ผู้เขียน หัวข้อ: เกียร์พัง เป็นกันเยอะเจ็บกันแยะ วิธียืดอายุการใช้งานเกียร์ออโต  (อ่าน 1633 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
เกียร์พัง เป็นกันเยอะเจ็บกันแยะ วิธียืดอายุการใช้งานเกียร์ออโต

การบำรุงรักษาดูแลการใช้งานเกียร์อัตโนมัติเพื่อลดค่าใช้จ่ายจะมีส่วนช่วยทำให้คุณประหยัดเงิน รถยนต์ยุคใหม่ในปัจจุบันมักใช้ระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติ ซึ่งหลายบริษัทผู้ผลิตพยายามออกแบบมาให้มีความคงทนในระดับหนึ่ง แต่หากผู้ขับใช้งานไม่ถูกต้องหรือขาดการดูแลรักษาที่ดีพอ เกียร์ลูกนั้นก็จะลาจากกันเร็วกว่าปกติ

เมื่อก่อนมีบริษัทรถยนต์บางค่ายโชว์เหนือแจ้งลูกค้าว่าเกียร์อัตโนมัติที่ติดตั้งมาให้ใช้งานไม่ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็นการพูดที่ไม่จริง หากมีการรับประกันเมื่อเกียร์เกิดสึกหรอเสียหายโดยเปลี่ยนเกียร์ลูกใหม่ให้ก็ดีไป ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีค่ายรถแบรนด์ไหนทำแบบนั้น เมื่อเกียร์เกิดเสียหายในระหว่างการรับประกันอายุการใช้งานและยังอยู่ในข้อสัญญาการรับประกันก็ดีไป แต่เจ้าของรถอาจต้องรอเคลมเปลี่ยนเกียร์ลูกใหม่กับศูนย์บริการโชว์รูมที่ออกรถนานหลายอาทิตย์หรือนานเป็นเดือนๆ จากการทำเอกสารที่ล่าช้าและการรออะไหล่ที่ยาวนานจนน่าเบื่อ

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้เกียร์ออโตต้องรับภารกรรมมากยิ่งขึ้น จากการที่ต้องวิ่งๆ หยุดๆ ไปตลอดทางเมื่อขับใช้งานในเมือง ทั้งยังต้องรับแรงบิดจากเครื่องยนต์สมัยใหม่ที่มีเรี่ยวแรงพละกำลังมาก มีแรงบิดมหาโหดส่งลงไปยังเพลาขับรวมถึงยังต้องทนรับสภาวการณ์ต่างๆ ของผู้ขับที่ใช้เกียร์ออโตไม่เป็นหรือไม่รู้จักทะนุถนอม

น้ำมันเกียร์ออโตเป็นของเหลวหล่อลื่นที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการใช้งานเกียร์อัตโนมัติ นอกเหนือไปจากนั้น วิธีการขับขี่ใช้งานเกียร์ออโตที่ถูกต้องซึ่งเคยเขียนถึงอยู่บ่อยๆ ก็ยังมีความสำคัญในการยืดอายุเกียร์ให้ยาวนานจนลืมขนาดรถผุพังไปแล้ว เกียร์ออโตก็ยังไม่ลาจากตามไปด้วย

ระยะเวลาในการเปลี่ยนของเหลวหรือน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ตามปกติแนะนำกันอยู่ที่ 20,000 กิโลเมตร หรือประมาณปีละหนึ่งครั้ง เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนเกือบจะทั้งปีทั้งชาติ มีหนาวจริงๆ จังๆ แค่เดือนเดียวเท่านั้น หรือบางที่ก็แค่สามวันอย่างในกรุงเทพฯ เป็นต้น นอกจากฤดูร้อนมากและร้อนตับแตกแล้ว ยังมีฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนี้ ฝนตกทีไรเป็นต้องเจอกับน้ำท่วมขังทันที จากสภาพท่อระบายน้ำที่เล็กราวกับหลอดดูดกาแฟและปริมาณของฝนจากสภาวะโลกร้อนที่ตกหนักตกนานจนท่วมสาหัสกันไป

เมื่อต้องวิ่งฝ่าทั้งสภาพรถติดอย่างหนัก วิ่งๆ จอดๆ เดี๋ยวเบรกเดี๋ยวเร่ง เดี๋ยววิ่งฝ่าน้ำท่วมขังที่สูงยังกับการวิ่งอยู่ในคลองแสนแสบ ทำให้ความชื้นสามารถแทรกตัวเข้าไปในระบบเกียร์ ซึ่งมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่ไม่ใช่น้อยๆ จึงมีคำแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายของเหลวพวกน้ำมันเกียร์กันให้เร็วกว่าปกตินั่นเอง ซึ่งระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ในการที่จะทะนุถนอมยืดอายุการใช้งานเกียร์ก็อยู่ที่ 20,000 กิโลเมตร

เมื่อวิ่งฝ่าน้ำท่วม ความชื้นหรือน้ำอาจซึมผ่านซีลของเกียร์ในตำแหน่งที่ต่อเชื่อมกับเครื่องยนต์ ทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เมื่อต้องผจญกับสภาวะน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ บ่อยๆ ก็สมควรที่จะตรวจเช็กเกียร์ว่าซีลรอยต่ออยู่ในสภาพดีหรือไม่ รวมถึงตรวจหาตำแหน่งรอยรั่วของน้ำมันเกียร์ออโต หากเจอก็ควรจะซ่อมแซมให้ดีก่อนที่จะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา ส่วนรถที่ใช้งานอยู่ตามต่างจังหวัดที่มีรถราน้อยและมีสภาพการจราจรโล่งโจ้งไม่ได้วิ่งๆ จอดๆ เหมือนในกรุงเทพฯ หรือตามหัวเมืองใหญ่ๆ ระยะทางในการเปลี่ยนถ่ายของเหลวน้ำมันเกียร์อัตโนมัติยืดมาอยู่ที่ 3-40,000 กิโลเมตร หรือตามแต่เห็นสมควรแต่ไม่ควรนานเกินสองปีหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นขับถึง 40,000 กิโลเมตร ก่อนถึงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายตามเวลา ก็สามารถเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ได้เลยไม่ต้องรอ

น้ำมันเกียร์ออโตหรือเรียกน้ำมันเกียร์อัตโนมัติเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกระปุกเกียร์แบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย น้ำมันล่อลื่นชนิดพิเศษ และสารเติมแต่งหลายชนิด อาทิ สารปรับสภาพความหนืด สารป้องกันการกัดกร่อน และการทำปฏิกิริยาของออกซิเจน สารต้านการเกิดฟอง สารเพิ่มแรงกด เป็นต้น

หน้าที่ของน้ำมันเกียร์
1. ถ่ายกำลังจากปั๊มไปยังกังหันในทอร์คคอนเวอร์เตอร์
2. ถ่ายพลังไฮโดรลิกไปควบคุมการทำงานของคลัตช์ และอุปกรณ์ภายในกระปุกเกียร์
3. ถ่ายเทความร้อนจากกระปุกเกียร์ออกสู่ภายนอก
4. หล่อลื่นแบริ่ง คลัตช์ เฟือง บุช และอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ภายในกระปุกเกียร์
5. ป้องกันการสึกกร่อนของโลหะภายในกระปุกเกียร์

คุณสมบัติน้ำมันเกียร์
1. ไม่ทำปฏิกิริยาหรือกัดกร่อนวัสดุในกระปุกเกียร์ เช่น โลหะ ยาง พลาสติกหรือวัสดุอื่นๆ
2. ไม่ติดไฟ ไม่เสื่อมสภาพ และทนต่อความร้อนได้สูง
3. ป้องกันการเกิดสนิม ป้องกันความชื้น อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟองตามมา
4. ไม่มีความหนืดมาก มีลักษณะใสที่อุณหภูมิต่ำ สามารถแทรกซึมผ่านวาล์วหรือช่องว่างต่างๆ ได้

ชนิดน้ำมันเกียร์ออโต
1. น้ำมันเดกซ์รอน II โดยจะลื่นมากกว่าน้ำมันเดกซ์รอน F ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนเกียร์จะรู้สึกนิ่มมากกว่า

2. น้ำมันเดกซ์รอน F เหมาะสำหรับเกียร์อัตโนมัติที่มีระบบล็อกของทอร์คคอนเวอร์เตอร์เพื่อป้องกันการลื่นของคลัตช์ เป็นน้ำมันเกียร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพทางความฝืดสูง

ตัวอย่างน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

1. ATF Dexron II ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ทั่วไป และใช้สำหรับเกียร์ผ่อนกำลัง
2. โดแนกซ์ TM ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติ เกียร์ธรรมดา เกียร์รถบรรทุก เครื่องจักรหนัก
3. โดแนกซ์ TT ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบ wet brak รถแทรกเตอร์ในการเกษตร
4. โดแนกซ์ TF ใช้สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติรถยนต์ทั่วไป สำหรับประเภท Type F หรือ Type G
5. แทรกเซิล ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบเบรกที่จุ่มในน้ำมัน สำหรับรถแทรกเตอร์การเกษตร

การตรวจน้ำมันเกียร์
เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเครื่องจะต้องได้รับการตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ และสภาพของน้ำมันเกียร์ทุกครั้ง
1. การตรวจระดับน้ำมันเกียร์
– การตรวจระดับน้ำมันเกียร์จะต้องตรวจในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ โดยสตาร์ตเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที
– ปลดคันเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งจอด P และดึงเบรกมือให้รถจอดนิ่ง
– ทำความสะอาดรอบๆ บริเวณก้านวัด พร้อมดึงก้านวัดขึ้นมาเช็ดทำความสะอาด
– ทำการเสียบก้านวัดให้เข้าในระดับตำแหน่งเดิม
– ดึงก้านวัดขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมสังเกตระดับน้ำมันเกียร์ที่เป็นรอยคราบของน้ำมันที่ก้านวัด
– ระดับก้านวัดจะมีรอยปิ่น 4 รอย คือ 2 รอยล่าง แสดงระดับขณะเครื่องเย็น และ 2 รอยบน ขณะเครื่องร้อนหรือเครื่องยนต์ทำงาน
– ระดับน้ำมันเกียร์ที่พอเหมาะจะต้องอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าขีดล่างของเครื่องร้อนหรือไม่ต่ำกว่าขีดที่ 3 นับจากล่างขึ้นบน
– หากระดับต่ำกว่าขีดที่ 3 แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ไม่เพียงพอจะต้องเติมให้เต็มถึง รอยที่ 4 ระดับน้ำมันเกียร์ที่ต่ำเกินไปจะทำให้เกิดการดูดอากาศเข้าห้องเกียร์ หากระดับสูงเกินไปจะสูบออกเพราะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเกียร์

2. การตรวจสภาพน้ำมันเกียร์

โดยปกติน้ำมันเกียร์ที่ยังไม่ได้ใช้งานจะมีสภาพสีเหลืองใสหรือสีออกแดงใส หากใช้งานไปนานๆ หรือมีสภาพของกระปุกเกียร์มีปัญหาจะทำให้น้ำมันเกียร์มีลักษณะสีน้ำตาลหรือสีดำข้น ซึ่งจะเปลี่ยนถ่ายใหม่น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพที่เกิดจากปัญหาของกระปุกเกียร์อาจเกิดจากหลายกรณี ได้แก่
– มีฝุ่นผงของแผ่นเบรกเบรนหรือแผ่นคลัตช์ผสม จนไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆ ทำให้ระบบน้ำมันไฮโดรลิกอัดตัวแน่นกับเสื้อลิ้น เมื่อเข้าเกียร์จะทำให้เกิดเสียง
– การมีน้ำหล่อเย็นไหลเข้าห้องเกียร์จะทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ และเน่าเสียเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากการแยกชั้นของน้ำกับน้ำมัน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ และทำความสะอาดกระปุกเกียร์ทั้งหมด.