ผู้เขียน หัวข้อ: ร้อนแล้ว มาดูแล หม้อ(น้ำ)กันเถอะ  (อ่าน 1635 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
ร้อนแล้ว มาดูแล หม้อ(น้ำ)กันเถอะ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2014, 11:35:56 AM »
เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ วิธีการบำรุงรักษาหม้อน้ำหรือระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคั­อีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์่ร้อนจัด การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากเท่าใด ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท และสร้างความเสียหายตามมาได้



ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสั­­าณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สั­ลักษณ์เป็นตัว C ย่อมาจาก Cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคั­ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้



ดังนั้น เพื่อให้หม้อน้ำรถยนต์อยู่คู่กับรถยนต์ของท่านไปนานๆ ก็ควรดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหม้อน้ำเกิดปั­หาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเป็นลำดับต่อไป เครื่องยนต์อาจจะร้อนจัดขนาด OVER HEAT สิ่งที่ต้องเสียตามมาติดๆ คือเงินในกระเป๋าสตางค์ของท่าน ต้องถูกควักจ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นรักคุณ รักรถจะมาบอกวิธีในการดูแลรักษาหม้อน้ำโดยมีดังนี้



1. ควรตรวจดูระดับน้ำทุกๆ ครั้งก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 2-3 วัน สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี ซึ่งปรกติระดับน้ำควรอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดี หรืออยู่ระหว่างกึ่งกลางขีด MAX และ MIN สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ



2. ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ถ้าเป็นไปได้ น้ำที่เราใช้ดื่มดีที่สุดสำหรับใช้เติมหม้อน้ำ



3. หมั่นตรวจดูรอยรั่วตามที่จุดต่างๆ อย่างเช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง ปั๊มน้ำ ฯลฯ หากพบรอยรั่วซึม ควรทำการซ่อมทันที



4. ตรวจดูสายพานหน้าเครื่อง ไม่ควรให้หย่อนหรือตึงเกินไป ตามปรกติเมื่อใช้มือกดลงบนสายพานควรยุบตัวลงประมาณ 1 นิ้ว



5. ตรวจดูครีบรังผึ้ง (FIN) ของหม้อน้ำ อย่าให้พับงอปิดช่องทางผ่านของลม ไม่ควรให้สกปรกด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก เครื่องยนต์อาจร้อนจัด และหากครีบพับงอ ให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบางๆ ดัดให้ตรง หรือถ้าครีบสกปรกมากให้ทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าหรือน้ำร้อนที่มีความดันสูงพอพ่นย้อนทิศทางลมเข้า



6. พัดลมระบายความร้อนควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมไฟฟ้า ต้องคอยตรวจเช็คว่าพัดลมหมุนด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าพัดลมหมุนด้วยรอบที่ช้าลง การระบายความร้อนให้หม้อน้ำรถยนต์ก็จะด้อยตามไปด้วย



7. ไม่ควรติดเครื่องยนต์โดยไม่ได้ปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำและภายในเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหย
ออกมา เมื่อเกิดตะกรันในหม้อน้ำ หรือบริเวณท่อทางเดินน้ำในเครื่องยนต์มาก ๆ จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะการระบายความร้อนไม่ดีพอ



8. เกจวัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่ทันที



9. หากน้ำในหม้อน้ำแห้ง ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง ไม่ควรดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที ให้ติดเครื่องเดินเบาๆ สักระยะหนึ่ง พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง แล้วค่อยๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง



10 ควรถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรกมากแล้ว เช่น มีสนิมหรือคราบน้ำมัน