ผู้เขียน หัวข้อ: แบตเตอรี่รถยนต์  (อ่าน 3455 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chi-Lo

  • บุคคลทั่วไป
แบตเตอรี่รถยนต์
« เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 07:27:51 AM »
แบตเตอรี่รถยนต์
ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิดในขณะที่สตาร์ทรถยนต์
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลาย ๆ อย่างด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น
แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดชาร์ท ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า
ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกัน
ถ้าไดชาร์ททำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง(แบตเตอรี่)
จนกว่าจะเต็ม
แบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์
เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดร์ชาร์ทก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป
และถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว
นั่นหมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ
1.เก็บไฟไม่อยู่ หมดอายุการใช้งาน
2.ไดชาร์ททำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง
ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย
อายุการใช้งานของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ1.แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และดูแลน้ำกลั่นบ่อย ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับแบบไม่ต้องดูแลบ่อย
(Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีผาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5 - 2 ปี
แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว
2.แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และมีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5 - 10 ปี
แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิด สำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์ท
การดูแลรักษาแบตเตอรี่
* ตรวจสภาพแท่นยึดของแบตเตอรี่ ตัวแบตเตอรี่ควรยึดแน่นติดอยู่กับแท่น ถ้าแท่นยึดชำรุดควรรีบซ่อม
* หมั่นทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ อย่าให้มีคราบสกปรก หรือคราบขี้เกลือ ถ้ามีก็ให้ใช้แปรงขัดคราบขี้เกลือออกแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนเสร็จแล้วเช็ดให้แห้ง
ทาจารบีที่ขั้วไว้
* ตรวจเช็คขันยึดขั้วแบตเตอรี่ให้แน่นเพื่อให้กระแสไฟเดินได้ดี
* หมั่นตรวจสอบระดับน้ำกรดของแบตเตอรี่อย่าให้ต่ำกว่าระดับ Min. ถ้าต่ำกว่าให้เติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้น ห้ามเติมด้วยน้ำกรดหรือน้ำชนิดอื่นเด็ดขาด และระวัง
อย่าให้เกินระดับ Max.
* ในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะมีตาแมวไว้ให้คอยตรวจเช็ค และมีโค๊ตสีบอกความหมายอยู่ดังต่อไปนี้
- สีเขียว ระดับน้ำกรด เพียงพอแล้ว ประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่ เพียงพอแล้ว/ไม่ต้องชาร์ท
- สี ดำ/แดง ระดับน้ำกรด ต้องเติมน้ำกรด ประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ไม่เพียงพอ/ต้องทำการชาร์จ
- สีอ่อน ๆ/เหลือง/ไม่มีสี ระดับน้ำกรด ต้องเติมน้ำกลั่น/ป.แบตเตอรี่ ประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ควรทำการชาร์จแบตเตอรี่/เปลี่ยนแบตเตอรี่
หมายเหตุ ถ้าเติมน้ำกลั่น และ ทำการชาร์จแบตเตอรี่แล้วสียังไม่เปลี่ยนก็แสดงว่าไม่แบตเตอรี่หมดอายุแล้วก็เสื่อมสภาพ ดังนั้นสมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว
* ตรวจสภาพสายไฟแบตเตอรี่หากชำรุด หรือ เก่ามาก ให้ทำการเปลี่ยนและควรใช้ขนาดเท่าเดิมถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ขนาดใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย
* ถ้าเป็นแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้งานควรนำไปชาร์จไฟทันทีหลังจากเติมน้ำกลั่น
* เราสามารถตรวจเช็คไฟของแบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเองว่าควรจะทำการชาร์จไฟหรือยังโดยดูได้จากอุปกรณ์ที่ใช้ไฟในรถ เช่น แตรไม่ค่อยดัง กระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
ระบบไฟส่องสว่าง และเครื่องยนต์สตาร์ทยากขึ้น
การเปลี่ยนแบตเตอรี่
ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่าง ๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวก
ต่าง ๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นเพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนาณ และเลือก
ขนาดของแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้น ๆ อยู่แล้ว
แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิมเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น
มักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือปล่าว
ไม่ควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10 - 30 แอมป์
การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือ การประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5 - 10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่
ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปจะใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะทำให้
แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง และต้องแวะมาเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ไวขึ้น
ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่
เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
1.ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือ ประกายไฟต่าง ๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรี่ด้วย
2.ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
3.ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
4.การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
5.ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
6.ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
7.ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
8.ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่
รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้