ผู้เขียน หัวข้อ: ออยล์คูลเลอร์มีไว้ทำอะไร สำคัญอย่างไร  (อ่าน 3526 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
ออยล์คูลเลอร์มีไว้ทำอะไร สำคัญอย่างไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2012, 06:48:53 AM »
แปลตรงตัวเลยมันก็คือ ตัวระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันไฮดรอลิค ที่เราเห็นรถพวกรถแต่งทั้งหลาย มักหามาใส่กัน หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องบอกว่าออยล์คูลเลอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด แต่การติดตั้งที่ผิดวิธี ผิดทิศทางลม ผิดตำแหน่งการเรียงลำดับ หรือการติดตั้งไม่ถูกหลักต่างๆ มันก็อาจจะกลายเป็นส่วนที่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย เรามารูจักหน้าที่การทำงานและประโยชน์กันก่อนดีกว่าน้ำมันเครื่องที่เราใช้อยู่มีหน้าที่ในการลดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ เครื่องยนต์มีการสึกหรอน้อยที่สุดโดยอาศัยฟิล์มบางๆของน้ำมันเครื่องเข้าไป แทรก
ในช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนต่างๆเช่น เพลาข้อเหวี่ยง แหวนสูป ก้านสูป เพลาราวลิ้น แคมชาร์ป และส่วนอื่นๆอีก น้ำมันเครื่องที่ดีจะมีสารในการยึดเกาะโลหะได้ดี แต่ก็จะทำงานได้ที่อุณหภูมิที่กำหนดเท่านั้น น้ำมันเครื่องที่มีราคาแพงจะสามารถทำหน้าที่ในการหล่อลื่นที่ อุณหภูมิสูงๆได้ดีและใช้ได้ยาวนานกว่าเพราะมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติน้อย น้ำมันเครื่องที่มีราคาถูกจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิที่กำหนดแต่พออุณหภูมิสูง ขึ้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเหลวใสขึ้นในขณะที่เครื่องต้องทำงาน หนักขึ้น ความร้อนเกิดขึ้นสูง โลหะในเครื่องยนต์เกิดการขยายตัว ดังนั้นโอกาสที่โลหะจะเกิดการกระทบกันเป็นไปได้มากและเกิดความเสียหายขึ้น ในระบบเกียร์ก็เช่นกัน ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญที่ทำให้รถนั้นยังวิ่งได้อย่างราบรื่น

หน้าที่ของออยล์คูลเลอร์

ออยล์คูลเลอร์มีหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อนของน้ำมันเครื่องที่หมุนเวียนอยู่ในเครื่องยนต์ของเรา ให้เย็นลง ในอยู่ในระดับความร้อนที่พอดี ไม่เย็นจนเกินไปเพราะเมื่อเย็นไปก็ไม่เป็นผลดี เพราะจะทำให้ ตัวน้ำมันเหนียวเกินไป ภายในท่อภายในออยล์คูลเลอร์จะมีครีบเล็กๆให้น้ำมันเครื่องไหลผ่าน และอาศัยอากาศจากภายนอกไหลมากระทบกับท่อน้ำมันซึ่งจะมีครีบบางๆเพื่อนำพา ความร้อนออกมาระบายให้เย็นตัวลง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีออยล์คูลเลอร์ อยู่สองแบบ คือ

1. แบบที่เรียกกันว่าเป็นแบบลามิเน็ต ซึ่งหมายถึงตัวออยล์คูลเลอร์น้ำมันชนิดต่างๆ ซึ่งตัวรังผึ้งนั้นจะเป็นลักษณะการนำแผ่นอลูมิเนียมที่เป็นหยักๆคล้ายรูปตัว V แล้วก็วางซ้อนกับแผ่นอลูเนียมเรียบ แล้วก็ตามด้วยแผ่นคลีบเล็กๆที่จะอยู่ภายในท่อสำหรับให้น้ำมันวิ่งผ่านแล้วก็ซ้อนกันอย่างนี้ไปเรื่องๆ ตามขนาด สูง x กว้าง ที่ต้องการ ข้อดีคือระบายความร้อนได้ดี แต่จะรับแรงดันได้ไม่ค่อยมาก และมักจะแตกง่ายตามรอยตะเข็บต่างๆ เพราะมันเป็นแผ่นๆซ้อนกันดังนั้นโอกาสรั่วซึ่งของออยล์คูลเลอร์จึงมีเยอะ และเวลาซ่อมก็พอซ่อมได้บ้างเป็นใบๆไป เพระาส่วนใหญ่แล้วออยล์คูลเลอร์ลักษณะนี้จะทำจากวัสดุอลูมิเนียมที่ค่อนข้างบาง เพื่อประหยัดต้นทุน จึงทำให้มันยากเวลาที่มีการต้องรื้อมันออกแล้วซ่อมด้วยการเชื่อมปิดรูรั่ว และประกบแท๊งค์กลับที่เดิม เหตุที่มันมักจะเกิดขึ้นคือ รอยแตกร้่ว มันจะลามไปเรื่อยๆ และยากที่จะซ่อม ยิ่งถ้าเป็นออยล์คูลเลอร์ที่ใช้กับระบบน้ำมันไฮดรดลิคแล้วด้วย เป็นปัญหาที่ร้านซ่อมออยล์ เจอเยอะที่สุด และบางที่จะแนะนำให้สั่งทำออยล์คูลเลอร์ไฮดรอลิคใบใหม่เลยจะง่ายกว่า

2. แบบที่เป็นท่อน้ำมันแบบฉีดมา แล้วนำมาประกอบเป็นใบ คล้ายกับหม้อน้ำ ซึ่งภายในก็มีการแบ่งเป็นช่องเล็กๆเหมือนกันเพื่อจะให้น้ำมันวิ่งกระทบกับขอบให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยให้คลีบภายนอกสามารถดึงความร้อนออกไปได้มากที่สุด ขอเสียของออยล์คูลเลอร์ลักษณะนี้คือ มันจะถึงกำหนดขนาดความหนาด้วยขนาดของท่อที่ฉีดมา ซึ่งจะสั่งขนาดพิเศษต่างๆก็ต้องขึ้นพิมพ์ฉีดใหม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็เหยียบแสนบาท แต่ข้อดีก็มี คือ มันทนแรงดันได้เยอะ เพราะลักษณะท่อเป็นท่อแบบฉีดมา จึงทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างทางและแถมยังเสียบไว้กับจานของออยล์ จึงทำให้โอกาส แตก รั่ว เกิดขึ้นได้ยาก เวลาซ่อมง่าย แค่เปิดแท๊งค์แล้วก็เชื่อมปิดรูเป็นอันใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นออยล์คูลเลอร์สำหรับน้ำมันเครื่อง หรือ น้ำมันเกียร์ หรือ น้ำมันไฮดรอลิค


การระบายความร้อนของออยล์คูลเลอร์
มีอยู่ 2 วิธี
1. ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ พวกนี้จะติดตั้งมาจากโรงงาน มักจะติดอยู่กับกรองน้ำมันเครื่องโดยทำเป็นอแดปเตอร์ ต่อขึ้นมาก่อนแล้วใช้น้ำจากหม้อน้ำไหลผ่านมาระบายความร้อนหรือติดตั้งอยู่ กับเสื้อสูปในเครื่องที่ออกแบบมาในจุดที่มีน้ำและน้ำมันเครื่องไหลผ่าน
พวกนี้มักทำด้วยสแตนเลสเพื่อทนต่อการกัดกร่อนของน้ำแต่ระบายความร้อนได้ไม่ค่อยดี

2. ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ มี 2 แบบ ที่ทำด้วยทองแดงโดยท่อภายในและภายนอกทำด้วยทองแดงทั้งสิ้นพวกนี้ จะทนทานกว่า มีน้ำหนักมากกว่า แต่การระบายความร้อนจะระบาย ได้น้อย และแบบที่สองทำด้วยอลูมิเนียม พวกนี้มีน้ำหนักน้อยกว่า ความแข็งแรงน้อยกว่า แต่การระบายความร้อนดีกว่ามาก


การติดตั้งออยล์คูลเลอร์

ส่วน มากแล้วในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะมีการติดตั้งมาอยู่แล้วเพราะเครื่องยนต์ ดีเซลเป็นเครื่องที่มีความร้อนสูง และในเครื่องเทอร์โบส่วนมากก็มักจะติดตั้งมาให้แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นแบบ ระบายความร้อนด้วยน้ำและถ้าแบบระบายความร้อน ด้วยอากาศมักจะมีขนาดเล็กเครื่องยนต์ที่ติดตั้งแบบระบายความร้อนด้วยอากาศมา แล้ว เราสามารถหาซื้อแบบที่ดีกว่าและใหญ่กว่ามาติดตั้งแทนได้เลย
แต่ใน เครื่องที่ระบายความร้อนด้วยน้ำมักต้องถอดของเดิมออกก่อนและหาอแดปเตอร์มา ต่อในจุดที่เคยใส่กรองน้ำมันเครื่อง และต่อสาย มายังตัวใส่กรองน้ำมันเครื่องด้านนอก แล้วในตัวอแดปเตอร์จะมีสายแยกแพื่อจะเข้าไปยังออยล์คูลเลอร์อีกทีการติดตั้ง ต้องอยู่ในจุดรับลมที่จะมาระบายความร้อนได้ดี ไม่เสียงต่อการกระแทกกับพื้น ล้อรถยนต์ ทำความสะอาดง่าย หรือสามารถเพิ่มพัดลมไฟฟ้ามาระบายความร้อนได้ยิ่งดี ท่อยางควรใช้สายทนแรงดัน จำพวกสายไฮโดรลิค หรือสายสแตนเลสถัก หัวต่อต้องเป็นหัวสายแบบทนแรงดันสูง
เท่านั้น การเดินสายต้องระวังจุดหมุนหรือจุดเสียดสีทุกจุดหรือมีวัสดุมาป้องกันเพื่อ ป้องกันการฉีกแตก หรือติดตั้งเกจ์วัดแรงดันไว้คอยเตือนเมื่อเกิดการแตกรั่ว
อีกอย่างที่สำคัญคือ ถ้าติดตั้งตัวออยล์ที่เป็นการระบายด้วยลม จะต้องติดตั้งไว้หน้าหม้อน้ำ เพราะจะได้ลมที่เย็นที่สุดที่เข้ามาห้องเครื่อง ผ่านออยล์คูลเลอร์ก่อน เพราะว่าน้ำมัน ถ้ามันยังไม่ร้อนก็ถือว่ายังดี แต่พอมันร้อนแล้วมันจะเย็นยากกว่าน้ำ ดังนั้นให้มันเย็นไว้ก่อนเป็นดี เอาไว้หน้าหม้อน้ำเลยดี่ที่สุด แต่อย่าให้ปิดทั้งหน้าหม้อน้ำนะ เดี๋ยวหม้อน้ำหายใจไม่ออก อิอิ

สรุป ข้อดีของการติดออยล์คูลเลอร์

ช่วย ระบายความร้อนของน้ำมันภายในของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี มีความสำคัญน้อยกว่าหม้อน้ำ แต่ถ้าไม่มีมันหม้อน้ำก็ทำงานหนักหน่อย หรือบางทีอาจจะระบายความร้อนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของเรา เพราะถ้าน้ำมันเครื่องเย็นมีผลทำให้อุณหภูมิโดยรวมของเครื่องยนต์เย็นลงด้วย ช่วยยืดอายุของน้ำมันเครื่องให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น และจะทำให้หม้อน้ำไม่ต้องทำงานหนักมาก ก็จะช่วยยืดอายุของตัวหม้อน้ำไปในตัวด้วย

ข้อควรระวัง
ต้อง คำนึงด้วยว่าปั้มน้ำมันเครื่องของเรามีเเรงดันเพียงพอหรือไม่เพราะจะทำให้ แรงดันน้ำมันเครื่องลดลงอาจต้องเปลี่ยนปั้มน้ำมันเครื่อง การติดตั้งต้องใช้วัสดุอย่างดีและจุดที่ปลอดภัยที่สุดถ้าเกิดการแตกรั่ว น้ำมันเครื่องจะถูกดันออกจากเครื่องอย่างรวดเร็วจนเราไม่ทันรู้ตัวเครื่องก็ พังเสียแล้ว เมื่อติดตั้งแล้วควรวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะต้องเพิ่มน้ำมันเครื่องอีก 1 – 2 ลิตร