ผู้เขียน หัวข้อ: คิดยังไงรถเก่าอายุ 7-10 ปี ห้ามวิ่งเข้า กท.  (อ่าน 2179 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
คิดยังไงรถเก่าอายุ 7-10 ปี ห้ามวิ่งเข้า กท.

กรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มีการเปิดตัวโครงการนำร่องเร่งด่วนการจราจรใน กทม.จำนวน 16 โครงการ ปรากฏว่า บางโครงการมีประชาชนแสดงความคิดไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมากในโลกออนไลน์ เช่น ผู้ที่มีรายได้น้อยไม่พอใจโครงการกำหนดอายุรถ 10 ปี ยกเลิกวิ่งใน กทม. โดยให้นำไปใช้งานที่ต่างจังหวัดได้ โครงการยกรถที่จอดในพื้นที่ห้ามแทนการล็อกล้อ เพราะอาจจะทำให้ล่าช้าและส่งผลให้การจราจรติดขัดกว่าเดิม เป็นต้น

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 10 ตุลาคม พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ดูแลงานจราจร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีการประชุมร่วมกับ บก.จร.และ สน.พื้นที่ ก่อนจัดทำแผนโดยกำหนดเป็น 11 ยุทธศาสตร์ และโครงการเร่งด่วน 16 โครงการ เช่น การเลื่อมเวลา การกำหนดถนน 10 สาย ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนก่อนเปิดเทอม ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม 4 ถนนสุขุมวิท ถนนรัชดาภิเษก ถนนพหลโยธิน ถนนสาทรเหนือ-ใต้ ถนนเพชรบุรี และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนรามคำแหง ถนนราชดำเนินกลาง และถนนวิภาวดีรังสิตเชื่อมกับถนนเกษตร-นวมินทร์ ถนนทั้งหมดจะมีการกำหนดผู้ที่ไปดูแลการจราจรบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น รวมทั้งจะมีอาสาสมัครผู้พิทักษ์ถนนสวมหมวกสีส้มเป็นสัญลักษณ์เข้าไปร่วมกับตำรวจจราจรช่วยทำงาน

พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการยกรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากผิวการจราจรแทนการล็อกล้อ จะมีการบังคับใช้กฎหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะที่ถนนทั้ง 10 สายดังกล่าว การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกตั้งแต่วันที่ 9-15 ตุลาคม ขั้นเตรียมการอุปกรณ์ต่างๆ รถยกและป้าย เป็นต้น ระยะที่ 2 วันที่ 15-20 ตุลาคม ระยะปฏิบัติการโดยการเตือน และระยะสุดท้าย ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคมเป็นต้นไป จะเป็นการดีเดย์จับจริง ผู้ที่จะมายกรถ ก็ใช้เอกชนซึ่งเป็นมืออาชีพใช้เวลารวดเร็ว ส่วนพื้นที่ที่จะนำรถไปจอดนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาสถานที่โครงการต่างๆ เป็นการเตรียมแผนการก่อนเริ่มเปิดเทอมในเดือนพฤศจิกายน เพื่อทำให้การจราจรคล่องตัว รวมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและเข้มข้นตามนโยบาย

"โครงการรถ 10 ปีก็ไม่ได้เร่งด่วนอยู่ในแผนงานในเดือนตุลาคม ยังไม่ได้กำหนดวันและกำลังดูรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน โดยเป็นโครงการที่จะเชิญทุกภาคส่วนทั้งตำรวจ สื่อมวล ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคขนส่งและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ มาร่วมสัมมนาพูดคุยกันเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ก่อนที่เสนอโครงการให้รัฐบาลพิจารณา เช่น การเลื่อมเวลาในการทำงาน รถ 10 ปี ขึ้นไปไม่ให้วิ่งใน กทม. โครงการนับจำนวนรถที่ผ่านตามแยกต่างๆ ทั่ว กทม. โดยนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้นำข้อมูลมาคิดคำนวณ และจัดระบบแก้ไขการปัญหาการจราจร เป็นต้น" พล.ต.ต.อดุลย์กล่าว