ้างแบบงูๆปลาๆ (แถมเป็ดไก่ให้ด้วยก็ได้) อาจจะไม่ทราบในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ก็ขอบอกและเป็นความคิดของผมว่า ไดน์ชาร์จและแบ็ตเตอรี่ มันก็คือองค์ประกอบที่ทำงานร่วมกัน ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ครับ


เรื่องทั้งหมดที่นำมาสู่กันฟังนี้ เป็นเพียงให้ทราบว่าการทำงานของแหล่งกำเนิดไฟในรถยนต์ มันทำงานอย่างไร จะบอกว่าไดน์ชาร์จหรือระบบแบ็ตเตอรี่ เป็นพลังงานหลัก ตัวหนึ่งตัวไดไม่ได้ มันน่าจะตรงประเด็นมากกว่า ที่จะต้องทำงานร่วมกันทั้งคู่แบบปลาท่องโก๋ว่ามั๊ยครับ หวังว่ากระทู้คงทำให้เพื่อนๆสมาชิกได้เข้าใจในระบบพลังงานไฟฟ้าของเครื่องยนต์ ไม่มากก็น้อย หากเป็นไปได้อยากจะเห็นข้อคิดที่ต่างมุม เพื่อเอามาเป็นข้อวิเคราะห์เหตุและผล ว่าที่แท้จริงมันควรจะเป็นอย่างไร ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ