ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโนโลยีซินโดรม  (อ่าน 1992 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
เทคโนโลยีซินโดรม
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2013, 05:30:38 AM »
เทคโนโลยีซินโดรม โรคที่กำลังคุกคามชาวไซเบอร์ยุคใหม่ ผู้ชื่นชอบการเสพติดเทคโนโลยี ว่าแต่…คุณเองก็กำลังป่วยด้วยหรือเปล่านะ?

สมัยนี้กลายเป็นยุคที่คนใช้ “ดวงตา” จ้องหน้าจอ ใช้ “มือ” ถือแท็บเล็ต และใช้ “นิ้ว” จิ้มและลากสมาร์ทโฟน มองไปทางไหนก็เห็นแต่คนก้มทำพฤติกรรมแบบนี้ไปหมด ไม่ว่าจะกำลังนั่งรอรถเมล์ กำลังนั่งทานอาหาร ขับรถ เดินอยู่ข้างถนน เลยไม่แปลกใจที่เราจะได้ยินคนใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวเองบ่นว่า รู้สึกเคืองตา ปวดตา เจ็บมือ เจ็บนิ้วอยู่บ่อย ๆ อาการเหล่านี้เป็นภัยสุขภาพแบบใหม่ที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” และกำลังคุกคามชาวไซเบอร์อยู่อย่างเงียบ ๆ

น่าตกใจไม่น้อยที่ในช่วงระยะหลังมานี้มีผู้ป่วยตั้งแต่เด็กเล็กยันผู้สูงอายุ เข้ารับการรักษาด้วยโรคเทคโนโลยีซินโดรมจำนวนมาก และยังมีผู้ป่วยอีกมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองป่วยด้วยอาการดังกล่าว วิธีการสังเกตอาการของโรคเทคโนโลยีซินโดรม เพื่อให้ตรวจสอบกันว่า ตัวคุณ หรือคนข้าง ๆ เข้าข่ายด้วยหรือไม่ ซึ่งจะมี 3 อาการหลัก ๆ คือ

1. ดวงตามีปัญหา

ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บตา ดวงตาล้า  ตาช้ำ ตาแดง แสบตา ก็สามารถเกิดขึ้นได้ หากใช้คอมพิวเตอร์ หรือจ้องจอนานเกิน 25 นาทีขึ้นไป รวมทั้งการวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ระดับที่เหมาะสมกับสายตา หรือปรับความสว่างหน้าจอไม่เหมาะสม หากดวงตาตรึงอยู่กับหน้าจอแบบนี้เป็นเวลานาน จะเกิดอาการเกร็ง มีผลกระทบต่อระบบของการกรอกตา และยังทำให้ระบบกล้ามเนื้อและประสาทผิดปกติด้วย

2. มีอาการทางกล้ามเนื้อกระดูก

ถ้าใครเป็นคนที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ แล้วยังนั่งไม่ถูกท่า ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อยู่ทุกวัน สุดท้ายแล้วอาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดนิ้วมือ ตามมาอย่างแน่นอน

3. เสพติดเทคโนโลยี

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ลองไม่ได้หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาเช็กเฟซบุ๊กสัก 10 นาที ก็รู้สึกกระวนกระวายแล้ว หรือโพสต์ภาพไปเมื่อกี้ก็ว้าวุ่นใจอยากรู้ว่าจะมีใครมากดไลค์หรือยังนะ หรือแม้เพียงเข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้เพียงแค่ไม่กี่นาทีก็รู้สึกหงุดหงิดสุด ๆ จนกลายเป็นความเครียด แบบนี้เข้าข่ายเป็นคนติดเทคโนโลยีแล้ว เพราะไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่ห่างจากโลกไซเบอร์ได้เลย

ส่วนใครที่มีอาการติดเทคโนโลยีแบบว่าอยู่ห่างแทบไม่ได้เลย คุณหมอ ก็แนะนำให้หากิจกรรมอื่นทำบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ออกไปเที่ยว ไปออกกำลังกาย อย่าเอาแต่จ้องหน้าจออย่างเดียว และถ้าไม่อยากปวดตาก็พยายามพักสายตาประมาณ 1-5 นาที หลังจากเล่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนทุก ๆ 25-30 นาที เพื่อให้สายตาไม่อ่อนล้าจนเกินไป