ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าเกียร์ N หรือ ค้าง D เอาจริงๆ ใครถูก ใครผิด  (อ่าน 1945 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
เข้าเกียร์ N หรือ ค้าง  D เอาจริงๆ ใครถูก ใครผิด

 ตั้งแต่มีรถเกียร์อัตโนมัติ มาขับในบ้านเรา นั้น  เรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงมากที่สุดในเรื่องของการขับขี่ คงจะไม่พ้นข้อคำถามที่ว่า ในระหว่างการขับขี่หากรถหยุดชั่วขณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สี่แยกไฟแดง เราควรจะปรับตำแหน่งเกียร์จาก  D  ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ มาสู่ตำแหน่ง  N  หรือ เกียร์ว่าง ซึ่งจะความคล้ายคลึงกับการใช้งานในรถยนต์เกียร์ธรรมดา หรือไม่

                ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดนี้ เป็นเหมือนเรื่องราวไก่กับไข่ ที่เถียงกันมายาวนาน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุน และไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้นแต่ที่ต่างประเทศก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้อกังขากันมาอย่างยาวนาน จนแทบจะพูดว่านี่คือคำถามสุดคลาสสิคของเกียร์อัตโนมัติกันเลยทีเดียว
                คำถามที่ชวนเถียงกันทะเลาะกันเปล่าๆนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าขำขัน เมื่อระบบเกียร์อัตโนมัติ ถูกผลิตขึ้นมาให้มีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญ คือ  P R ND  และ บ้างก็จะมีตำแหน่งเกียร์พิเศษขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อการใช้งานเช่น  D3  , 2 , และ 1 ซึ่งการมีตำแหน่ง N  ที่เท่ากับเกียร์ว่าง ทำให้หลายคนได้รับความเข้าใจมาแบบผิดว่า การเข้าตำแหน่งเกียร์จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากกว่านี้ จะก่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเกียร์มากกว่า และวันนี้เรามี 3  เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่ง  N  เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร

1.ปลอดภัยมากกว่า ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์  D  แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด  ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง  D  ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง  N  ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้

2.เรื่องสึกหรอ จริงหรือเปล่าที่จะช่วย แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์  D  ไป  N  จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุดเกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด  Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์ 

หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบเดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์  D  แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทางเดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง

เช่นเดียวกัน การคงตำแหน่งเกียร์ที่ D ในส่วนของตัวเกียร์เองก็ทำให้ชุด  Torque convertor  ถูกต่อติดกับเครื่องยนต์ตลอดเวลาและ ภายในเจ้าตัวแปลงกำลังเครื่องยนต์นี้ก็มีการหมุนเวียนน้ำมันเกียร์เช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำมีการถกเถียงกันว่าเกียร์จะเสื่อมสภาพถ้าค้างเป็นเวลานานๆ หรือไม่นั่นเอง

ประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ ก็มาจากในระบบเกียร์เองมีการใช้แรงดันน้ำมันในการทำงานเช่นกันเพื่อปรับตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม และมีแรงดันสูง ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อระบบถ้าเปลี่ยนไปๆมาๆ บ่อยครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าน้ำมันมีการหมุนวนมากๆ โดยไม่เคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดความร้อนสะสม มากขึ้นในน้ำมัน และมันคือศัตรูที่สำคัญ ที่ทำให้ระบบเกียร์เสื่อมสมรรถนะเร็วขึ้นเช่นกัน  รวมถึงในส่วนของระบบคลัทช์ระหว่างเฟืองเกียร์ด้วย ที่จะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็มีการเสื่อมสมรรถนะได้ทั้งสิ้น

**ดังนั้นในเรื่องนี้ถ้ามองแล้วต้องมาพบกันตรงกลาง คือถ้าคิดว่ารถติดเวลานานมาก สาหัสมากก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งจาก  D  มา N  น่าจะดีกว่า และเช่นเดียวกัน ถ้าตัวเลขเวลารอที่สี่แยกไม่ได้นานอย่างที่คิด ก็คงค้างที่ตำแหน่งเดิมแล้วเหยียบเบรกเอาก็น่าจะดีกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้ขับขี่

3.เรื่องความประหยัด ประเด็นที่ถกเถียงกันมากถัดมานั้นก็คงไม่พ้นเรื่องของความประหยัดในการใช้น้ำมันของเครื่อง ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดเกียร์ แต่ก็อธิบายไม่ยาก และสามารถตอบได้จากเหตุผลข้อที่แล้วว่า ทุกครั้งที่เราเข้าเกียร์  D  เหยียบเบรกแล้วรถไม่เคลื่อนมาจากการกำลังเบรกต้านไว้ มันก็คือการที่เราสั่งรถเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา

ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้จะเดินหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ โดยตรงเพราะในรถบางรุ่นจะมีการปรับการทำงานเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อความสะดวกและให้กำลังของการออกตัว และมันหมายถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง  โดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์พยายามที่จะสู้กำลังเบรกอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้มีความต้องการเร่งในช่วงสั้นๆบ่อยครั้ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าเกียร์จะมีการใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงกว่าตอนที่เราไม่เข้าเกียร์ D  หรืออยู่ในตำแหน่งเกียร์ N

แม้การปรับตำแหน่งเกียร์  N  ไป D  จะมีข้อดีและเสียต่างกัน แต่การเปลี่ยนตำแหน่งนี้ ก็ยืนยันว่ามันไม่สร้างความสึกหรอเท่ากับ การเปลี่ยนตำแหน่งกับสู่เกียร์  P  ไปมาเป็นประจำที่รถหยุดซึ่งบางคนมักทำติดเป็นนิสัย หากแต่ไม่ว่าวันนี้คุณจะมีเหตุผลอะไร ทางออกที่ดีในการถนอมชุดเกียร์และปลอดภัยที่สุด ในการขับขี่เพื่อป้องกันไม่เผลอเรอ คือการปรับตำแหน่งเกียร์ไปที่ N เมื่อรถติดเป็นเวลานานๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือคุณในฐานะผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะปรับเข้าสู่  N