ผู้เขียน หัวข้อ: เกียร์ VW  (อ่าน 5245 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
เกียร์ VW
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2012, 05:20:39 PM »
เพื่อจะช่วยให้เข้าใจระบบเกียร์มากขึ้น อาจจะยาวไปซักนิด

ต้องเรียนทุกท่านด้วยความเคารพนะครับ อย่าว่าแต่เกียร์(ออโต)เลยครับ อะไรก็ตาม ถ้าใช้งานกันโดยไม่ดูแลรักษากันตามสมควร มันก็พัง ใน

กรณีนี้ ไม่ทราบว่าใครปล่อยข่าวให้เข้าใจผิดกันว่า ว่าเกียร์ออโต VW/Audi ใช้ได้ตลอดชีพไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ (แล้วก็น่าจะบอกแถมมาด้วยว่า

แต่ต้องยกเกียร์ (Overhaul)กันทุก 100,000 กม.) ส่วนระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่โรงงานกำหนดไว้ ก็ได้ยินมาว่าคือ 60,000 กม. ไม่รู้ว่าเป็น

กลเม็ดในการขายอะไหล่หรือรักษาสภาพแวดล้อมหรืออย่างไร ผมว่าข้อเท็จจริงของเกียร์ออโต ที่ผู้ใช้ควรทราบนั้นมีดังนี้ครับ

1. เกียร์นั้นมีการสึกหรอตามการใช้งาน โดยไม่แสดงอาการว่าสึกหรอ ถ้าแสดงอาการออกมา แปลว่าหนักมากแล้ว (ไม่เหมือนเดิมซะแล้ว)

2. น้ำมันเกียร์ที่ถูกต้อง, ใหม่มากพอ, ปริมาณถูกต้อง ทำให้การสึกหรออยู่ในระดับน้อยมาก (แต่ก็สึกหรออยู่ดี)

3. น้ำมันเกียร์ที่หมดสภาพ แต่ยังฝืนใช้งาน ทำให้ระดับการสึกหรอเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ในระดับทวีคูณเลยครับ)

4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ออโตตามปกติแต่ละครั้งนั้น สามารถนำน้ำมันเก่าออกมาได้แค่ 50% เท่านั้น จะเป็นว่า ตราบใดที่ไม่ผ่าเกียร์ เราจะมีน้ำมัน

เกียร์เก่าหลงเหลืออยู่ในเกียร์เสมอ

5. ชิ้นส่วนที่สึกหรอไปแล้ว ไม่สามารถกลับมามีสภาพเดิมเหมือนใหม่ได้ด้วยการ ล้าง และ/หรือ แค่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่ ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนเท่านั้น

6. น้ำมันเกียร์ใหม่ที่มากพอ จะทำให้เกียร์ที่สึกหรอไปแล้ว ยังคงสึกหรอเท่าเดิม ไม่ได้มีสภาพเหมือนใหม่ และสามารถรักษาเยียวยาอาการที่เกิดจาก

น้ำมันเกียร์หมดสภาพได้

7. เมื่อถึงจุด เกียร์ออโตที่ไหนๆ ก็ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอในเกียร์กันทั้งนั้น มันเป็นชะตากรรม ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ (ของเค้าทำมายังงี้)

8. ช่างที่ไม่เชี่ยวชาญจริงและ/หรือช่างที่ไม่ยอมอ่านตำรายกเกียร์ ไม่ควรให้ Overhaul เกียร์โดยเด็ดขาด จะทำจะผ่า/ประกอบเกียร์กันจริงๆ ต้องมี

ห้องแอร์หรือห้องปลอดฝุ่นด้วยครับ

จะเห็นว่า เกียร์ออโต VW ส่วนใหญ่อายุ 10 ปีขึ้นไม่น่าจะมีสภาพที่เรียกได้ว่าใช้งานได้ดีเลย เนื่องจากถูกใช้งานครั้งแรกแบบทะลวงไส้ คือ 60,000

กม. ศูนย์ถึงจะเริ่มยอมทำการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ให้ ถ้าคิดว่าไม่เปลี่ยนน้ำมันเลยตลอด 100,000 กม. ของการใช้งาน แล้วมันจะพัง ดังนั้นพอถึง

60,000 มันก็เฒ่าชแรแก่ชราเต็มทีแล้วน่ะซิครับ จะใช้ต่อได้อีกซักกี่น้ำกันเชียว

ว่าอาการของแต่ละท่านนั้น อาจมิได้เกิดจากสาเหตุเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเหมือนกัน อันเนื่องมาจาก ความเข้าใจที่เกิดจากการเขียน/อ่าน ข้อ

ความของท่านอื่น ดังนั้น ขอให้มีความสังเกตุให้ละเอียด อธิบายอาการให้ชัดเจน และผมขอตีความอาการแต่ละแบบดังนี้นะครับ

1. สังเกตว่า มีอาการเปลี่ยนเกียร์ช้าหรือไม่ยอมเปลี่ยนเกียร์ แต่เปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเลย รถพุ่งไปตามการเปลี่ยนเกียร์ เช่น เหยียบคันเร่งประมาณ

10% เกียร์ควรจะเปลี่ยนเป็นระดับถัดไปที่ 2000 รอบต่อนาที แต่ก็ไม่เปลี่ยน ถอนคันเร่งช่วยก็แล้ว ไม่ยอมเปลี่ยน แต่รถหัวทิ่มเพราะถอนคันเร่งแทน

ต้องกดคันเร่งลึกๆให้รอบขึ้นสูงๆจนถึง 3000-4000 รอบต่อนาที (ความเร็วก็พุ่งขึ้นพรวดๆด้วย) ถึงจะยอมเปลี่ยนให้ พอเปลี่ยนแล้วรถพุ่งกระชากไป

(เร็วขึ้นไปอีก ก็รอบตั้งขนาดนั้นนิ) และเป็นทุกเกียร์ อย่างนี้มีโอกาสเป็นที่ TPS เป็นอย่างสูง ยิ่งถ้ารีเซ็ทแล้วอาการหายไปได้ยิ่งชัดใหญ่ เกียร์ไม่

เกี่ยว อย่าจับแพะ เสียบ VAG COM ต้องเจอ Fault code ของ TPS แน่ๆครับ

2. หรือเป็นแบบ มีอาการเกียร์จับช้า(จับหมายถึงการต่อการส่งกำลังของเกียร์นะครับ ส่วนการตัดการส่งกำลัง จะเรียกว่าปล่อยละกันครับ) หรือไม่ต่อ

เนื่อง แต่จับแล้วรถวิ่งมีแรงตามปกติ อาการเหมือนกับเป็นเกียร์ว่างอยู่นานเกินไป ทำให้เครื่องหมุนตัวเปล่าขึ้นไปที่รอบสูงเกินไป พอเกียร์ยอมจับตัวใน

ระดับถัดไป ก็จะทำให้เกิดการกระชากอย่างรุนแรง อาจทีเสียน่ากลัวอย่างที่นึกไม่ถึงตามมาด้วย เช่น ขับอยู่ในเกียร์ 2 เร่งเครื่องไปจนถึง 2500 เกียร์

เิริ่มเปลี่ยน เ้กียร์ 2 ปล่อย รอบเครื่องเริ่มสวิงขึ้น ถ้าไม่ผ่อนคันเร่ง (ซึ่งรถจะไม่หัวทิ่ม) รอบเครื่องจะสูงไปเรื่อย ช่วงนี้ รถจะไม่มีการตอบสนองต่อคันเร่ง

เลย จนกว่าเกียร์ 3 จะจับ รถก็จะมีการตอบสนองต่อคันเร่งอีกครั้ง อาการนี้แหละที่น่าจะเกิดจากภายในเกียร์ เช่น ระดับน้ำมันเกียร์ต่ำเกินไป, น้ำมันเกียร์

หมดสภาพในการเป็นน้ำมันเกียร์, น้ำมันเกียร์สกปรกมาก, น้ำมันเกียร์ร้อนเกินไปหรือเป็นฟอง, ชิ้นส่วนในเกียร์สึกหรอเกินกว่าจะทำงานได้อย่างถูกต้อง

ฯลฯ  และมักจะถูกเดากันไปต่างๆนานาว่า ต้องเปลี่ยน ต้องล้าง ต้องยก อะไรทำนองนี้ เอาเป็นว่า ถ้าเริ่มเป็นเกียร์เดียว ก็น่าจะเป็นที่กลไกของเกียร์

นั้นๆ แต่ถ้าเป็นกันเป็นย่าน หรือ เป็นกลุ่ม เช่น เป็นที่ 2ไป3 และ 3ไป 4 ก็อาจเกิดจากน้ำมันเกียร์ได้ (ใหม่ไม่พอ)

3. หรือ ผิดปกติเฉพาะบางช่วงการใช้งาน เช่น ติดเครื่องใหม่ๆ วิ่งดี เปลี่ยนนิ่ม ต้องวิ่งไปซัก 50 กม. แล้วถึงเริ่มมีอาการผิดปกติ น่าจะเกิดจากอุณหภูมิ

น้ำมันเกียร์สูงเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนออยล์อากาศเป็นการแก้ไขตามอาการที่ปลายเหตุ เพราะตอนที่รถมันใหม่ๆมันก็ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหานี่ครับ แต่ต้อง

มาหาว่าทำไม อุณหภูมิน้ำมันเกียร์ถึงสูงมากเกินไปด้วยครับ ส่วนมากก็เกิดจากการสึกหรอภายใน ทำให้เกิดการจับไม่แน่น มีการสลิป(ไถล)ของชิ้นส่วน

ที่ควรจะจับแน่น(ไม่ไถล) เป็นที่มาของความร้อนที่ไม่ได้ ออกแบบให้ระบบระบายความร้อนเดิมรองรับไหวครับ น้ำมันเกียร์จึงร้อนกว่าเดิมมากขึ้น