ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ความเชื่อเรื่องประหยัด ที่อาจจะไม่จริงอย่างที่คิด  (อ่าน 2104 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
5 ความเชื่อเรื่องประหยัด ที่อาจจะไม่จริงอย่างที่คิด

ทุกวันนี้เราต้องยอมรับครับว่า ราคาน้ำมันที่แพงจนทะลุเพดานเมื่อหลายปีก่อนอย่างกระจุยกระจาย อาจจะทำให้หลายคนมองหาทางประหยัด ไม่ว่าที่เคล็ดลับเล็กๆน้อยในเรื่องความประหยัด รวมถึงเรื่องที่บอกต่อกันมา ทั้งที่มันอาจจะไม่จริง

เรื่องเล่าชี้ความประหยัดมีมากมาย แต่บางข้อเท็จจริงก็ตั้งอยู่บนความเข้าใจที่คาดเคลื่อน ทั้งที่ความจริงแล้ว สิ่งที่พวกเราเข้าใจมาตลอด อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ประหยัดอย่างมที่คาดคิดเลยแม้แต่น้อย

เติมน้ำมันตอนกลางคืน อากาศ เย็น ประหยัดกว่า

เชื่อเลยว่ากว่า  70% ของนักขับทั้งหลายน่าจะเคยได้ยินเรื่องนี้ผ่านหูมาบ้างว่า การเติมน้ำมันช่วงอากาศร้อนทำให้น้ำมันเกิดการขยายตัว เมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันตอนกลางคืน คุณจะได้น้ำมันที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า

ที่จริงความเชื่อเรื่องนี้มีความจริงอยู่บ้างเพราะว่า น้ำมันมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ตัวได้เมื่อได้รับความร้อน แต่ในความเชื่อนี้กลับลืมไปว่า ถังน้ำมันที่เราเติมจากปั้มน้ำมันนั้น ส่วนใหญ่จะถูกฝังอยู่ใต้ลานปั้มนั่นแหละ ซึ่งใต้ดินจะมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าบนพื้นผิว และมีอุณหภูมิที่คงที่มากกว่า และเรื่องจริงอีกประการคือน้ำมันจะขยายตัวโมเลกุลของมันเมื่อได้รับความร้อนราวๆ 2% เท่านั้น

ปิดไฟขับรถเมื่อต้องการประหยัด

เป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนัก แต่ก็เคยผ่านหมาบ้างว่านามค้ำคืนถ้าคุณน้ำมันใกล้หมด ปิดไฟใหญ่เปิดไฟหรี่ขับรถ เพราจะช่วยลดการทำงานของตัวไดชาร์จ ทำให้กำลังเครื่องไม่ถูกฉุดไปมากมายนัก

ข้อเท็จจริงประการแรกเลยคือ มันไม่เกี่ยวกันเลยและระบบไฟฟ้าไม่ได้มีส่วนมากนักในการกินกำลังไฟจากแบตเตอรืรี่ของรถ และข้อเท็จจริงอีกประการคือ ไม่ว่าคุณจะใช้ไฟมากหรือน้อย ในท้ายที่สุดแล้ว ไดชาร์จก็ยังทำงานตลอดเวลา ยกเว้นรถรุ่นใหม่ๆบางรุ่น ที่สามารถตัดการทำงานของไดชาร์จอัตโนมัติได้ แต่เอาเข้าจริงแทบไม่มีผลเลย

ปิดแอร์เปิดกระจกเมื่อต้องการขับประหยัด

เริ้มฟังดูเข้าท่าและเราหลายคนทำมันอยู่เป็นประจำไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่เราเข้าใจว่ามันน่าจะช่วยให้ประหยัดได้

อาจจะเป็นความเชื่อที่ไม่ผิดและเกินความจริง การปิดแอร์เมื่อต้องการความประหยัดมาจากแนวคิดที่ว่าถ้าคุณไม่ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน เครื่องยนต์ก็จะมีภาระน้อยลงในการขับขี่ทำให้อัตราประหยัดมากขึ้นตามไปด้วย และอาจจะมาถึง 3 ไมล์ต่อแกลลอนโดยประมาณ

แต่จากการทดสอบของทั้ง  Consumer Report  และ oak National Lab  ระบุตรงกันว่ามันไม่ได้ช่วยมากอย่างที่คิด และแทบไม่มีผล แต่เรื่องความประหยัด ยังขึ้นอยู่กับการใช้ความเร็วและคันเร่งเป็นสำคัญ ซึ่งแม่หนึ่งถ้าคุณเปิดกระจกขับรถเร็วจะเกิดแรงต้านจากลมมากขึ้นเพราอากาศถูกดูดเข้าห้องโดยสารไม่ได้ไหลผ่าน ตามทรวดทรงของรถที่มันถูกออกแบบ ทำให้มีอัตราประหยัดพอๆกับเปิดแอร์ปิดกระจก

ดังนั้นในเรื่องนี้จะเปิดแอร์-ปิดกระจก หรือเปิดกระจกและปิดแอร์ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณขับที่ไหน ถ้าความเร้วต่ำในเมืองอาจจะปิดแอร์เปิดกระจก แต่ถ้าขับไปต่างจังหวัด ก็อาจจะต้องปิดกระจกแล้วเปิดแอร์

ดับเครื่องเมื่อติดไฟแดง

ที่จริงมันช่วยประหยัดได้จริงๆ แต่ถ้ามองอีกแง่การประหยัดเล็กน้อยของคุณ อาจจะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เพราะรถยุคเก่าใช้ไดสตาร์ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการสตาร์ทบ่อยๆ ทำให้เมื่อคุณดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ติดไฟแดง ไดสตาร์ทอาจจะลากลับบ้านเก่าไปก่อน

และข้อเท็จจริงของระบบหยุดการทำงานของเครื่องยนต์อัตโนมัติทุกวันนี้คือว่า ระบบจะมีการคำนวณช่วงเวลาที่จะดับเครื่องยนต์ รวมถึงน้ำมันจะมีแรงดันต่ำในขณะรอ และ พร้อมที่จะจุดระเบิดกลับมาทำงาน เมื่อคุณปล่อยเท้าออกจากเบรกทันที ซึ่งระบบบางตัวไม่ได้ใช้ไดสตาร์ทในการเริ่มทำงานของเครื่องยนต์ แต่ใช้มอเตอร์ฟ้าหรือบ้างอาจจะเป็นแรงเฉื่อยก็ว่ากันไปแล้วแต่ยี่ห้อ และที่สำคัญคุณอาจจะประหยัดน้ำมันเล็กน้อยในวันนี้ แต่อนาคตเมื่อคุณต้องจ่ายค่าซ่อมไดสตาร์ทมันไม่คุ้มกันเลย

เครื่องยนต์ดีเซลประหยัดกว่าเสมอ

ข้อนี้พูดเลยว่าไม่จริงเสมอไป... แม้จะต้องยอมรับว่าเครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบันมีสมรรถนะที่สูงกว่า และในบ้านเราน้ำมันดีเซลก็มีราคาที่ถูกกว่าน้ำมันเบนซินเสียด้วย

แต่อย่าลืมว่าตอนซื้อรถเครื่องยนต์ดีเซลมาใช้ไม่นับกลุ่มกระบะ คุณก็ยังต้องจ่ายมากกว่ารถที่มาพร้อมเครื่องยนต์เบนซิน ในขณะที่ตัวเครื่องยนต์ดีเซลก็ยังมีขนาดใหญ่กว่า จึงอาจจะยังไม่ประหยัดกว่า โดยเฉพาะต่อการขับขี่ในเมือง แต่ถ้าบนทางหลวงขับยาวๆ ต้องยอมรับว่า รถที่มีแรงบิดดีกว่า คือผู้ชนะ ทว่าก็ยังต้องขึ้นอยู่กับภารขับขี่และสภาพถนนด้วย

แม้ว่าเราหลายคนจะต้องการความประหยัดมากขึ้นในรถของตัวเอง แต่ก็อย่าเพิ่งเชื่ออะไรมากไปนัก ที่สำคัญควรตระหนักในเรื่องการเช็คสภาพรถและการปรับปรุงการขับขี่ของเรา ว่ามีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ ที่จะทำความประหยัดมากขึ้น