ผู้เขียน หัวข้อ: เทศกาลวันไหว้พระจันทร์  (อ่าน 2567 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
เทศกาลวันไหว้พระจันทร์
« เมื่อ: กันยายน 30, 2012, 10:43:06 AM »
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) ซึ่งปีนี้ตรงวันที่ 30 กันยายน 2555 เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้

แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ในเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั้งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ จันทราเทวี ฉางเอ๋อ วาดโดยฮว๋าซานชวน

นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเซียงง้อ (บ้างก็เรียกฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล

เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น

ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด

ขั้นตอนการไหว้พระจันทร์

1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้เจ้าปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะ

2. ของไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้บรรพบุรุษปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้, ขนมโก๋ต่าง, ขนมเปี๊ยะต่างๆ แล้วแต่เลือก ผลไม้ไหว้พิเศษ ส้มโอผลใหญ่ๆ สวยๆ

3. ของไหว้เจ้าแม่ในตอนค่ำ

- ของคาว อาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้

- ขนมไหว้ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้ ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และ ต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็ง จึงเป็นของชอ คือมีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ ต้องไหว้อาหารเจ

- ขนมโก๋ มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว คนจีนเรียก "แป๊ะกอ" แป๊ะ แปลว่า สีขาว กอ คือขนม ก็มีอีกหลายแบบ ทั้งแบบ แผ่นกลม ใหญ่แบน ๆ ปั๊มทำลายนูนสวยงาม มีทั้งแบบกลมเล็ก ๆ ที่มีทั้งแบมีไส้และไม่มีไส้ แล้วยังมี ทำแบบ แท่งสี่เหลี่ยม มีไส้ก็มี ไม่มีไส้ก็มี , โก๋เหลือง หรือโก๋ถั่ว มีไส้ที่นิยม เช่น ไส้ทุเรียน ไส้งาดำ, โก๋เช้ง น่าสนใจที่สุด เพราะคนไทยไม่ค่อยรู้จัก นิยมทำเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขนาดเท่าขนมโก๋ขาว เป็น แผ่นกลมแบนสีเหลืองตุ๋น ๆ เพราะผสมน้ำส้มเช้ง และบางเจ้า มีใส่เม็ดกวยจี๊ ที่แกะเปลือกแล้วด้วย เวลาเคี้ยวโดนจะกรุบกรับอร่อยดี และขนมโก๋อ่อน หรือหล่ากอ ก็ทานอร่อย เหนียว ๆ ยืด ๆ หนืด ๆ นิ่ม ๆ มีสอดไส่ถั่วบดหวานมันอร่อย ไส้งาดำก็มี

- ผลไม้ อะไรก็ได้เหมือนปกติ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอใหญ่ๆ สวยๆ

- เครื่องดื่ม ใช้ชาน้ำหรือชาใบ หรือมีทั้งสองแบบ

- กระดาษเงิน ค้อซี, กอจี๊

- กระดาษเงิน-ทองพิเศษ

1. เนี้ยเก็ง หรือวังเจ้าแม่กวนอิม

2. โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษ เงินกระดาษทองลายโป๊ยเซียน

3. กระดาษเงินกระดาษทองแบบจัดทำพิเศษสวยวาม เช่น กิมก่อง คือ โคมคู่. สัปปะรด. อ้วงมึ้ง หรือผ้าม่าน, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์ ถ้าไหว้เจ้าแม่พระ จันทร์ หรือกวนอิมเนี้ยเพ้า ถ้าคิดว่าการไหว้ของเราเป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม

- ของไหว้พิเศษอื่นๆ เครื่องใช้อุปโภค หรือสบู่ แชมพู ยาสีฟัน แป้ง เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า อะไรก็ได้ที่เราใช้ประจำ เครื่องประดับ และ อ้อยลำยาวๆ ตัดจากราก และ เอายอดด้วยผูกไว้ ที่ด้านหน้าโต๊ะไหว้ ยึดกับขาโต๊ะ แล้วทำขึ้นไปเป็นซุ้มประตู แล้วตกแต่งสวยงาม พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้

- จำนวนธูปไหว้ 3 ดอก หรือ บางบ้านใช้ธูปไหว้พิเศษ เป็นธูปมังกรดอกใหญ่ดอกเดียว หรือ ดอกย่อมๆ

3 ดอก เช่นเดียวกับ เทียนแดงคู่

- เวลาไหว้ ไหว้หัวค่ำ บางบ้านขอบไหว้สาย เพื่อคอยเวลาให้พระจันทร์เต็มดวง