ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ทันพนักงานเคลม  (อ่าน 1959 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
รู้ทันพนักงานเคลม
« เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 11:36:05 AM »
รู้ทันพนักงานเคลม

ปัจจุบันเพื่อนๆ ผู้ใช้รถยนต์โดยทั่วๆไป ที่ทำประกันภัยรถยนต์ แล้วคงไม่อยากจะเจอ กับพนักงานเคลมของ บริษัทฯประกันภัย เป็นแน่แท้ เพราะถ้าเจอแล้วบางท่านที่ไม่มีประสบกราณ์ตอนรถชนกัน อาจไม่ทราบเลยว่าจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะถูกต้องซึ่งผู้เขียนใคร่ ขออธิบายให้ท่านทราบ ถึงลักษณะของอุบัติเหตุ ตามอาชีพที่พวกเราเรียกเขาว่า พนักงานเคลม ก่อนว่าโดยทั่วๆไปแล้วคนในอาชีพเคลม

เขาแบ่งลักษณะการเกิดเหตุ ออกเป็นลักษณะใดบ้าง หลักๆดังนี้  1.เคลมแห้ง หมายถึง เคลมที่รถเกิดเหตุมานานแล้ว เพิ่งมาแจ้งเหตุ เช่น แผลขูดขีด เป็นต้น 2.เคลมสด  หมายถึง เคลมที่รถชนกันสดๆ และยังมีผู้เสียหายในเหตุกราณ์รออยู่  3.เคลมเสียหายมาก หมายถึง เคลมที่จะเกิดขึ้นสดๆหรือเกิดขึ้นนานแล้ว แต่เสียหายมากเพิ่งมาแจ้งเหตุ เช่น รถเสียหายจนขับไม่ได้ นานมาแล้วเป็นอาทิตย์เพิ่งมาแจ้งเหตุ เป็นต้น

ซึ่งในภาคธุรกิจประกันวินาศภัย ปัจจุบันมีทั้งบริษัทฯต่างชาติและบริษัทฯ ที่มีธุรกิจที่เอื้อประโยชน์กันเข้าแข่งขันในการครองตลาดรถอยู่มาก ผู้บริโภคจึงไม่อาจจะเลือก โดยเสรีทางความคิดได้หมด เพราะส่วนมากไฟแนซ์ก็เป็นผู้เกือบจะบังคับให้ตามโปรแกรมการขาย ซะเป็นส่วนมาก (ไม่รวมรถที่ซื้อเงินสด) จึงไม่รู้เลยว่า บริษัทประกันภัย ที่เขาเลือกให้เรานั้น ได้มาตราฐานหรือจัดให้ตามประโยชน์ที่ เซลขายรถหรือมารเก็ตติ้งของไฟแนนซ์ จะได้รับพนักงานเคลมมีหน้าที่ออก ตรวจสอบอุบัติเหตุ โดยเร็วที่สุดและบันทึก รายงาน ถ่ายภาพ ที่เกิดเหตุ รวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนสมบรูณ์ที่สุด เพื่อเข้าเป็นรายงานแฟ้มอุบัติเหตุต่างๆ นี่ก็คือ หน้าที่หลักโดยทั่วไป ซึ่งจากสถิติการเกิดเหตุ โดยทั่วๆไปแล้ว เรื่องที่จะมีปัญหากับท่านผู้อ่านก็คือ แจ้งเคลมแห้ง เพราะในสัญญาประกันภัย ได้ระบุไว้ว่าหากเกิดเหตุไม่ทราบคู่กรณี ท่านก็จะต้องถูกเก็บค่าเงื่อนไขไม่ทราบคู่กรณี ยกเว้น เสียแต่ว่าท่านจะพิสูจน์ให้บริษัทฯประกันทราบว่า ท่านไม่ได้เป็นฝ่ายถูกละเมิด(ฝ่ายถูก)จากผู้อื่นแล้วไปเรียกเก็บ ค่าเสียหายเข้ากระเป๋าของตนซะเองไปแล้ว

ฉะนั้นเวลารถฯของท่านเสียหายไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามท่านจะต้องโทรศัพท์ แจ้งเหตุไปที่บริษัทฯประกันในทันทีและต้อง ขอหมายเลขรับแจ้งและชื่อสกุลของพนักงานรับแจ้ง ไว้เป็นหลักฐานด้วยทุกครั้งเพราะพนักงานรับแจ้งเหตุ นั้นจะช่วยแนะนำท่าน ในสิ่งที่ท่านจะต้องทำต่อไปเช่น  ถูกชนแล้วหลบหนีไปต่อหน้าต่อตาจะทำอย่างไรทะเบียนรถที่ชนก็จำไม่ได้อีกซะเลย เป็นต้นพนักงานเคลม บางท่านจะนำประโยชน์ในสัญญาประกันภัย มาเก็บค่าเงื่อนไขท่านซึ่งหากท่านคิดว่าจ่ายไปด้วยความถูกต้องแล้วก็ควร ขอใบเสร็จรับเงิน จากบริษัทฯที่ท่านทำประกันไว้เป็นหลักฐานด้วยทุกครั้ง

สิ่งสำคัญหากท่านขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็นฝ่ายถูกแล้ว ท่านควรตรวจสอบกลับไปที่บริษัทฯประกันภัย ที่ท่านทำประกันทุกครั้งว่าตามรายงานอุบัติเหตุรถของท่าน เป็นฝ่ายถูกจริงหรือ ไม่ควรคุยกับระดับหัวหน้างานของบริษัทฯ นั้นๆเพราะถ้าเป็นฝ่ายถูก ท่านจะได้รับส่วนลดประวัติดีในปีต่อไปครับ ธุรกิจประกันวินาศภัยในบ้านเรา(เมืองไทย) ยังคงต้องพัฒนายกระดับมาตราฐานขึ้นอีกมาก  พนักงานเคลมบางบริษัทฯมีจริงๆไม่กี่คน นอกนั้นจะต้องจ้างบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ แปลเป็นไทยว่า บริษัท รับสำรวจภัย ซึ่งมีหน้าที่รับจ้างทำเคลมให้กับ บริษัทประกันภัยต่างๆ ที่ แจ้งเหตุเข้ามา ซึ่งบางบริษัท เซอร์เวย์เยอร์ ก็ไม่มีสาขา เรียกกันว่าเกิดเหตุ ที่จังหวัดนี้ก็ใช้บริการที่นี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาจจะทำให้บริการไม่ทั่วถึง ในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือในช่วงเทศกาล ซึ่งต่างกับ บริษัทประกันภัยที่มีสาขาหรือศูนย์บริการคลอบคลุม อยู่ทุกพื้นที่การให้บริการ จะทำให้ไปถึงที่เกิดเหตุึุได้รวดเร็วขึ้น

อีกเรื่องที่ถือว่าสำคัญก็คือ จรรยาบรรณ ในการประกอบวิชาชีพซึ่งรวมถึง เรื่องของความรู้ใน ข้อกฎหมายในคดีรถชนกัน และมารยาทความเอาใจใส่ในการบริการลูกค้าของพนักงาน เป็นต้น เรื่องพวกนี้ถือว่าเป็นสาระสำคัญในการประกอบธุรกิจของ บริษัทประกันภัยให้มีเชื่อเสียงได้ยาวนาน บริษัท เซอร์เวยเยอร์ ต่างๆ บางบริษัทฯ มีมาตราฐานราคา ค่าสำรวจ ก็จะมาตราฐานไปด้วย แต่ปัจจุบันบริษัทประกันภัย บางบริษัทฯก็ต้องการลดต้นทุน หันไปใช้บริษัท เซอร์เวยเยอร์ ที่ไม่มีมาตราฐานมาใช้งาน เพราะค่าบริการถูกแต่ลืมคิดถึงภาพลักษณ์ของบริษัทประกันภัยเอง เพราะเวลาที่ลูกค้าซื้อประกันส่วนมาก ก็จะเจอแต่เซลหรือตัวแทนขายประกัน ไม่เคยเจอพนักงานเคลมเลย จะมาเจออีกทีก็ตอนมีอุบัติเหตุหรือตอนแจ้งเคลมนี่หละ ซึ่งถ้าบริษัทฯประกันภัย ไหนมีมาตราฐานในการบริการที่ดี มาถึงที่เกิดเหตุเร็ว ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีกับพวกเราคนใช้รถ เคลมฉ้อฉลปัจจุบัน พวกเราคนใช้รถไม่เคยรู้เลย ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว (เบาๆ) ก็คงไม่ใช่เรื่องยากแต่ถ้าเกิดขึ้นหนักๆแล้ว ผู้ที่จะช่วยท่านได้มากที่สุด ก็คือพนักงานเคลมนั่นเอง เพราะอุบัติเหตุที่เสียหายมาก มีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตาย มีคดีอาญาเกิดขึ้นความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ขับขี่รถโดยประมาท ตามกฎหมายซึ่งบางบริษัทประกันฯ ก็ทำตรงไปตรงมาบางบริษัทประกันฯ ก็(อาจมี) วิ่งคดีหรือบางบริษัทประกันฯเชี่ยวชาญ มองเกมขาด ก็จะแนะนำให้ลูกค้า มีการบรรเทาผลคดี หรือช่วยเหลือคู่กรณีของตน ทางด้านมนุษย์ธรรมเป็นต้น

เคลม ฉ้อฉล เกิดขึ้นได้กับพนักงานเคลม ที่เรียกหรือถูกฝ่ายตรงข้าม ท่านเสนอให้สินบน เพื่อเขาจะได้เป็นฝ่ายถูกหรือไม่ก็บวกเพิ่ม ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งก่อนนัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่างๆท่านควร ตรวจสอบกับผู้บริหารของ บริษัทประกันภัยให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง อย่าลืมโทรศัพท์เข้าไปสอบถามด้วยตนเองกับ ฝ่ายตรวจสอบของบริษัทประกันภัยหรือผู้จัดการสินไหมฯก็ได้ครับ ท่านจะได้รู้ว่าถูกใครเป็นผู้เอาเปรียบท่านกันแน่ บางครั้งบริษัทประกันฯ อาจเอาเปรียบท่าน ก็ควรเจรากันใหม่ ให้ยุติถ้าไม่ยุติหรือเห็นว่า ไม่ยุติธรรมก็ให้ติดต่อสายด่วน กรมการประกันภัยได้ ที่เบอร์ 1186 ครับ สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้ท่านผู้อ่าน ขับขี่ ยวดยานพาหนะของท่าน ด้วยความระมัดระวัง เดินทางโดยปลอดภัย แล้วจะมาเขียนบทความ ให้ท่านอ่านใหม่ค่ะ