ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือคนใช้แก๊ส ตอนที่ 2 ไฟไหม้เพราะแก๊สรั่ว  (อ่าน 2006 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
คู่มือคนใช้แก๊ส ตอนที่ 2 ไฟไหม้เพราะแก๊สรั่ว

ในตอนที่ 2 จะกล่าวต่อถึงไฟไหม้เพราะแก๊สรั่ว นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรมีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดแก๊สรั่ว และจะป้องกัน หรือตรวจดูอุปกรณ์ใดบ้าง
การติดไฟของ แก๊ส LPG และแก๊ส LPG

เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง มีชื่อเต็มว่า Liquid Petroleum Gas เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ในรูปของก๊าซ คือสามารถลอยไปตามอากาศ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีน้ำหนักมากว่าอากาศฉะนั้น เมื่อแก๊ส LPG รั่วไหลจะลอยต่ำว่าอากาศเสมอ LPG มีข้อเสียกว่าน้ำมันเบนซิลตรงที่ถ้ามีการรั่วไหลออกมาแล้ว จะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาปล่าว ดังนั้น จึงมีการเติมสารเคมีชื่อว่าEthyl Mercaptan เข้าไป เพื่อให้เกิดกลิ่น (กลิ่นไข่เน่า) ซึ่งให้เราสัมผัสถึงกลิ่นการรั่วของแก๊สLPG แต่ก็ยังคาดปริมาณแก๊สที่รั่วไหลได้ยากมาก

การติดไฟของแก๊สLPG ทำได้เมื่อเกิดประกายไฟ เพียงเล็กน้อย (คล้ายการจุดไฟ ที่เตาแก๊สหุงอาหาร) โดย LPG มีความเข้มเพียง 2 % ของอากาศ ก็สามารถติดไฟได้ ส่วนการติดไฟด้วยอุณหภูมิ ปราศจากประกายไฟ ต้องใช้อุณหภูมิสูงราว480 องศาเซลเซีส

ในรถยนต์นั้นมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการเกิดประกายไฟได้หลายอย่าง นับตั่งแต่ประกายไฟจากถ่านมอเตอร์สตาร์ท , จากถ่านไดชาร์จ , จากคอล์ยจุดระเบิด , สายหัวเทียนที่เริ่มเก่าชำรุด, ,มอเตอร์ไฟฟ้าพัดลมแอร์ ,อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหน้าสัมพัสแบบกลไกลอีกมาก ดังนั้นจึงประมาทไม่ได้เลย ถ้ามีปริมาณแก๊ส LPG รั่วในประมาณที่สูงก็มีโอกาศมากที่แก๊สจะติดไฟได้ไม่ยาก

อุปกรณ์แก๊สเสี่ยงต่อการรั่วของแก๊สLPG
     หม้อต้มแก๊ส (Reguartor) หรือหม้อลดแรงดัน อุปกรณ์ตัวนี้ มีหน้าที่ลดแรงดันแก๊สที่อยู่ในถังแก๊สราว 180 psi (12.41 bar) ให้เหลือ 0 bar ตามความดันบรรยากาศ แล้วอาศัยแรงดูดของเครื่องยนต์ดูดแก๊สออกไป เผาไหม้ในเครื่องยนต์ หรือถ้าเป็นหม้อต้มหัวฉีดจะลดแรงดันให้เหลือในราวๆ 2 bar ก่อนที่จะส่งเข้าหัวฉีดฉีดเข้าเครื่องยนต์ หม้อต้มแก๊สจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการ รั่วมาก นับตั่งแต่ หัวแก๊สเข้า, เสื้อหม้อต้ม , ผ้าหม้อต้ม , เข็มลดแรงดัน จนถึงอุปกรณ์จูนแก๊ส รอบๆหม้อต้มถ้าหลุดออก จะมีผลทำให้แก๊สรั่วไหลออกจากหม้อต้มทันที

ติ๊กแก๊สติ๊กแก๊สหรือสวิทย์แก๊ส เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ที่รถใช้แก๊สต้องมี ติ๊กแก๊สส่วนมากจะติดตั้ง กรองแก๊สเพื่อใช้ในการดักจับฝุ่นละอองที่ติดมากกับแก๊ส ซึ่งติ๊กแก๊สจะออกแบบมา ให้ขันถอดเพื่อเปลี่ยนใส้กรองได้ จุดที่ขันถอดมีความเประปางถ้ายางโอริงกันแก๊สรั่ว เริ่มเสื่อม ชำรุด ปลิ้นออก หรือไขปิดไม่แน่นพอแก๊สก็จะเกิดการรั่วซึมได้เช่นกัน

วาล์วหัวถัง วาล์วหัวถังปัจจุบันที่ใช้อยู่มี3 ประเภท
1.วาล์วหัวถังแบบหมุน วาล์วแบบนี้จะมีหัวเกลียว หมุน 2 ตัว ด้านหนึ่งเป็นวาล์วสำหรับนำแก๊สเข้าถังภายในจะมีวาล์วป้องกันการไหลกลับ (one wayvale) เมื่อปั้มแก๊สเติมแก๊สเข้าแล้ววาล์วจะปิดเพื่อป้องกันแก๊สไหลย้อนกลับ อีกด้านเป็นวาล์วสำหรับจ่ายแก๊สเข้าสู่ท่อนำแก๊ส เพื่อป้อนสู่หม้อต้มต่อไป
2.วาล์วหัวถังแบบ ซุปเปอร์ เป็นวาล์วหัวถังแบบหมุนเกลียว แต่ได้เพิ่มโซลินนอยไฟฟ้าเพื่อใช้เปิด – ปิดการจ่ายแก๊ส ด้วยไฟฟ้าซึ่งถ้าเครื่องยนต์ดับ หรือปิดสวิทย์กุญแจ วาล์วจะหยุดการจ่ายแก๊สทันทีมีความเซฟตี้มากมขึ้น
3. มัลติวาล์ว เป็นวาล์วหัวถังลักษณะกลม จะมีวาล์วจ่ายแก๊สและวาล์วรับแก๊ส ติดตั้งไว้ด้วยกัน ไม่มีเกลียวไขเปิดปิด มีโซลินอยไฟฟ้าเป็นตัวเปิด- ปิดการจ่ายแก๊ส วาล์วแบบนี้มีความปรอดภัยสูง แต่ถ้าโอริงหัววาล์วรั่วหรือแตกออก จะไม่สามารถเปิด –ปิดการรั่วไหลของแก๊สได้เลย

ท่อรับแก๊สและวาล์วรับแก๊สท่อและวาล์วรับแก๊ส ส่วนมากจะติดตั้งอยู่ทางท้ายรถ มีหน้าที่รับแก๊สที่ปั้มแก๊สเติมเข้ามาวาล์วรับแก๊สมีลักษณะเป็น One way vale คือแก๊สไหลเข้าได้อย่างเดียวป้องกันการไหลย้อนกลับ ถ้าวาล์วกันกลับมีปัญหา แก๊สจะย้อนออกนอกถังทันที

ท่อนำแก๊สและหัวต่อต่างๆท่อนำแก๊สมีหน้าที่ส่งแก๊สจากถังบรรจุแก๊สจากท้ายรถ ผ่านท่อมายังอุปกรณ์แก๊สจำพวก ติ๊กแก๊สหรือหม้อต้ม ที่อยู่หน้ารถ ท่อนำแก๊สส่วนมากจะทำด้วย ท่อทองแดงอย่างหนา แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดการรั่วซึมได้ เนื่องจาก
1.เสียดสีกับตัวถังรถ ช่วงล่าง และครื่องยนต์
2.เดินท่อไม่ดี การหักงอระหว่างการเดินท่อ
3.ขันหัวต่อต่างๆไว้หลวมเกินไป
4.หัวต่อต่างๆขันแน่นเกินไป จนเกลียว หรือข้อต่อใก้ลขาด
5.เกิดอุบัติเหตุ

สัญญาณเตือนภัยเมื่อเกิดแก๊สรั่ว
1.ได้กลิ่นแก๊สฉุนเข้าห้องโดยสาร มากว่าปกติ
2.มีเสียงแก๊สรั่ว (ดังฟีตยาวๆ) และมีกลิ่นแก๊สฉุน
3.มีเสียงและมีควันโพยพุ่ง ออกจากจุดที่รั่ว จนสังเกตได้
4. สังเกตเห็นน้ำแข็งเกาะ ถังแก๊ส , วาล์วหัวถัง , หม้อต้ม
เกิดน้ำแข็งจับหม้อต้ม, วาล์วหัวถัง หรือถังแก๊สเสัญญาณอันตรายสูงสุด

ในจุดที่แก๊สรั่วอย่างรุนแรง จะสังเกตได้ว่าเกิดคราบน้ำแข็งแกะบริเวณนั้น เพราะแก๊ส LPGเมื่อมีการั่วออกมากระทบบรรยากาศภายนอกจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ การเปลี่ยนสถานะของแก๊สจะสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อน อุณหภูมิของแก๊สจะลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ แม้ว่าจะเกิดจากระบบน้ำร้อนที่มาอุ่นหม้อต้มไม่พอก็ตามเพราะน้ำแข็งจะเป็นตัวการทำให้ เข็มลดแรงดันในหม้อต้มเกิดการค้างหม้อต้มจะจ่ายแก๊สออกมามากกว่าปกติ และไม่สามารถหยุดจ่ายแก๊สได้แม้ว่าจะปิดสวิทย์กุญแจ เพราะเข็มโซนินอยไฟฟ้า ก็เกิดค้างเพราะน้ำแข็งจับเข็มภายในเช่นกัน
ถ้าเกิดแก๊สรั่วควรทำเช่นไร

กรณีที่ขับรถอยู่แล้วได้กลิ่นแก๊สฉุน (ฉุนมากๆ) เข้าห้องโดยสาร เครื่องอาจจะยังติดอยู่ หรือเครื่องดับหรือได้กลิ่นแก๊สฉุน ในระหว่างเริ่มสตาร์ท แนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ให้รีบจอดรถเข้าข้างทาง (ที่ปลอดภัย) อากาศปรอดโปร่ง หลีกเลี่ยงเขตก่อสร้าง , ชุมชน , ร้านอาหาร
2. ดับสวิทย์กุญแจอย่างรวดเร็ว
3. ห้ามยุ่งกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ทุกชนิด หรือแม้แต่ยกขั้วแบตเตอร์รี่
4..เปิดประตูรถทั้งหมดออก
5.เปิดฝาท้ายกระโปรงรถเพื่อรีบหมุนวาล์วจ่ายแก๊ส ที่ถังแก๊ส (วาล์วที่ถังแก๊ส ควรเปิดมาเช็คสม่ำเสมอ และควรซ้อมเปิด – ปิด บ้าง) ถ้าเป็นถังมัลติวาล์ว หรือวาว์ลซุปเปอร์วาล์วไฟฟ้าจะปิดการจ่ายแก๊สโดยอัตโนมัต
6.เปิดฝากระโปรงหน้ารถ ถ้ายังมีกลิ่นแก๊สฉุน หรือมีควันแก๊สโพยพุ่งให้รีบออกห่างจากรถซักระยะ
7.เตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้พร้อม
8.กันไม่ให้ผู้คนเข้าใกล้รถ เพราะอาจมีคนทำให้เกิดประกายไฟ

การเช็คการรั่วของแก๊สด้วยตนเอง
1.ง่ายๆด้วยการดมกลิ่น
2..เครื่องตรวจเซ็คแก๊สรั่ว Gas detector
3.การตรวจเช็คด้วยฟองแฟ๊ปหรือฟองสบู่