ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติรถ Volkswagen  (อ่าน 9587 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Morgan

  • บุคคลทั่วไป
ประวัติรถ Volkswagen
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 07:39:24 AM »
จุดเริ่มต้นของโฟล์คเต่ามีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่า VOLKSWAGEN นั่นเอง

โฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)

ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการ VVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้น

ในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS กลายเป็นผู้แทนจำหน่ายของโฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้าไปทำตลาด จากนั้นอีก 1 ปี จึงเริ่มขยายตัวออกสู่ตลาดประเทศอื่น เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949

รุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา

ความจริงแล้วโครงการผลิตรุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีมาตั้งแต่ปี 1948 ในยุคที่มีไฮน์ริช นอร์ดฮอฟฟ์เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานโฟล์คสวาเกน ซึ่งเขาเป็นผู้ปรับปรุงระบบการผลิต และเป็นคนที่เอ่ยประโยคอมตะ “THE BEETLE HAS AS MANY FAULT AS A DOG HAS FLEAS” ที่แสดงให้เห็นถึงรอยรั่วของระบบการผลิต ซึ่งมีมากเหมือนกับหมัด-เห็บบนตัวสุนัข

นอร์ดฮอฟฟ์ใช้เวลานานในการคิดหาทางออกเพื่อกระตุ้นให้ยอดจำหน่ายของโฟล์คเต่ามีมากขึ้นและในปี 1948 เขาได้ว่าจ้าง JOSEPH HEBMULLER COMPANY ผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า SEDAN) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

JOSEPH HEBMELLER ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของ JOSEPH HEBMULLER ผลิตขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้น

โฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ รถขายดีเหมือนแจกฟรี ในปี 1950 ทำยอดผลิตครบ 100,000 คัน และเพิ่มเป็น 250,000 คัน ในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขของยอดการผลิตพุ่งพรวดสวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต และลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952 ยอดผลิตต่อปีของโฟล์คเต่าก็เกิน 100,000 คันเป็นครั้งแรก และในปี 1953 ก็ฉลองครบ 5 แสน คัน โดยที่ในช่วงเวลานั้น โฟล์คเต่าครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกใน(ตอนนั้น) ถึง 42.5%

ในปี 1955 ตัวเลขการผลิตครบ 1ล้านคัน และในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์ก

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถแซงหน้า สถิติเดิมของ ฟอร์ด โมเดล ทีได้สำเร็จ ทำให้โฟล์คเต่ากลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะโดนรุ่นกอล์ฟแซงในปี 2002)

จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974 และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์ก

ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ในออสนาบรักเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน

แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้

อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่

แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชันULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000 คัน เท่านั้น

Morgan

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 07:41:30 AM »
หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่สองรถยนต์ที่ดังและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในเมืองไทยมีอยู่สอง “ฟ” เฟียต และ “ฟ” โฟล์ก คู่หูคู่โหดที่จุดเพลิงสงครามโลกทางยุโรป สองชาตินี้คืออิตาลีและเยอรมนี ที่โหดเหี้ยมที่สุดคือเยอรมนีที่มีพ่อหนวดกระจุกเป็นผู้นำปฏิบัติการ จองเวรกับยิวฆ่าพวกตายเป็นล้าน ๆ คนอย่างที่เรียกว่า “จอมโหด” ส่วนจอมเหี้ยมที่ตะวันออกคือ เสือเตี้ยชาวซามูไรที่บุกตะลุยประเทศตะวันออกกระจุยไปตาม ๆ กันน่าแปลกที่ประเทศแพ้ สงครามคือ เยอรมนีและอิตาลีมีรถยนต์ที่ยังเหลือความนิยมอยู่ในเมืองไทยและประเทศอื่นทางภาคนี้บางประเทศ รถยนต์โฟล์กและเฟียตมีลูกค้าเมืองไทยเต็มเมืองส่วนญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นสินค้ารถยนต์หรือสินค้าอื่นเกือบทุกชนิดคนไทยไม่นิยมและไม่ชอบเอามาก ๆ สินค้า “เมดอิน เจเปน” มีแต่คนร้องยี้ว่าเป็นสินค้าปลอมลอกเลียนไปจากสินค้าประเทศอื่น ส่วน “เมด อิน ยู.เอส.เอ.” ได้รับความนิยมอย่างสูงเรียกว่า “สูงสุด” ทีเดียว ความนิยมในรถยนต์โฟล์กและเฟียตมีอยู่นานไม่กี่ปีก็ถึงยุคเสื่อม โดยมียี่ห้อเฟียตเสื่อมก่อนทั้งเรื่องเครื่องยนต์และเรื่องไฟ ส่วนโฟล์กแม้จะมีอะไรดี ๆ ทั้งเรื่องน้ำคือไม่ต้องใช้น้ำระบายความร้อนและเครื่องยนต์ แต่รูปร่างของมันที่เรียกว่า “เต๋าทอง” ที่เคยคลั่งชอบกันมาก ๆ ก็เริ่มถอยลงโดยมองจุดเครื่องยนต์อยู่ท้ายตัวรถว่าไม่มีความปลอดภัยสำหรับชีวิตในตัวรถยนต์เพียงพอ ในขณะเดียวกันผู้ใช้รถยนต์ได้หันไปมองรถยนต์ญี่ปุ่นที่กำลังมาแรงและด้วยคุณภาพที่ดีขึ้นทุกปีทุกรุ่น

ด้วยเวลาเพียงทศวรรษเดียวความนิยมในรถยนต์ของโฟล์กและเฟียตที่เสื่อมลงก็ถูกรถยนต์ “เมดอิน เจแปน” เข้ามาสวมแทนที่ด้วยความขยันขันแข็งและความอดทนของชาวซามูไรที่กล้ำกลืนความอดสูในความพ่ายแพ้ในสงคราม และการมีผู้นำที่ดีคนญี่ปุ่นทั้งประเทศเริ่มบุกเบิกประเทศใหม่ มันเป็นการเริ่มต้นชีวิต ของแต่ละคน แต่ละครอบครัวและประเทศใหม่ ต่างก้มหน้าก้มตาทำแต่งานหามรุ่งหามค่ำโดยไม่คำนึงถึงเวลาและเหงื่อไคลเพื่อหาเงินตราสกุลต่างประเทศโดยเฉพาะสกุล “ดอลลาร์” เข้าประเทศให้มากที่สุดโดยไม่สนใจเงิน “เยน” ที่มีค่าถูกที่สุดในประเทศและทั่วโลกเลย และสินค้าของญี่ปุ่นที่ทำเงินจากทั่วโลกมากที่สุดก็คือสินค้ารถยนต์ แม้เวลาจะผ่านจากการพ่ายแพ้สงครามมาแล้ว 50 ปี เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเวลานี้ไปล้ำหน้าประเทศผู้ชนะสงครามหลายขุม ญี่ปุ่นมีเงินตราต่างประเทศเช่น เงินดอลลาร์และเงินมาร์กหนุนหลังเต็มคลัง แม้กระนั้นญี่ปุ่นก็ยังไม่เคยหยุดยั้งที่จะกวาดหาเอาเงินต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่คนในประเทศยังมีคนยากจนอยู่อีกจำนวนมาก ดูเอาง่าย ๆ สินค้ารถยนต์ที่ญี่ปุ่นผลิตออกมาจำหน่ายมากเป็นอันดับที่หนึ่งทั่วโลกปีละประมาณ 8 ล้านคัน แต่เชื่อหรือไม่ว่าในญี่ปุ่นคนญี่ปุ่นมีรถยนต์ใช้มากอยู่ในอับดับที่ 7 แทนที่จะมีใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือคนญี่ปุ่น 4.5 คน มีรถยนต์ใช้หนึ่งคันเท่านั้น เมื่อมองดูสหรัฐที่ผลิตรถออกมามากเป็นอันดับที่สองปีละประมาณ 7 ล้านคน คิดแล้วคนสหรัฐมีรถใช้กันในอัตรา 1.9 คนต่อหนึ่งคัน ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในโลกที่คนสหรัฐใช้รถกันมาที่สุดเมื่อเป็นดังนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่า ญี่ปุ่นรวยเฉพาะพวกนายทุนและรัฐบาล ส่วนประชาชนคนญี่ปุ่นไม่รวย แม้จะมีเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยสูงแต่ค่าใช้จ่ายความเป็นอยู่ในญี่ปุ่นก็สูงลิ่ว แม้จะประหยัดกันเต็มที่ก็ยังไม่พอยู่นั่นเอง

ตลาดรถโฟล์กในไทยและประเทศในเอเชียรวมทั้งสนามสหรัฐเวลานี้มิได้รับความนิยมมากเหมือนก่อนเมืองเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จะไม่เข้าขั้นในอันดับอะไรทั้งสิ้น แต่ในสนามประเทศยุโรปยังได้รับความนิยมไม่น้อย โฟล์กได้พยายามกู้ชื่อในสนามเอเชียและสนามสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้ผลกลับคืนมาแต่อย่างใด ยิ่งในสนามสหรัฐมันคงตัวไม่เพิ่มขึ้น โฟล์กไม่ไรับความสนใจในสื่อมวลชน ทั้งนี้ดูจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ไม่เห็นมีโฆษณาหรือเห็นน้อยบางตาเต็มที ยิ่งในโทรทัศน์ ทั้ง ๆ ที่ผมดูโทรทัศน์มากกว่าคนอื่น ๆ แต่ก็ไม่เห็นโฆษณาของโฟล์กอยู่ดี บริษัทโฟล์กสวาเกน เป็นบริษัทสร้างรถมากเป็นอันดับหนึ่งในประเทศยุโรป และเป็นอันดับที่สี่ในโลก บริษัทมีพนักงานหรือคนงาน 251,000 คน มีรายได้ปีละ 35,000 ล้านดอลลาร์ เป็นกำไร 523 ล้านดอลลาร์ เริ่มก่อตั้งปี 1937 เรื่องหุ้นหรือสต๊อกไม่เคยเห็นอยู่ในระบบหรือในลิสต์ ดูเป็นเรื่องลึกลับในสหรัฐครับ ด้วยการสนับสนุนของจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สมัยเริ่มครองอำนาจในเยอรมนีใหม่ ๆ ทำให้รถโฟล์กได้รับความนิยมเรียกว่าเกือบทั่วโลกแต่ไม่รวมในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่มีเจ้า “เต่าทอง” ออกมาจำหน่ายในสหรัฐจนถึงปี 1990 มีเพียง 5 ล้านกว่าคัน ในปี 1970 และปีต่อ ๆ มารถโฟล์กครองสหรัฐ 7 เปอร์เซ็น จนกระทั่งถึงปี 1989 โฟล์กเหลืออยู่ในตลาดสหรัฐเพียง 2 เปอร์เซ็น ทั้งนี้เรื่องเครื่องยนต์อยู่ตอนส่วนท้ายของตัวรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โฟล์กได้รับความนิยมน้อยลงในเรื่องความปลอดภัย มีเดียสหรัฐนับเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งเพาะมีความฉับไวในการเสนอข่าวความบกพร่องของโฟล์ก และอีกส่วนหนึ่งคือการศึกษาของคนอเมริกันที่มีสูงและให้ความไว้วางใจในการออกข่าวภาครัฐและการเสนอตามอีกของมีเดีย ไม่ว่าอะไรจะดีและเลวมันเกิดผลได้ทันที

เมื่อโฟล์กได้เสื่อมลง คนอเมริกันได้หันไปสนใจรถญี่ปุ่นมากขึ้นแทนที่ทันที รถญี่ปุ่นเริ่มได้รับความสนใจและนิยมในหมู่คนอเมริกาอย่างมากในปี 1980 เป็นต้นมา ในปี 1978 โฟล์กในมิชิแกน (โฟล์กเป็นบริษัทรถยนต์ต่างชาติบริษัทแรกที่มีโรงงานสร้างในสหรัฐ) เริ่มผลิตแบบหรือรุ่น “แรบบิตส์” ออกมาเป็นตัวแทนรุ่น “เต่าทอง” ที่เริ่มมองเห็นว่ามันจะไปไม่รอดในสนามสหรัฐแต่เจ้ากระต่ายก็มิได้ช่วยทำให้สถานการณืของโฟล์กฟื้นตัวขึ้นแต่อย่างใด ขณะนั้นโรงงานโฟล์กเกิดปัญหากับกรรมกรสร้างรถยนต์ซึ่งเป็นคนทำเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นในเรื่องผิว ผู้ช่วยผู้จักการแผนกบุคคลคนหนึ่งฆ่าตัวตาย บางเสียงว่าถูกฆาตกรรมได้พบโน้ตข้อความจากผู้ตายว่าได้รับความกดดันจากนายจ้างไม่ให้ร่วมมือกับการฟ้องร้องของคนดำถ้าไม่ร่วมมือบริษัทจะฟ้องเขาในเรื่องความสัมพันธ์ของเขากับลูกจ้างสตรีบางคน ฯลฯ พอถึงปี 1988 หลังจากมีการฟ้องร้องแล้ว 10 ปี โฟล์กตัดสินใจปิดโรงงานในมิชิแกนสิ้นสุดยุคของโฟล์กในดินแดนสหรัฐตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา ผู้ริเริ่มสร้างรถโฟล์ก “เต่าทอง” คือ นายเฟอร์ดินานด์ ฟอสซ์ (หรือที่เรียกในไทยว่า “พอสเซ่” ) ที่ต้องการสร้างรถยนต์ราคาถูกเพื่อคนจนเยอรมันจะได้มีรถใช้โดยการสนับสนุนของจอมเผด็จการฮิตเลอร์ เขาเคยเสนอแบบดีไซน์โฟล์กแก่นายจ้างเก่าคือนายเตมเลอร์ เบนซ์ เจ้าของรถเบนซ์แต่ไม่ได้รับความสนใจแต่อย่างใด

สำนักงานใหญ่ของโฟล์กสวาเกนอยู่ที่เมืองวูล์ฟสบิร์ก ประเทศเยอรมนี ที่ๆจะติดต่อได้คือ VOLKSWAGEN,PO BOX 3180 WOLFSBURG1 WEST GERMANT โทรศัพท์(49) 536190 ในสหรัฐติดต่อได้ที่ VOLKSWAGEN OF AMERICAN, P.O.BOX 3915 ,888 W.BIG EAVER,TROY,MI 48007 U.S.A. โทรศัพท์ (313) 362-6000

Toncaraudio

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 07:46:04 AM »
Volkswagen รถของประชาชน และปริมณฑล :)

Morgan

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 07:50:26 AM »
รวมโมเดลต่างๆของ VW

http://www.conceptcarz.com/view/model/160/Volkswagen.aspx

b13

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 08:15:20 AM »
ได้ความรู้แบบไม่ต้อง เข้าgoogle เราครับ  8)ขอบคุณพี่มอร์แทนสมาชิกทุกท่านครับที่ให้ความรู้ที่น่าสนใจกับสมาชิก.  ;D

junojum

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 10:41:30 PM »
 :)

Toncaraudio

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประวัติรถ Volkswagen
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 11:24:51 PM »
ได้ความรู้แบบไม่ต้อง เข้าgoogle เราครับ  8)ขอบคุณพี่มอร์แทนสมาชิกทุกท่านครับที่ให้ความรู้ที่น่าสนใจกับสมาชิก.  ;D

ผู้รอบรู้  :) :) :)