ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่า! เทคนิค การขับรถขึ้นเขา-ลงเขา ง่ายๆ-ปลอดภัย  (อ่าน 5199 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
รู้ไว้ใช่ว่า! เทคนิค การขับรถขึ้นเขา-ลงเขา ง่ายๆ-ปลอดภัย

 การขับรถขึ้นเขา ซึ่งเป็นที่สูง อาจต้องใช้รถยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 1500 ซีซี ขึ้นไป ส่วนกรณีรถยนต์ อีโคคาร์ 1200 ซีซี ก็พอไปได้แต่ก็ต้องดูแรงบิดของรุ่นให้ดี

      หลักการขับรถขึ้นเขาคร่าวๆ พอจะเล่าสู่กันฟังได้ดังนี้ครับ

      เริ่มจากการใช้เกียร์ต่ำ ปรับเปลี่ยนเกียร์ เมื่อรถเสียกำลัง อย่าลากเกียร์จนหมดแรงส่ง ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ การขับให้ใช้เกียร์ช่วยตลอดทางเกียร์อัตโนมัติไม่พังง่ายๆ

      ขณะที่ เมื่อขับลงเขาที่ลาดชันมากและยาวไกล ก่อนเข้าโค้งให้เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง D มา 2 ถ้า 2 ยังเอาไม่อยู่ให้เปลี่ยนมา L แต่อย่าเปลี่ยนเกียร์ขณะฝนตกทางลื่นรถจะเสียการทรงตัว การใช้เกียร์แต่ละเกียร์ควรดูสภาพทางเป็นหลักในการพิจารณา

      ส่วนเกียร์ธรรมดาการทำงานจะง่ายกว่า มีเกียร์ให้เล่น 5 ตำแหน่ง และมีคลัทช์ช่วยในการส่งกำลังไปยังล้อตามที่เราต้องการได้ทุกขณะ แต่เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นจะทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการ เพราะฉะนั้นควรประเมินสภาพทางก่อนใช้เกียร์ดีที่สุด

      ส่วนการขับเข้าโค้งธรรมดาหรือบนภูเขา ควรมองให้ไกลให้ลึกและให้คนนั่งข้างช่วยดูสภาพทางด้วย เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมาให้ใช้วิธีตัดโค้งวิธีนี้จะช่วยให้รถทรงตัวดี, เข้าโค้งได้เร็ว, รถไม่ใช้กำลังมาก ลูกปืนล้อไม่ทำงานหนัก, ยางก็ไม่ล้มตัวมาก หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากตามไปด้วย แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมา สมมติจะเข้าโค้งขวาก่อนเข้าโค้งให้ถอนคันเร่งลง หักพวงมาลัยไปทางซ้ายนิดหนึ่ง แล้วหักพวงมาลัยมาทางขวาเพื่อทำโค้งให้กว้างขึ้น ใช้พื้นที่ถนนทุกตารางนิ้ว ถ้ารถจะเลี้ยวซ้ายก็ให้เลี้ยวทางขวานิดหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้าย การฝึกใหม่จะรู้สึกฝืนความรู้สึกบ้าง ถ้าขับชำนาญแล้วก็จะชินไปเอง

      เมื่อท่านผู้อ่าน ขับรถเข้าโค้งหักศอกขึ้นเขารูปฟันปลา การขับแบบนี้ต้องให้ผู้ช่วยดูรถด้านซ้ายด้วยโดยมองถนนด้านบนก่อนว่าไม่มีรถสวนลงมา กดแตรรถก่อนจะขับขึ้นไป หลักการขับก็เหมือนเข้าโค้งธรรมดา จะเลี้ยวซ้ายก็หักพวงมาลัยไปทางขวาก่อนแล้วหักพวงมาลัยไปทางซ้ายเข้าโค้ง เมื่อรถเข้าโค้งล้อหน้าจะเกิดแรงต้าน รถต้องใช้กำลังมาก ทำให้รถขับขึ้นได้ช้า ควรคืนพวงมาลัยกลับมาบ้าง และเร่งเครื่อง ทำแบบนี้เป็นจังหวะไปมาจนพ้นโค้ง การขับลงโค้งแบบนี้อย่าใช้ความเร็ว ควรลงช้าๆ ใช้เบรกช่วยชะลอความเร็วแต่อย่าเหยียบแรง ท้ายรถจะปัด ยิ่งหน้าฝนท้ายรถจะปัดได้ง่าย ถ้าท้ายรถปัดรถจะเสียการทรงตัว ให้หักพวงมาลัยไปทิศทางท้ายรถ เช่น เลี้ยวซ้ายท้ายรถปัดไปทางขวาก็ให้หักพวงมาลัยไปทางขวา เมื่อรถทรงตัวได้แล้วให้บังคับรถไปในทิศทางที่ต้องการ ถ้าเอาไม่อยู่ให้เลือกทางภูเขาไว้ก่อน อย่าเลือกทางหน้าผาก็แล้วกัน

      และหากว่าท่านต้องเบรก การเพิ่มระยะทางการเบรก การเบรกรถกะทันหัน รถเราอาจไปชนรถข้างหน้า ควรเลี้ยวรถดึงพวงมาลัยไปทางไหล่ทาง หรือมีพื้นที่เพื่อเพิ่มระยะทางการเบรก

      ทั้งนี้ การขับรถบนภูเขาที่มีทางคดเคี้ยวไปมาเป็นเวลานานๆ เมื่อถึงทางตรงลงเขายาวไกล อย่าขับเร็วเด็ดขาด คนขับส่วนมากจะขับเร็วรถมาก อันตรายมากนะครับทางแบบนี้ น้ำหนักรถ ความเร็ว ระยะทางถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น มีรถ, คน, ฯลฯ ขึ้นจากข้างทางหักหลบไม่พ้นแน่ ถึงจะหักหลบได้แต่รถต้องเกิดอะไรแน่นอน ไม่พลิกคว่ำ แหกข้างทางเข้าป่า หรือไม่ก็ชนรถที่วิ่งสวนมา

      เมื่อต้องขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S ต้องมองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง ไม่มีรถสวนมาให้ถอนคันเร่งลง แล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับเป็นเส้นตรงที่สุด ง่ายไหม? ...ครับ แต่การขับรถลักษณะนี้ถ้าไม่แน่ใจเส้นทางข้างหน้าหรือทัศนวิสัยไม่ดีควรขับเข้าทางโค้งธรรมดา อยู่ในทางของเราเอง

      นอกจากนี้ ในส่วนการขับในทัศนวิสัยไม่ดี ทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา ต้องบีบแตรส่งสัญญาณทุกครั้งก่อนจะเข้าโค้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา เนื่องจากคนที่ขับรถเจ้าถิ่นบนภูเขาเป็นประจำจะขับรถตัดโค้ง

      และเมื่อต้องเจอกับทางลูกรังหรือทางที่มีหินลอย ทางแบบนี้ถือได้ว่าเป็นทาง ′ปราบเซียน′ กลิ้งกันมาหลายคันครับ การที่ล้อรถลอยตัวขณะวิ่งเข้าโค้งเราไม่สามารถบังคับได้อย่างที่ต้องการ และการที่เราไม่คุ้นเคยกับเส้นทางมาก่อนก็ไม่ควรขับรถด้วยความเร็ว

      ข้อควรระวัง

      1.ขณะขับรถขึ้นทางชันหรือขึ้นเขาควรเร่งความเร็วให้สม่ำเสมอเพิ่มกำลังเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวลแต่อย่าเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรงนะครับเพราะนอกจากความเร็วจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

      2. อย่าใช้เกียร์ว่างในขณะลงเนินชัน หรือลงเขาโดยเด็ดขาด!! เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรใช้เกียร์ต่ำ และค่อยๆปล่อยรถให้ไหลลงเนินตามรอบเครื่องยนต์ และอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ ด้วยนะครับ

      3. ควรใช้เกียร์ต่ำ คือเกียร์ 1 หรือ เกียร์ 2 (เกียร์อัตโนมัติคือ L)ในขณะขับรถขึ้นเขา เพราะถ้าใช้เกียร์ที่สูง อย่างเช่นเกียร์ 3, 4 หรือ 5 จะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังและแรงฉุดมากพอที่จะเคลื่อนที่ขึ้นเนินเขา นอกจากนี้ยังเป็นการผลาญน้ำมันโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

      สุดท้ายเพิ่มเติมไว้ ตอนขาลงก็ระวังเรื่องเบรกแล้วกันครับ ระวังจะไหม้ซะก่อน ผู้เขียนเคยเเล้ว รอบเครื่องเบรกก็กลัวเปลืองน้ำมัน ขาลงใช้เบรกมากไปหน่อย ลองเอามือไปเเตะถึงกับมือพองเลยทีเดียวครับ ...

      ขอบคุณข้อมูล - http://www.khaoko.com/