ผู้เขียน หัวข้อ: เข็มขัดนิรภัยรถชนแล้วเสียเลย  (อ่าน 3407 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
เข็มขัดนิรภัยรถชนแล้วเสียเลย
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2012, 07:24:53 AM »
พัฒนาการที่ผ่านมา

หลายสิบปีมาแล้วที่เข็มขัดนิรภัยถูกนำมาใช้ในรถยนต์ และช่วยชีวิตคนจาก อุบัติเหตุ มากมาย โดยเริ่มต้นจากแบบ 2 จุดคาดเอว-ยึดตายตัว พัฒนามา

เป็นแบบ 3 จุด คาดเอว-พาดไหล่ทะแยงลำตัว-ยึดตายตัว ต่อมาประสบความสำเร็จในการพัฒนา และใช้ต่อ เนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ คือ แบบ 3 จุดที่มี

ตัวรอกม้วนแบบกลไก คลายตัวได้ตอนปกติ เพื่อ ไม่ให้อึดอัด ล็อกตัวเมื่อเกิดแรงกระแทกหรือเบรกแรงๆ และหดตัวกลับเมื่อปลด ในด้านจำ นวนในการ

ติดตั้งก็มีความเปลี่ยนแปลง จากเดิมมีเฉพาะคู่หน้า ก็เพิ่มสำหรับผู้โดยสารด้าน หลังด้วย และจากเดิมที่เป็นแบบมีรอกม้วนเฉพาะด้านหน้า ด้านหลังแบบ

3 จุด-ยึดตายตัว แค่ 2 ที่นั่งริมนอก ส่วนที่นั่งกลางเป็นแบบคาดเอว 2 จุด

ระยะหลังมานี้เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้ว ที่อย่างน้อยรถยนต์นั่ง จะมีเข็มขัดนิรภัย 3 จุดแบบมีรอก 4 ที่นั่ง + 2 จุดสำหรับที่นั่งกลาง

ด้านหลัง และถ้าเป็น รถยนต์รุ่นที่มีราคาแพงหรือขนาดใหญ่สักหน่อย ก็จะเป็น 3 จุดมีรอกครบ 5 ที่นั่ง หากเป็นมินิแวนก็ครบทุกที่นั่ง

สื่อมวลชน / การร่ำลือ ทำให้มองในแง่ลบ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ หากคนคาดเข็มขัดนิรภัยแล้วตายหรือบาดเจ็บ การเสนอข่าวที่ไม่ชัดเจน อาจทำให้ผู้คนมองเข็มขัดนิรภัยในแง่ลบ เช่น รถ

ยนต์ตกน้ำ ไฟไหม้ หรือชนแล้วไม่ตาย แต่กระดูกหักเพราะการรั้งของเข็มขัดนิรภัย ผู้คนที่รับทราบโดยผิวเผินแล้วไม่คิดให้รอบคอบ ก็จะมองว่าเพราะคาด

เข็มขัดนิรภัยแล้วจึงตาย หรือบางคนคิดเลยเถิดมั่วๆ ไปเลยว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็ คงไม่ตาย ไม่มองว่าเป็นเพราะขาดสติในการปลดล็อก หรือถ้าไม่

คาดเข็มขัดนิรภัยแล้วแทนที่จะบาดเจ็บเพราะการรั้ง ก็อาจจะถึงตายได้ เข็มขัดนิรภัยเส้นแคบ พาดผ่านไหลและลำตัว หากรถยนต์ชนอย่างแรง แถบ

แคบๆ ของเข็มขัดนิรภัยก็จะรั้งไม่ให้ร่างกายเซไปด้านหน้า และอาจส่งผลให้บาดเจ็บจากการรั้ง ทั้งช้ำใน หรือถึงขั้นกระดูกหักได้

ในความเป็นจริง ไม่ควรกลัวการบาดเจ็บจากการรั้งของแถบเข็มขัดนิรภัย เพราะให้คิดอีกแง่ว่า ถ้าไม่รั้งไว้ ก็ต้องพุ่งไปด้านหน้าหรือกระเด็นไปตามแรง

เหวี่ยงที่เกิดขึ้น

อนาคตอาจมีการเพิ่มความกว้างของแถบเข็มขัดนิรภัย ตามที่วงการรถแข่งเริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงเป็นแถบกว้างขึ้น เพื่อลดการบาดเจ็บจากการรั้งเมื่อ

เกิดอุบัติเหตุ

ข้อดี - ข้อเสียของรอกกลไก ล็อกเมื่อชน

ข้อดีคือ ต้นทุนต่ำ ไม่มีระบบซับซ้อน พร้อมทำงานได้ในตัวเอง ไม่ต้องมีอุปกรณ์อื่นพ่วง ไร้การดูแลรักษา และทนทาน

ข้อเสียก็คือ ขาดความฉับไวในการรั้ง อย่างน้อยต้องใช้เวลาหลังเกิดแรง กระแทกหลายเศษส่วนของวินาทีก่อนที่จะล็อกตัว เข็มขัดนิรภัยจะคลายตัว

ออก มา ลำตัวจะเซออกมาด้านหน้าเล็กน้อยก่อนถูกล็อก ไม่มีการช่วยรั้งกลับคลายตัวออกมาแล้วค่อยล็อก นอกจากจะเสี่ยงกับการเซมากระแทกอะไร

ด้านหน้าแล้ว ยังอาจส่งผลให้จากการกระชากของเข็มขัดนิรภัย เพราะตัวเซออกมาเล็กน้อยแล้วถูกรั้งล็อกให้หยุดทันที

พัฒนาการอันทันสมัยรั้งกลับเมื่อชน / รั้งกลับล่วงหน้า

เข็มขัดนิรภัยแบบพิเศษ ไม่ใช่แค่มีรอกที่จะล็อกตัวเมื่อเกิดแรงกระแทก หรือ เบรกแรงๆ เริ่มมีใช้ในรถยนต์ราคาแพงมากว่า 10 ปีแล้ว มีการแพร่หลาย

เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เพราะเข็มขัดนิรภัยแบบรอกกลไกพื้นฐาน ก็สามารถใช้งานได้ดีพอสมควร และแบบพิเศษ ล้วนมีต้นทุนแพง

ในระยะ 5 ปีหลังมานี้เอง ที่มีความแพร่หลายมากขึ้นมาก เพราะสามารถทำต้นทุน ให้ต่ำลง แต่ก็ยังมีใช้ในรถยนต์ราคาแพงเป็นหลัก มีกระจายมาในรถ

ยนต์ราคาปานกลาง มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากขึ้นบ้างเท่านั้น

วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนา คือ ต้องการให้มีความฉับไวในการฉุดรั้ง ให้ร่าง กายเซออกมาน้อยที่สุด หรือไม่เซออกมาเลย ลดโอกาสไปกระแทกกับ

อุปกรณ์ใดๆ และลด การบาดเจ็บจากการถูกกระชากโดยเข็มขัดนิรภัย

- รั้งกลับเมื่อชน

เรียกกันในสารพัดชื่อ เช่น เข็มขัดนิรภัยรั้งกลับอัตโนมัติ ฯลฯ

จะทำงานเมื่อเกิดแรงกระแทกถึงกำหนดเท่านั้น ทำงานร่วมกับอุปกรณ์วัดแรง กระแทก และตัวรอกเองก็มีระบบพิเศษ เช่นไฟฟ้าหรือชนวนสร้างแรงดึง

ปกติแล้วจะคลาย ตัวได้เพื่อไม่ให้อึดอัด หากเกิดแรงกระแทกถึงกำหนด ระบบจะสั่งงานให้รอกม้วนตัวกลับอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที

เพื่อให้ร่างกายแนบกับ เบาะที่สุด เมื่อทำงานแล้วชุดรอกจะเสียเลย ต้องเปลี่ยนชุดใหม่ มีใช้ในรถยนต์ราคาแพงหลายรุ่นมานานหลายปีแล้ว

- รั้งกลับล่วงหน้า

เป็นพัฒนาการอีกแนวทางหนึ่ง โดยใช้รอกแบบไฟฟ้า ที่มีการสั่งงานโดยรับข้อมูลมาจากหลายเซ็นเซอร์ ไม่ใช่แค่เซ็นเซอร์วัดแรงกระแทก

การทำงานจะมีการดึงเข็มขัดนิรภัยให้ม้วนกลับเบาๆ เมื่อมีสภาพการขับแปลกๆ เช่น หากจอด ขับทางตรง เข้าโค้งหมุนพวงมาลัยด้วยความเร็วปกติ เข็ม

ขัดนิรภัยก็จะคลายตัวหากต้องการขยับตัว เพื่อไม่ให้เกิดความอึดอัด เมื่อไรที่ขับไม่ปกติ เช่น เลี้ยวเร็วเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง (คล้ายขับสลาลอม) เข้าโค้ง

โดยหมุน พวงมาลัยเร็ว ระบบก็จะสั่งให้รอกม้วนตัวรั้งเข็มขัดนิรภัยกลับเบาๆ ให้แนบกับลำตัวคน เสมือนเตรียมพร้อมในขั้นแรก หากเกิดการชนก็จะรั้ง

อย่างรวดเร็วและ แน่นขึ้น ร่างกายคนก็จะแนบอยู่กับเบาะ เกิดแรงกระชากด้วยตัวเข็มขัดน้อยกว่า เพราะกลายเป็นแรงดึงที่เกิดขึ้นล่วงหน้า เข็มขัดนิรภัย

แบบรั้งกลับล่วงหน้า มี การรั้งเบาๆ เตรียมพร้อมที่จะรั้งกลับให้แน่นเมื่อเกิดการชน นับเป็นพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เพิ่มความปลอดภัยภายหลังการ

ชนได้ดีมาก แต่มีใช้ในรถยนต์ ราคาแพงเป็นหลัก จะแพร่หลายอย่างช้าๆ เพราะมีต้นทุนสูงและมีความซับซ้อนในการทำงานมาก ดังนั้นในรถยนต์ทั่วไปก็

คงจะนิยมใช้แบบพื้นฐานรอกกลไกไป อีกหลายปี

การใช้งานไม่ซับซ้อน

ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะใช้เข็มขัดนิรภัยแบบใด ก็ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน ทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือนั่งหลัง และคาดให้ เรียบ

ร้อยก่อนรถยนต์เคลื่อนที่ในครั้งแรก และไม่ปลดเข็มขัดนิรภัยล่วงหน้าก่อนรถยนต์หยุดสนิทอย่างปลอดภัย

ความประมาทของคนไทยที่พบบ่อย คือ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อขับในเมืองหรือการจราจรคับคั่ง เพราะคิดไปเองว่าขับช้า ใช้ความเร็วเป็นตัวตัดสินว่า

ควรคาดหรือไม่ หรือคนนั่งหลังไม่คาด เพราะคิดว่าไม่มีพวงมาลัยให้เสี่ยงต่อการกระแทก หรือมีพนักพิงของเบาะหน้าที่ไม่แข็งมาก

ความปลอดภัยเป็นเรื่องง่าย หากไม่ประมาท และคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งตลอดการเดินทาง

วรพล สิงห์เขียวพงษ์