ผู้เขียน หัวข้อ: เลือกฟิมส์กรองแสงให้กันทั้งร้อนและปลอดภัยต่อการขับขี่  (อ่าน 2105 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
เลือกฟิมส์กรองแสงให้กันทั้งร้อนและปลอดภัยต่อการขับขี่

เข้าสู่ฤดูฝนมาได้สักระยะแล้วแต่ก็ยังไม่มีวี่แววของสายฝนอย่างที่เคยพบเจอกันทุกๆปีในช่วงเดือนมิถุนายน ฝนที่หายไปกลายเป็นแสงอาทิตย์ที่เจิดจ้าทำให้อุณหภูมิความร้อนของประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นจนแทบไม่อยากออกจากห้องแอร์ คลื่นความร้อนที่แผดเผาไปทั่วไม่เว้นแม้แต่รถที่จอดกลางแจ้งล่อนจ้อนไร้หลังคาปิดบัง รถที่เพิ่งจะถอยออกมาจากโชว์รูมยังไม่ได้นำไปติดฟิมส์กรองแสงกันร้อน ขึ้นรถกันแต่ละครั้งเห็นใจเลยว่าไก่ย่างห้าดาวในตู้อบนั้นมันร้อนขนาดไหน เมื่อตั้งใจแน่ๆว่าจะไม่ทนร้อนกระจกใสแจ๋วแบบนี้อีกต่อไป ลองมาดูกลวิธีดีๆและความเข้าอกเข้าใจในการเลือกฟิมส์กรองแสงกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.coronathailand.com

ประเภทของ ฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสงคือพลาสติกที่ผ่านกรรมวิธีสังเคราะห์ เป็นโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือน ฟิล์มกรองแสงนั้นทำหน้าที่ในการลด หรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้นฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีความสามารถ มากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป จะต้องสามารถลดความร้อน และรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มกรองแสงมี 2 แบบ คือ

1. ฟิล์มย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ซึ่งให้ทัศนวิสัยในการขับขี่รถยนต์ที่ผิดเพี้ยน เป็นอันตราย แต่หากฟิล์มกรองแสงทั่วไปผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูง จะมีคุณสมบัติในการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลตด้วย

2. ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดีกว่าแบบแรก โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่างๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง

ฟิล์มกรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใส และเหนียว เมื่อ ติด แล้ว ต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมา กาวควรอยู่บนด้านฟิล์มมิใช่ด้านกระจก รวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิม นอกจากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่วน หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายรอยขนแมวได้ง่าย เมื่อมีการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบัตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน

คุณสมบัติของ ฟิล์มกรองแสง
ฟิล์มกรองแสงปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ทั้งยี่ห้อ ราคา และคุณภาพ อย่าเดาคุณภาพจากราคา เพราะบางยี่ห้อมีการปั่นราคาเกินจริง บางยี่ห้อราคาถูกกว่า แต่คุณภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายี่ห้อที่แพงกว่า ในการซื้อรถใหม่ ส่วนใหญ่มักแถมมากับรถ โดยอ้างว่าเป็นยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ ซึ่งยากจะพิสูจน์และต้องทำใจ เพราะไม่สามารถไปเฝ้าตอนที่ช่างติดตั้งได้ ใบรับประกันจะให้มายังไงก็ได้ ยากที่จะพิสูจน์ว่าฟิล์มเป็นยี่ห้อตามที่ตกลงไว้หรือไม่ ถ้ากังวลก็ไม่ต้องเลือกฟิล์มกรองแสงเป็นของแถม

ฟิล์มกรองแสงส่วนใหญ่ จะมียี่ห้อบนแผ่นใสที่ประกบอยู่กับตัวฟิล์มซึ่งต้องถูกลอกออกก่อนติด หรือบางยี่ห้อจะเป็นสีที่ลบได้ด้วยแอลกอฮอล์อยู่บนเนื้อฟิล์มด้านผิว

ฟิล์มกรองแสงมี 2 คุณสมบัติหลัก คือ
1. ความเข้ม หรือความทึบแสง ซึ่งมีผลต่อการกรองแสง
2. การกรองรังสีความร้อน

การกรองแสง กับกรองความร้อน.......ฟิล์มสีเข้มกรองแสงดี มองทะลุยาก แต่อาจจะกรองรังสียูวีและความร้อนไม่ดีก็เป็นได้ ส่วนฟิล์มสีอ่อนหรือใสมองทะลุง่าย ก็อาจกรองรังสีและความร้อนได้ดีกว่าก็มี อย่าคิดว่าฟิล์มสีทึบจะต้องกรองความร้อนได้ดีเสมอไป

ปัจจุบันกฎหมายยังกำหนดว่าห้ามติดฟิล์มเกิน 1/4 ส่วนของกระจกหน้า นับจากขอบบนสุด ดังนั้นถ้าติดแบบเต็มบานหน้า ตำรวจก็สามารถเอาผิดได้เสมอ ตอนนี้ราชการเริ่มจริงจังกับฟิล์มฉาบปรอท เริ่มยกกฎหมายเดิมมาบังคับใช้ไม่ใช่ตั้งกฎหมายใหม่ขึ้นมา ถ้าฉาบเพียงบางๆ มีการสะท้อนแสงบ้าง อาจจะได้รับการอนุโลมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ถ้าสะท้อนมากก็ผิดกฎหมายตอนนี้ตำรวจเริ่มจับกุมรถที่ติดฟิล์มกรองแสงแบบปรอทหรือสะท้อนแสงแล้ว

พลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสี 3 ชนิดคือ
รังสีอินฟาเรด (IR) 53%
รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%
แสงสว่าง ( แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visible Light ) 44%

หากนำฟิล์มกรองแสงมาทดสอบค่าการลดปริมาณความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ หรือ แสงจากรังสีอินฟาเรดจะให้ค่าสูงกว่าจากแสงอาทิตย์ เพราะแสงสปอร์ตไลท์รวมทั้งแสงจากหลอดรังสีอินฟาเรด มีปริมาณรังสีอินฟาเรดสูงกว่าในแสงอาทิตย์มาก
โดยทั่วไปฟิล์มที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะป้องกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 90% อยู่แล้ว ส่วนการทดสอบการลดปริมาณความร้อน ( ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % การลดความร้อนจากแสงสว่าง ) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความร้อนจากไฟสปอร์ตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมี ส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไทยเป็นเมืองร้อน และยิ่งถ้าเราขับรถ เราก็ยิ่งมีโอกาสเจอกับแสงแดด และความร้อนได้อย่างมาก จนบางครั้งเราแทบจะทนไม่ได้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้คือการติดตั้งฟิล์มกรองแสง แต่ในตลาดบ้านเราก็มีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เราควรมีวิธีพิจารณาเลือกติดตั้งฟิล์มกรองแสงให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้ดังนี้

คุณภาพ

ฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดี ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ ของฟิล์ม เช่น

% การลดความร้อน

%การลดรังสียูวี

%การสะท้อนแสง

%แสงส่องผ่าน

ต้องเป็นค่ามาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และควรเป็นไปตามมาตรฐานของ AIMCAL ซึ่งย่อมาจาก

ASSOCIATION OF INDUSTRIAL METALLIZERS COATERS AND LAMINATORS

ASTM
AMERICAN STANDARD TEST METHODS และ ASHRAE มิใช่ค่าที่พิมพ์หรือโฆษณาโดยปราศจากหลักฐานอ้างอิง

มาตรฐานโรงงานผู้ผลิต
ต้องพิจารณาว่าเป็นฟิล์มกรองแสงที่มีแหล่งที่มาชัดเจน นำเข้ามาจากโรงงานที่ผ่านมาตรฐานที่สากลยอมรับและมีที่ตั้งชัดเจน โดยปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงที่ผลิตจากโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับมาตรฐาน ISO9001 ซึ่งเป็นระบบควบคุมคุณภาพที่กำกับดูแลทั้งการออกแบบและการพัฒนา, การผลิต, การติดตั้ง และการบริการ โดยโรงงานผู้ผลิตจะมอบสำเนาใบประกาศนียบัตรที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO9001 ให้บริษัทตัวแทนในประเทศไทยที่นำเข้าและจัดจำหน่ายด้วย ผู้บริโภคสามารถเรียกตรวจสอบได้

ผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย
ต้องเป็นบริษัทที่มีความตั้งใจ, จริงใจ และประสบการณ์ในการทำธุรกิจฟิล์มกรองแสงอย่างต่อเนื่องยาวนาน เชื่อถือได้ และไม่มีการโฆษณาหลอกลวง หรือเปลี่ยนยี่ห้อไปเรื่อยๆ มีมาตรฐานการรับประกันคุณภาพที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไปการรับประกันคุณภาพจะไม่ต่ำกว่า 7 ปี และสิ้นสุดเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องเลือกบริษัทตัวแทนจำหน่ายที่ท่านมั่นใจว่าตลอดระยะเวลาการรับประกัน บริษัท ฯ จะยังคงดำเนินธุรกิจฟิล์มกรองแสงอยู่อย่างมั่นคงและพร้อมที่จะรับผิดชอบหากฟิล์มที่ติดตั้งไปเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น

ราคา
ราคาต้องสมเหตุสมผล เหมาะสมกับคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ใช่ต้องแพงเพียงเพราะมีชื่อเสียงมานานหรือเพราะโฆษณาเกินจริง ทำให้ตั้งราคาแพง หรือสูงขึ้นอีก ไม่สมคุณภาพที่โฆษณาไว้ โดยส่วนมากฟิล์มเคลือบโลหะ ทั้งชนิท Sputtered และ Metallized จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มเคลือบสีประมาณ 1-2 เท่าตัว

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงจะต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง ซึ่งก็มีข้อสังเกตและควรพิจารณาด้วยกันหลายประการ

สิ่งที่น่าจะต้องพิจารณาอันดับแรก ก็คือ ให้ตรวจสอบดูว่าฟิล์มกรองแสงที่ทางร้านค้านำมาติดตั้งนั้น ยี่ห้อตรงกับที่เราเลือกไว้หรือไม่ ซึ่งยี่ห้อนั้นแสดงถึงความมีมาตรฐานของผู้ประกอบการ ความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงประสบการณ์ในการทำธุรกิจนี้ว่ามีมานานแค่ไหน ไม่ได้มีการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งบางครั้งเราจะเห็นผู้ประกอบการบางรายเข้ามาทำตลาด แล้วในช่วงระยะแรกหากทำตลาดไม่ดี ก็ปิดบริษัท ล้มยี่ห้อ จากนั้นก็ไปเปิดในชื่อใหม่ และเปลี่ยนยี่ห้อไปเรื่อยๆ

เลือกรับประกัน

การรับประกันคุณภาพเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่ในการตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้วฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จะมีการรับประกันคุณภาพไม่ต่ำกว่า 5 ปี บางราย 7 หรือ 10 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของการรับประกันด้วย

เลือกร้านติดตั้ง
ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายก็มีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบ ทุกวันนี้ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จะขายผ่านร้านประดับยนต์ ร้านติดตั้งเครื่องเสียง ซึ่งร้านเหล่านี้จะมีทั้งที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้จำหน่ายโดยตรง กับไม่ได้รับการแต่งตั้ง ร้านที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจะนำฟิล์มเข้ามาจำหน่ายเอง ซึ่งก็เสี่ยงต่อฟิล์มคุณภาพต่ำ บางแห่งก็เสนอฟิล์มแบบมียี่ห้อ ให้ดู พอตอนติดตั้งแอบไปเอาฟิล์มอะไรไม่รู้มาติดรถ อย่างนี้ก็มี เราสามารถพิจารณาได้ว่าร้านใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหรือไม่ โดยสังเกตจากป้ายหน้าร้าน หรือใบที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือใบรับประกันสินค้า หรือถ้าต้องการความมั่นใจโทรศัพท์สอบถามจากผู้นำเข้าโดยตรง และควรเลือกร้านที่มีห้องสำหรับการติดฟิล์มโดยเฉพาะ เนื่องจากฝุ่นคือศัตรูตัวร้ายกาจของการติดฟิล์ม

ฝีมือช่าง
การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์หากได้ฟิล์มคุณภาพ แต่หากช่างที่ติดตั้งไม่มีฝีมือก็ไร้ประโยชน์ การติดฟิล์มกรองแสงนั้น นอกจากคุณภาพของฟิล์มแล้ว หากต้องการให้ฟิล์มอยู่คงทนนานต้องขึ้นอยู่ที่ฝีมือของช่างคนนั้นด้วยช่างที่ติดฟิล์มจะต้องมีฝีมือในการกรีดฟิล์ม เพราะหากมือไม่ดีพอ เวลาที่กรีดฟิล์มลงสู่กระจกจะทำให้ฟิล์มนั้นไม่เสมอกัน โดยเฉพาะตรงขอบกระจก และถ้าเลวร้ายไปกว่านั้น บางครั้งอาจกรีดโดนกระจกรถยนต์ และทำให้เป็นรอยได้

ข้อควรปฎิบัติในการดูแลรักษาฟิล์มกรองแสง

1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากฟิล์มยังมีความชื้น
ซึ่งจะระเหยหมดไปเอง

2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน

3. ในการทำความสะอาดฟิล์ม ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน

4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย (NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้