ผู้เขียน หัวข้อ: โมดิฟลายเบรกให้ดีขึ้น และ วิธีต่างๆ  (อ่าน 5372 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
โมดิฟลายเบรกให้ดีขึ้น และ วิธีต่างๆ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:31:42 AM »
ปูพื้นฐานกับ ส่วนประกอบของระบบเบรก ก่อนเริ่มต้นโมดิฟลาย
   
บทความโดย : webmaster@thaispeedcar.com

คิดจะแต่งรถทั้งที ไม่ใช่แต่งแต่ให้แรงๆ และ เร็วๆ เพียงอย่างเดียวนะครับ แต่ที่ต้องคำนึงอีกสิ่งก็คือ หยุดๆ และให้อยู่ๆ ด้วย บางคนคิดว่า เอาเครื่องให้

แรงๆไว้ก่อน เบรกเดียวค่อยเก็บเงินทำทีหลัง ผลแรงจริงๆ แต่มิดไปแล้วครับพี่ จะทำเบรกสักหน่อย แต่กลับต้องเปลี่ยนเป็นทำสีทั้งคัน บางคนบอก

เบรกอยู่ดีแล้ว ไม่เคยมีปัญหา แต่พอซัดๆ เบรกๆ บ่อยๆ เข้าเหยียบเบรกอีกที อุ๊ยต๊ายตาย เบรกหายไปซะยังนั้นก็มี นั่นไงล่ะ เจออาการเบรกเฟดเข้าให้

แล้ว สำหรับรถแรงๆ บางครั้งขับไล่เกียรหนึ่งมาเต็ม พอสับเข้าเกียรสอง แต่มีเหตุให้เหยียบต้องเบรกซะอย่างนั้น อ้าวเบรกข้าหายไปไหน ต้องแก้เอา

ชีวิตรอดกันพัลวัน ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ อนิจจา คราวนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องระบบเบรกกันก่อนดีกว่า แล้วต่อด้วยปัญหาต่างๆ และการดูแลรักษา

ระบบเบรก ให้เข้าใจกันก่อน แล้วจึงค่อยมาดูกันว่า การจะโมดิฟลายระบบเบรกให้ดีขึ้น ควรจะเริ่มต้นที่จุดใด และเขามีวิธีการโมดิฟลายอย่างไรกันบ้าง

สนใจส่วนใดเลือกอ่านดูละกัน
   
ส่วนประกอบของระบบเบรก

1. แป้นเบรก (Brake Pedal) หรือขาเบรก เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่ในรถ ทำหน้าที่คล้ายคานกด รับแรงกดมาจากขา (เท้า) ของผู้ขับขี่ เมื่อเหยียบ

เบรก ขาเบรกก็จะไปกดสากเบรก ที่สามารถปรับตั้งให้เบรกสูง หรือต่ำได้ ให้เข้าไปกดชุดดันในหม้อลมเบรก

2. หม้อลมเบรก ( Booster) เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มแรงกด ให้กับขาของเราให้มีแรงกดมากขึ้น ออกแรงเหยียบน้อยลง โดยภายในจะเป็นชุด

สุญญากาศ ต่อแรงลมดูดมาจาก เช่นในรถเครื่องยนต์เบนซิล จะต่อมาจากท่อร่วมไอดี หลังลิ้นปีผีเสื้อในบริเวณนี้ในรอบต่ำ ที่ลิ้นปีผีเสื้อยังเปิดไม่สุด

แรงดูดของลูกสูบจะทำให้เกิดแรงดูดสุญญากาศสูงมาก แต่ในรอบเครื่องสูงๆแรงดูดจะน้อยลง หม้อลมนั้นจึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อเก็บสะสมแรง

ดูดสุญญากาศไว้ให้มากๆ เพื่อไว้ใช้ในตอนเบรกที่รอบสูงๆ และการเบรกติดต่อกันหลายๆครั้ง ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะต่อมาจาก ปั้มสุญญากาศ

แบบอิสระ หรือต่อพ่วงจากปั้มลมหลังตูดไดชาร์จอีกที

3. วาล์วสุญญากาศ (Combo Vale) เป็นลักษณะ One Way Vale ทำหน้าที่ให้ระบบสุญญากาศ เป็นไปในทิศทางเดียว คือให้มีแรงดูดจากหม้อ

ลมเบรกไปยังเครื่อง หรือปั้มลม ป้องกันแรงดันสุญญากาศย้อนกลับ หรือรั่วไหลออกจากหม้อลม
   
4. แม่ปั้มเบรก (Master Cylinder)  เป็นชุดสร้างแรงดันไฮโดริคให้กับน้ำมันเบรก ให้เกิดแรงดันสูง ภายในประกอบด้วยชุดลูกยางเบรกหลายตัว แต่

ละตัวมีหน้าที่ส่งแรงดันของน้ำมันเบรก ไปในสาย หรือท่อน้ำมันเบรก แรงดันขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปั้ม ลูกสูบเบรก ขนาดของลูกยางเบรก และระยะของ

สากเบรกที่ติดกับแป้นเบรกว่ามีอัตตราทดเท่าไร

5 น้ำมันเบรก (Brake Fluid) เป็นสารเหลวที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง แบบไฮโดรลิคไปสู่ปั้มเบรค หรือคาริบเปอร์เบรก อีกทั้งยังเป็นสาร

หล่อลื่นให้กับลูกยางเบรก ลูกสูบเบรก คุณสมบัติของน้ำมันเบรกแบ่งตามคุณสมบัติการทนความร้อน หรือที่เรียกกันว่า DOT (Department of

Transportation) โดย DOT3 จะทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 205 องศา DOT4 ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 230 องศา และDOT5 สามารถทน

ความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส

6. ท่อน้ำมันเบรค และสายอ่อนเบรก (Brake Lines) อยู่ในระบบส่งแรงดัน ท่อน้ำมันหรือที่เรียกกันว่า แป๊ปเบรก เป็นท่อเหล็ก หรือทองแดงภายใน

กลวง เพื่อให้น้ำมันเบรกไหลผ่านด้วยแรงดันสูง
   
7. สายอ่อนเบรก (Brake Host) สายอ่อนเบรกทำมาจากท่อยางไฮโดรลิค หลายชั้นหุ้มด้วยยางกันการเสียดสี และกันความร้อน สามารถอ่อนตัวไป

ตามการหมุนของล้อ และการขยับของช่วงล่างได้อย่างคล่องตัว

8. ปั้มเบรก หรือคาริเปอร์เบรก (Caliper Brakes)

ถ้าเป็นระบบดิสเบรก จะเป็นลักษณะเหมือนปากคีบ หรือเรียกกันว่าก้ามปู ภายในบรรจุลูกสูบเบรก แบ่งตามจำนวนลูกสูบ เรียกว่า พอร์ท เช่น 1 พอร์ท

หรือ 4 พอร์ท เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเบรกด้วยลูกยางเบรก เป็นชีลกลมๆรอบๆลูกสูปเบรก ป้องกันฝุ่นและน้ำเข้าด้วยลูกยางกันฝุ่นอีกครั้ง

ในระบบดรั้มเบรก ปั้มเบรก จะเรียกกันว่ากระบอกเบรก เป็นลักษณะเป็นแท่งกลวงยาว ภายในบรรจุลูกสูบเบรก เป็นแท่งกลมประกอบติดกับลูกยางเบรก

ทั้ง 2 ด้านต่อมาดันผ้าดรัมเบรกให้ขยับเข้าออกได้

9. จานเบรค แบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ

ระบบ ดรั้มเบรก (Drum Brakes) จานเบรกจะเป็นรูปถ้วย มีชุดแม่ปั้มเบรก และผ้าเบรกประกอบอยู่ภายใน ผ้าดรัมเบรกจะเป็นลักษณะรูปเสี้ยวครึ่งวง

กลม 2 ชิ้น ประกอบกับชุดสปริงดึงกลับ ชุดสายเบรคมือ และชุดตั้งระยะห่างของผ้าเบรก

ข้อดี ผ้าเบรก และจานเบรก มีเนื้อที่สัมผัสกันมาก การเบรกจึงมีประสิทธิภาพสูง สิ้นเปลืองวัสดุน้อย ผ้าเบรกสึกช้ากว่าอายุการใช้งานยาวนาน หมด

ปัญหาเรื่องจานเบรกคด

ข้อเสีย ระบายความร้อนได้ช้า ในการใช้งานเบรกหนักจะเกิดอาการเบรกเฟด (เบรกลื่นในขณะความร้อนสูง) ต้องคอยตั้งระยะผ้าเบรกอย่างสม่ำเสมอ

ระยะผ้าเบรกในแต่ละล้อที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกไม่เท่ากันไปด้วย รถอาจเสียการทรงตัวเวลาเบรกได้ ถ้ามีการเปียกน้ำต้องใช้เวลา

ในการสลัดน้ำทิ้งนาน หรือรอเกิดความร้อนจนน้ำแห้ง และจะเกิดอาการลื่น เกิดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง

ระบบ ดิสเบรก (Disk Brakes) จานเบรกเป็นลักษณะกลมแบน คล้ายจานดิส มีทั้งแบบมีร่องระบายความร้อน และไม่มีร่องระบายความร้อน จานเบรก

ทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่นเหล็กหล่อ และวัสดุผสม ผ้าเบรกแบ่งเป็น 2 ชิ้นประกบกับจานเบรก โดยมีแม่ปั้มเบรก หรือก้ามปูหนีบไว้อีกที

ข้อดี มีการระบายความร้อนที่ดี ลดอาการเบรกเฟดในการใช้งานเบรกติดต่อกัน และรุนแรง ระยะห่างผ้าเบรกมีการปรับตั้งได้เอง ตามความหนาของผ้า

ทำให้ประสิทธิภาพดีเท่ากันในทุกล้อ ลดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก

ข้อเสีย จานเบรกติดตั้งภายนอกสัมผัสกับความชื้น น้ำ และฝุ่นผง ทำให้มีการสึกหรออย่างรวดเร็ว เกิดอาการบิดตัวได้ง่าย เมื่อต้องเจอกับน้ำในขณะมี

ความร้อน ใช้ต้นการผลิตทุนสูง
   
10. ผ้าเบรก (Brake Pad)  เป็นตัวที่ทำให้เกิดความฝืดระหว่าง ผ้าเบรก และจานเบรก ความฝืดมากมีผลทำให้รถยนต์ ลดความเร็วได้ระยะทางที่สั้น

ลง ผ้าเบรกแบ่งเกรดตามวัสดุที่ใช้ผสมในเนื้อผ้าเบรก และค่าความฝืดหรือค่า มิว Coefficient of Friction ได้ 3 แบบคือ

1. NAO (Non Asbestos Organic) ใช้วัสดุที่มีความอ่อน จำพวก เคฟล่า ส่วนผสม ของยางไม้ ไฟเบอร์ จากเดิมที่เคยใช้พวกแร่ใยหิน

Asbestos ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากความไม่ปรอดภัยต่อระบบหายใจ พวกนี้จะมีความฝืดที่ดีในอุณหภูมิต่ำ แต่ที่ความร้อนสูงจะจับตัวได้ไม่ดี มี

เสียงรบกวนน้อย ส่วนมากใช้กับรถ OEM จากโรงงาน ระดับความฝืดอยู่ที่ 0.30 - 0.45

2. Semi-Metallic ใช้วัสดุจำพวกใยโลหะที่มีความอ่อน มีส่วนประกอบเช่น เนื้อไฟเบอร์ประมาณ 50% เป็นตัวช่วยให้เกิดความฝืด และทนความร้อน

ใช้เรซิ่นประมาณ 15% ช่วยในการประสานตัว และสาร Abrasive 10% และพวก Metal Power อีก 10 % พวกนี้จะมีความฝืดดีที่อุณหภูมิสูง ใช้

กับรถบรรทุกหนัก และรถที่ใช้งานเบรกหนักอย่างต่อเนื่อง เช่นรถที่ชอบขับที่ความเร็วสูงเบรกบ่อยๆ ระดับความฝืดจะอยู่ที่ 0.40-0.55

3. Fully Metallic ใช้วัสดุพวกผงเหล็กที่มีความละเอียด เช่นผงทองแดง ไททาเนียม เซรามิค คาร์บอน มาขึ้นรูป ผ้าเบรกพวกนี้จะมีประสิทธิภาพมาก

ที่ความร้อนสูง มีความฝืดคงที่ แต่จะมีเสียงดัง มีการสึกหรอสูงทั้งผ้าเบรก และจานเบรก เหมาะสำหรับรถแข่งในสนามแข่งขันที่จานเบรกร้อนตลอด

เวลา ระดับความฝืดอยู่ที่ 06.0 ขึ้นไป
   


Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
Re: โมดิฟลายเบรกให้ดีขึ้น และ วิธีต่างๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:38:00 AM »
เราพอจะทราบกันแล้วว่าระบบเบรก ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตัวใดบ้าง ปัญหาต่างๆของระบบเบรก และการดูแลรักษา เรามาดูกันต่อว่าถ้าเราคิดว่า การ

ใช้งานเบรกของเรานั้น รุนแรงกว่าที่เบรกธรรมดาจะรับแรงกระทืบของเราได้แล้ว ควรทำอย่างไร และการโมดิฟลายระบบเบรกนั้น ควรเริ่มต้นโมกันจุดใด

มีวิธีอย่างไหนบ้าง
   
1. เปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ 

เป็นวิธีแรก ที่นักซิ่งเริ่มทำกันเมื่อรู้สึกว่า เริ่มจะเบรกไม่อยู่ คื่อการหาผ้าเบรกเกรดที่ดีกว่ามาใช้แทน ผ้าเบรกที่เกรดสูงกว่ามาตราฐาน OEM จากโรง

งาน คือผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูงขี้น และมีความฝืดสูงจำพวก Semi Metallic ที่มีส่วนผสมของ พวก Orgarnic , Sinter Metal , ไฟ

เบอร์ , ผงอลูมิเนียม และผงทองแดง พวกนี้จะมีแรงฝืดที่อุณหภูมิสูง คือตอนจานเบรกร้อนจะจับตัวดี แต่ตอนเย็นๆอาจจะลื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ต้องควรระวัง

การเลือกซื้อ

ผ้าเบรกพวก Woven Lining หรือพวกที่โฆษณาว่าเป็นผ้าทองแดง ราคาถูก พวกนี้ไม่ต่างจากของ OEM มากเท่าไหร่ แค่นำทองแดงมาผสมให้ดูดี

แต่ใช้งานตอนเย็นๆก็เบรกดี แต่พอร้อนๆหน่อยเบรกไม่อยุ่ซะงั้น พวกนี้ไม่ควรเลือกซื้อครับ

ผ้าเบรกพวก Semi Metallic ราคาจะอยู่ที่หลักพันต้นๆ ถึงหลักพันปลายๆ ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของแต่ละยี่ห้อ ถือว่าใช้ได้ดีกับรถซิ่งตามท้องถนน ข้อเสีย

คือกินจานเก่ง และอาจมีผงดำติดล้อแม็ค

ส่วนพวก Fully Metallic ราคาจะอยู่หลัก 3 พันขึ้น พวกนี้เบรกอยู่ดี แต่อาจมีเสียงดังบ้าง จานเบรกจะสึกหรออย่างรวดเร็ว คุณภาพดีมากแต่ราคาก็สูง

ตามขึ้นไปด้วย ถ้าการเบรกไม่ขนาดหักโหมแบบ One Make Race แบบ Semi ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

ในรถที่ใช้ในสนามจริงๆมักจะใช้แบบล้อหน้ายี่ห้อหนึ่ง แต่ล้อหลังอีกยี่ห้อ หรือคนละชนิดกันเลย ขึ้นอยู่กับทีมช่างจะเลือกใช้ให้เหมาะกับการขับขี่ของนัก

แข่งแต่ละคน

2. เปลี่ยนเป็นระบบดิสเบรกหลัง

สำหรับรถที่เป็นดรัมเบรกหลัง การเปลี่ยนเป็นระบบดิสเบรก เป็นทางเลือกที่ดี ส่วนมากนิยมซื้อชุดดิสเบรกจากเชียงกง ของเก่ายี่ปุ่นตรงรุ่นมาใส่

การเลือกซื้อชุดดิสเบรค ควรเลือกให้ตรงรุ่นกับรถที่เราใช้อยู่ จุดยึดต่างๆต้องเหมือนกัน สายเบรกมือต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ขาดหาย จานดิสเบรกยัง

หนาไม่เป็นรอย ผ้าเบรกยังหนาใช้ได้อีกนาน สายอ่อนเบรกไม่แตกร้าว และคานปีกนกที่ติดมาต้องไม่บิดเบี้ยวเพราะการกระแทก หรือเกิดการชน แต่สิ่ง

ที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนดิสเบรกหลัง คือต้องเปลี่ยนดิสเบรกหน้าให้มีขนาดโตขึ้นตามขนาดของรถที่เราหยิบยืมดิสเบรกหลังเขามา รุ่นที่เป็นดิสเบรก

หลัง สังเกตุได้ว่าจานดิสเบรกหน้าจะโตกว่า รุ่นดรัมเบรก จึงควารหาดิสเบรกหน้ามาใส่ให้ตรงรุ่น เพราะฉะนั้นแรงจับหลังอาจมีมากกว่า เกิดอาการท้าย

ปัดได้ ส่วนสำหรับผู้ที่เปลี่ยนดิสเบรกหลังแล้วรู้สึกว่าเบรกไม่อยู่ จานเบรกหลังไม่จับ ส่วนมากมักเกิดจาก วาล์วลดแรงดันน้ำมันเบรก เป็นวงจรลดแรง

ดันน้ำมันที่จะไปสู่ล้อหลัง ต้องเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับรถรุ่นที่เป็นดิสเบรกหลัง
   
3. เปลี่ยนหม้อลมเบรกให้ใหญ่

บางครั้งแล้วเราคิดว่า หม้อลมเบรกใหญ่จะทำให้เบรกอยู่ขึ้น แต่จริงๆแล้ว หม้อลมเบรกทำหน้าที่ในการช่วยผ่อนแรงเท้าที่เหยียบเบรกเท่านั้น ขนาด

ของหม้อลมมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักรถ แรงดูดสุญญากาศกับเครื่องยนต์ ความแรงของเครื่องยนต์

การเลือกซื้อหม้อลม ควรจะเลือกให้โตขึ้นอีกนิดหน่อย เช่นเป็นหม้อลมแบบชั้นครึ่ง พวกนี้จะมีเนื้อที่เก็บแรงดูดสุญญากาศไว้ช่วยในการเหยียบเบรกได้

หลายๆครั้ง ส่วนการเปลี่ยนหม้อลมที่มีขนาดโตเกินไป อาจทำให้การเหยียบเบรกเบาๆ ล้อก็เกิดอาการล็อค ถือว่าอันตรายมาก หรือถ้าแรงดูดของเครื่อง

ไม่พอ ก็เกิดอาการเบรกตื้อได้ วิธีดูหม้อลมที่ดี ต้องไม่มีการบุบ ลองกดขา และใช้นิ้วอุดท่อลมดู ต้องไม่มีอาการรั่ว หรือมีเสียงดัง แม่ปั้มเบรกไม่มีน้ำมัน

รั่ว หรือมีน้ำมันเบรกค้างอยู่ในหม้อลม สากเบรกที่ตัดต่อต้องมีความแข็งแรงพอ

4. เปลี่ยนจานเบรกให้ขนาดโต

สำหรับรถที่แรงม้าสูงๆ การเปลี่ยนจานเบรกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด จานเบรกที่มีขนาดโต จะทำให้เนื้อที่จานเบรกมีขนาดมากขึ้น

สามารถใช้ผ้าเบรกที่มีขนาดกว้างขึ้น แรงฝืดจึงสูงกว่า และจานเบรกที่มีขนาดโตจะทำให้จานมีเนื้อที่ระบายความร้อนได้มากขึ้น ระบายความร้อนได้เร็ว

จานเบรกยิ่งมีขนาดโตขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งสามารถลดรอบการหมุนของล้อได้เร็วขึ้น ออกแรงน้อยลง เป็นลักษณะการผ่อนแรงในระบบคาน แรงเบรกที่วงนอก

สุดจะออกแรงน้อยกว่า แรงเบรกที่อยู่ในวงในสุด คล้ายกับเบรกก้ามปูของจักรยาน ที่จับบนขอบล้อ จะลดรอบได้เร็วกว่า

การเลือกซื้อ ในรถที่สามารถหยิบยืมจานดิสเบรกขนาดโตมาใส่โดยไม่ต้องดัดแปลงถือว่าโชคดี

และปลอดภัยที่สุด เช่นตระกูลนิสสันมักนิยมใช้ของ SKYLINE R32 – R33 แม่ปั้ม 4 Port ถือว่าคุ้มค่า ราคาตั้งแต่ 3500 ขึ้นไป หรือพวก S14

หรือถ้าตะกูล Toyota ก็พวก CELICA GT4 หรือพวก Mitsu ก็พวกตระกูล EVO นั่นเอง

สำหรับรถที่ต้องทำการดัดแปลง จากระบบดิสเบรกรุ่นอื่น ยี่ห้ออื่น การดัดแปลงทำได้หลายวิธีเช่น กลึงดุม และเจาะรูจานเบรกให้พอดีกับรูของล้อ หรือ

สร้างอแดปเตอร์มาเสริมให้ใส่จานเบรกได้พอดี ส่วนการยึดคาริเปอร์เบรกถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด การดัดแปลงจุดยึดคาริเปอร์ควรใช้ระบบการส

ร้างอแดปเตอร์ แบบปีกผีเสื้อ ใช้เหล็กที่มีความหนา หรืออลูมิเนียมเกรดสูงมาตัดสร้าง เจาะรูยึดน๊อตติดกับรูคาริเปอร์เดิม ส่วนอีกด้านหนึ่งยึดกับคาริ

เปอร์ตัวใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ส่วนการตัดหูยึดคาริเปอร์เดิม แล้วสร้างเหล็กมาตัดเชื่อม ถือว่าเป็นการไม่ปรอดภัย เพราะหูยึดคาริเปอร์เก่าติดดุมจะเป็น

เหล็กหล่อ ส่วนหูยึดคาริปเปอร์ใหม่ที่สร้างขึ้นนิยมใช้เหล็กเหนียวตัดเป็นหูและเชื่อมติดกัน วิธีนี้จะทำให้เหล็กหล่อที่ได้รับความร้อนในการเชื่อม เกิด

ความเปราะแตกร้าวง่าย ลวดเชื่อมคุณภาพต่ำไม่สามารถประสานรอยเชื่อมได้ดี


5. การเจาะรู และ เสาะร่องจานเบรก

รูบนจานเบรกทำหน้าที่ในการระบายความร้อนระหว่างผ้าเบรก และจานเบรก ในใช้งานที่อุณหภูมิสูงความร้อนระหว่างผ้าและจานจะสูงมากเกิดเป็นไอ

ความร้อนในรูปของแก็ส ทำหน้าที่สกัดกันการสัมพัสกันระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก การเจาะรูจึงช่วยในการระบายความร้อน และแก็สให้ผ่านรูเล็กๆออก

ไป

ร่องจานเบรกทำหน้าที่กวาดฝุ่นผงของ ผ้าเบรกให้หลุดออกได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยทำความสะอาดผ้าเบรกไปในตัวเท่านั้นเอง

สำหรับจานเบรกซิ่งส่วนมากจะมีการเจาะรู และเสาะร่องมาจากโรงงาน แต่สำหรับจานเบรกแบบโรงงานก็สามารถนำมาเจาะรู ได้ การเจาะรูต้องมีการคำ

นวน ระยะห่างให้เหมาะสม การเจาะรูจานเบรกแม้จะช่วยในการระบายความร้อน แต่ก็เป็นจุดอ่อนทำให้จานเบรกเกิดการแตกร้าวได้ง่ายๆ (แม้แต่จาน

เบรกซิ่งยังแตกร้าวให้เห็นกันบ่อยๆ) ดังนั้นการเจาะรูจานเบรกไม่ควรเจาะรูให้ถี่มากเกินไป หรือใช้เป็นระบบนำจานเดิมไปเซาะร่องก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

แถมยังง่ายต่อการดูแลอีกด้วย
   
6. คบหากับชุดเบรกซิ่ง

จานเบรกซิ่งสมัยนี้มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ราคามือสองก็ตั่งแต่หลักหลายหมื่น จนถึงหลักแสน ถ้าเป็นของใหม่ราคาต้องเล่นกันที่หลักแสนอย่าง

เดียวครับ จานเบรกซิ่งส่วนมากจะทำเป็นลักษณะ 2 ชั้น วงนอกเป็นจานเบรกโลหะผสมเกรดสูง แล้วแต่สูตรของแต่ละยี่ห้อ ส่วนด้านในเป็นจานสำหรับ

ยึดดุมล้อ ทำจากอลูมิเนียมเกรดสูง 7075 ยึดน๊อตโดยรอบกับตัวจานดิสเบรก จานดิสเบรกแบบนี้มีข้อดีอยู่ที่ น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้เร็ว ด้วย

วัสดุที่ดีกว่าการเจาะรูระบายความร้อนจึงเสี่ยงต่อการแตกร้าวยากกว่า การออกแบบเป็น 2 ชั้นแยกจากกัน ช่วยลดการบิดตัวของจาน ลดอาการเบรก

สั่น และยังช่วยให้จานเบรกบิดตัวรับกับผ้าเบรกได้แนบสนิทขึ้น

ส่วนคาริเปอร์มีทั้ง แบบ 2 พอร์ต 4 พอร์ต และ 6 พอร์ต ทำจากอลูมิเนียมอัลลอยผสม น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี ลูกสูบเบรก ใช้แบบน้ำหนัก

เบา ป้องกันความร้อน ลูกยางเบรกเป็นลูกยางเกรดพิเศษ ทนความร้อนสูง ใช้งานได้กับน้ำมันเบรกเกรดสูงได้เป็นอย่างดีไม่มีบวม

ผ้าเบรกจะใช้เป็นเกรดสูงจำพวก Fully Matallic มีแรงฝืดสูง และทนความร้อนได้กว่า 1,200 องศาเซลเซียส

ดั้งนั้นรถแต่งที่ใช้งานหนัก แรงม้าสูงๆ และใช้งานเบรกอย่างต่อเนื่อง อย่างพวกรถแข่งในสนาม จำเป็นต้องลงทุนคบหากับจานเบรกซิ่งเสียเป็นส่วน

ใหญ่ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ สูญเสียระยะเบรกน้อย และทำเวลาได้ดีขึ้น

ส่วนจานเบรกที่ใช้กับรถแข่งระดับโลก มักจะนิยมใช้จานเบรกที่ทำจาก วัสดุเซรามิคผสม ทนความร้อนได้กว่า 1,600 องศา และคาริบเปอร์แบบลูกสูบ

ไททาเนียม ซึ่งราคาคงไม่ต้องพูดถึง

การเลือกซื้อ ถ้าเป็นของใหม่เกาะกล่อง แค่กำหนดขนาด ให้ตรงกับรุ่นรถที่เราต้องการเท่านั้น แต่ถ้าเป็นของเก่าเชียงกง ต้องดูที่จานเบรกต้องไม่ไหม้

หรือสึกหรอรุนแรง ผ้าเบรกยังเต็มๆ เพราะถ้าซื้อมาแล้วใช้ได้ไม่นานผ้าหมด ก็เสียเงินเพิ่มอีก หาซื้อผ้าเบรกยากมาก ยิ่งจานหมดด้วยแล้ว ซื้อใหม่ทั้งชุด

อาจง่ายเสียกว่า
   
7. เปลี่ยนน้ำมันเบรกให้ DOT สูงขึ้น

สำหรับน้ำมันเบรก ที่มีค่าทนความร้อนได้สูงขึ้นที่เรียกว่า DOT นั้น มีส่วนป้องกันการเดือดของน้ำมันเบรก น้ำมันเบรกที่เดือดจะเกิดฟองอากาศ

ประสิทธิภาพจะลดต่ำลงทันที สำหรับผู้ที่ใช้งานเบรกที่รุนแรงต่อเนื่อง การเปลี่ยนน้ำมันเบรกให้มี DOT สูงขึ้น ช่วยป้องกันการเดือดได้เป็นอย่างดี โดย

คำนึงถึงค่า DOT เช่น DOT 3 ทนความร้อนได้ 205 องศา DOT 4 ทนได้ 230 องศา ส่วน DOT 5 ทนได้ 260 องศา การใช้เบรกที่รุนแรงก็ควร

เปลี่ยนน้ำมันเบรกให้คุณภาพดีขึ้นด้วย

8. เปลี่ยนสายอ่อนสแตนเลสถัก

สายอ่อนสแตนเลส ภายในมักจะผลิตจาก เทฟล่อนอย่างดีทนความร้อน และการกัดกร่อนได้สูง ภายนอกถักขึ้นรูปด้วยเส้นใยสแตนเลส ป้องกันการขยาย

ตัว และการเสียดสี หัวต่อแบบไฮโดรลิคอย่างดีป้องกันการหลุด หรือแตก

สายอ่อนสแตนเลส มีข้อดีกว่า สายอ่อนแบบยาง ตรงที่ สายอ่อนไม่มีการขยายบวมในขณะที่แรงดันน้ำมันเบรกสูงๆ การบวมตัวของสายอ่อนทำให้แรง

ดันที่ส่งมายังคาริบเปอร์เบรกลดต่ำลง การเปลี่ยนสายอ่อนสแตนเลส จะช่วยให้แรงดันที่ส่งมายังแม่ปั้มคาริบเปอร์สูงกว่า ออกแรงในการเหยียบเบรก

น้อยลง ให้สัมพัสที่เท้าเบรกได้มากกว่า ง่ายต่อการควบคุมจังหวะเบรก

การเลือกซื้อ ถ้าเป็นของใหม่ง่ายๆแค่ซื้อให้ตรงรุ่น ความยาวใกล้เคียงกับของเดิม หัวต่อตรงรุ่น ตรงเกลียวกับรถของเรา ถ้าเป็นของเก่าสภาพต้องไม่มี

ชำรุด หรือน้ำมันเบรกซึม หรือเก่ามากเกินไป ขยับดูสายต้องไม่แข็ง

การโมดิฟลายระบบเบรกยังมีอีกมาก หลายวิธี แค่ยกตัวอย่างมาให้พอเข้าใจ แต่ที่สำคัญคืออย่ามองข้ามความปรอดภัย อย่างที่ว่า รถยนต์ที่วิ่งด้วยความ

เร็วสูง ย่อมหยุดยาก ถ้าหยุดไม่ได้แล้ว ย่อมเสียหายมาก ฝากไว้ด้วยครับ
   


Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
Re: โมดิฟลายเบรกให้ดีขึ้น และ วิธีต่างๆ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:41:33 AM »
ปัญหายอดฮิตของระบบเบรก

เบรกตื้อ  เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรก แล้วรู้สึกว่า เบรกมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากๆ อาการเบรกตื้อ เกิดมาจากหลาย

สาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว

เบรกต่ำ เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรกค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการของเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยาง

แม่ปั้มเบรกบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรกซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง

เบรกติด อาการเหมือนรถมีอาการเบรกทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้

เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่

สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้

การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้

ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด
   
เบรกแตก คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อนแล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถ

ยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก

สาเหตุ

1. เกิดจากรั่วของน้ำมันเบรก เช่นสายอ่อนเบรกแตก ท่อแป๊ปเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรก และแม่ปั้มเบรกเก่า

เสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด

2. ผ้าเบรกหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรกหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับการเปลี่ยน ผ้าเบรกจะบางมากจนหลุดออกจากฝัก

ก้ามปูเบรก จะทำให้ลูกสูบเบรกหลุด เบรกจะแตกทันที

3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรก (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขา

เบรกหลุด ฝักเบรก หรือคาริบเปอร์เบรกยึดไม่แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรกประกอบไม่แน่นหลุดออก

4. สายอ่อนเบรกแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรกกลับ พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลา

เหยียบเบรกเบาๆแรงดันน้ำมันเบรกต่ำก็รู้สึกดี แต่พอเวลาคับขัน เหยียบเบรกกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรกก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และ

การติดตั้งสายอ่อนเบรกไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ
   
เบรกหมด  คืออาการ เบรกแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรกลื่นๆ

เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบรกเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติด

ตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรกสีกับจนเบรกเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก

เบรกสั่น คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรกเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรกสั่นมากๆจะรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรก เกิด

อาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน

สาเหตุเกิดจาก จานเบรกเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรกที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อ

หลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรกสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรก และดรัมเบรก

เบรกเสียงดัง อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรก ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรก และจานเบรก เช่นผ้าเบรกหมด จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรกเป็น

รอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจานเบรกใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรกก็ใหม่ จานเบรกก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้า

เบรกเอง ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไป

เรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดครับ

เบรกเฟด คืออาการเบรกลื่นๆ เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรกแบบหักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมา

ด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี พอแตะเบรกอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เหยียบเบรกเลย ถือว่าน่ากลัวมาก

สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรกที่สูงเกินไป จานเบรกที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง

เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การระบายความร้อนของจานเบรกไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้

เสียหาย ไม่สามารถจับจานเบรกให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรกที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้น้ำมันเบรกเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟอง

อากาศ ทำให้แรงดันไฮโดลิคลดต่ำลง

อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่ขับด้วย ความเร็วสูง
   
การดูแลรักษาระบบเบรก และข้อควรระวัง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรกควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมัน

เบรกมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรกเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่น

ผงที่สึกหรอของลูกยางเบรกจะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรกเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรกต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด

เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกบวมได้

การเช็คระยะห่างผ้าเบรก ในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรกจะต่ำลง และการดึงเบรกมือที่

สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรกลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรกมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟือง

ตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรก ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลา

ดึงเบรกมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก

การตรวจสอบผ้าเบรก ผ้าเบรกเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรก และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบ

กับผ้าเบรกของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรกที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่

ปลอดภัย เพราะผ้าเบรกในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็น

ผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรกจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรกหลุดออกจากฝักเบรก ลูกสูบปั้มเบรก และน้ำมันเบรกจะหลุดออก ที่เรียกกันว่า

เบรกแตกนั้นเอง

การเปลี่ยนจานเบรก และการเจียรจานเบรก การใช้ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การ

ขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรกมา

เจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีลูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรก

คืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรก และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และ

ลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรกบางลง จานเบรกที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่

ถือเป็นการดีที่สุด

การทำความสะอาดจานเบรก ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรก ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความ

สะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น

การตรวจสอบสายอ่อนเบรก ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบ

เปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ

การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก เบรกที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และ

ยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่

ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรก และแม่ปั้มเบรก จะทำลายลูกสูบเบรกให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรก ทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่ว

ซึม