ผู้เขียน หัวข้อ: ซุปเปอร์ชารจ์เจอร์ อุปกรณ์เพิ่มความแรง  (อ่าน 3307 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
ซุปเปอร์ชารจ์เจอร์ อุปกรณ์เพิ่มความแรง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:45:32 AM »
ซุปเปอร์ชารจ์เจอร์ ที่จะว่านี้เป็นอุปกรณ์เพิ่มความแรงให้กับเครื่องยนต์ที่มีมานานโขแล้ว สมัยก่อนเรามักเห็นรถยนต์อเมริกันสมัยเก่า เจาะฝากระโปรง

หน้า แล้วมีลิ้นปีกผีเสื้อโผ่ลออกมานอกฝากระโปรงรถ เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ ส่วนมากแล้วรถพวกนี้จะติดตั้ง ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ บางคันติดตั้งถึง 2 ตัว

หรือบางคันติดแบบโชว์เพาเวอร์กันไปเลยตั้ง 4 ตัวกลัวไม่แรงก็ ต้องยอมรับฝรั่งเขา ส่วนในสมัยนี้รถบ้านทั่วๆไป หรือรถหรูมีระดับก็มีการพัฒนาติดตั้งซุป

เปอร์ชาร์จมาให้เลยจากโรงงาน ส่วนเครื่องญี่ปุ่นเองก็มีการนำมาติดตั้งกันอย่างมากมายเกือบทุกยี่ห้อ สำนักแต่งเกือบทุกสำนักต่างก็ทำชุดคิทออกมา

จำหน่าย ดังนั้นเจ้าซุปเปอร์ชาร์จนี่มันมีดีอะไร สงสัยคงต้องมาทำความเข้าใจศึกษากับเขาบ้างแล้ว

มารู้จักซุปเปอร์ชาร์จเจอร์

ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ ( Superchargers ) หรือ ( Blower ) หรือบางยี่ห้อเรียก ( Compressors ) ทำหน้าที่ดูดอากาศไอดีเข้ามาแล้วอัดเข้าสู่

ห้องเผาไหม้ให้มีความดันอากาศเพิ่มขึ้น มากกว่าการปล่อยให้เครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าไปเอง ทำให้มีปริมาณของอากาศที่เข้าไปในห้องเผาไหม้เพิ่มขึ้น

ความจุของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น การจุระเบิดรุนแรงขึ้น มีผลทำให้เครื่องยนต์มีแรงม้าและแรงบิดเพิ่มขึ้น ซุปเปอร์ชารจ์มีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับ

เทอร์โบชาร์จ ( Turbo chargers ) ต่างกันที่ เทอร์โบอาศัยไอเสียจากเครื่องยนต์มาปั่นกังหันเทอร์ไบน์ด้านไอเสีย ทำให้ใบพัดด้านไอดีหมุนตาม

ด้วยความเร็วสูงจนเกิดแรงดันอากาศอัดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แต่ซุปเปอร์ชาร์จ อาศัยการส่งกำลังมาจากมูเล่ย์เครื่องยนต์ ผ่านสายพานมา

ขับแกนหมุนของตัวซุปเปอร์ชาร์จให้ทำงาน จนเกิดการดูดอากาศมาสร้างแรงดันอากาศป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์

ชนิดต่างๆของซุปเปอร์ชารจ์เจอร์

ซุปเปอร์ชาร์จมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายแบบ แต่จะขอยกตัวอย่างแบบใหญ่ๆที่นิยมใช้กันมากในปัจบันมาให้ดู เช่น

1. Roots 2-3 Lobe Superchargers เป็นแบบที่นิยมกันมาก การออกแบบภายในจะเป็นลักษณะ 2 แกนหมุน แต่ละแกนจะมีลูกตุ้มยาวบางรุ่นมี

2 ลูก หรือ 3 ลูก เรียกว่า Lobe หมุนลักษณะขบกันเหมือนก้นหอย โดยหมุนเข้าหากัน ทำให้อากาศที่เข้ามาถูกอัดผ่านลูกตุ้มจนเกิดแรงดันอากาศสูง

ขึ้น แต่ละแกนหมุนมีเฟืองขบกันมาขับมูเลย์หน้าตัวซุปเปอร์ชารจ์แล้วจึงต่อสายพานมายังมูเลย์เครื่องยนต์ ซุปเปอร์ชาร์จแบบนี้มีประสิทธิภาพมาก ใช้

ตั้งแต่ของพวก 4AG หรือแบบ compressers หรือพวกรถ Drag เมืองนอกที่แรงๆหลายพันแรงม้า

2. Lysholm Screw Superchargers เป็นแบบที่นิยมอีกแบบหนึ่ง ภายในเป็น 2 แกนหมุนเหมือนแบบ Roots แต่มีตุ้มมากกว่า 4 – 6 ตุ้ม เป็น

ลักษณะคลายเกลียวขบกันอยู่ หมุนไปในทิศทางตรงข้ามกันอากาศจะถูกรีดผ่านเกรียวหมุน จนเกิดแรงดันสูงขึ้น ข้อดีแบบนนี้คือให้ประสิทธิภาพสูง และ

สูญเสียแรงเครื่องยนต์น้อยกว่า

3. Centrifugal Superchargers แบบนี้เป็นแบบที่มีลักษณะเหมือนเทอร์โบมาก จนบางครั้งเห็นแล้วนึกว่าเป็นเทอร์โบเสียอีก ต่างกันที่โข่งหลัง

ไม่มี แต่จะเป็นแกนหมุนมาขับยังสายพานหน้าเครื่องยนต์โดยตรง ซุปเปอร์ชาร์จแบบนี้อาศัยการหมุนของมูเลย์มาขับเฟืองทด และส่งกำลังไปยังใบพัด

ด้านหน้าเหมือนของเทอร์โบให้หมุนด้วยความเร็วสูง จนเกิดแรงอัดอากาศเพิ่มสูงขึ้น

4. Electric Superchargers แบบนี้เป็นซุปเปอร์ชาร์จรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนา ด้วยเหตุผลที่ว่า ซุเปอร์ชาร์จส่วนมากจะอาศัยการทำงานมาจากเครื่อง

ยนต์โดยตรง ทำให้เครื่องยนต์ต้องสูญเสียพลังงาน แล้วทำไมไม่ใช้ไฟฟ้าปั่นตัวซุปเปอร์ชาร์จเองเสียเลย อยากให้ซุปเปอร์ชาร์จทำงานก็เพียงเปิดสวิ

ย์ทไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีทำออกมาหลายแบบ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ แต่เป็นที่น่าจับตามองเหมือนกัน

นอกจากนี้ยังมีซุปเปอร์ชาร์จอีกหลายแบบ เช่น Vane Superchargers ใช้การทำงานแบบใขพัดยืดหดได้คล้ายกับปั้มลมตูดไดชาร์จเครื่องดีเซล

แบบ Wankel Rotary Superchargers ที่ใช้ตัวโรเตอร์สามเหลี่ยมติดตั้งอยู่บนแกนหมุนเหมือนเครื่องโรตารี่นั่นเอง

การติดตั้ง และการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซุปเปอร์ชาร์จ

สมัยนี้มีสำนักแต่งมากมายเกือบทุกสำนัก ต่างได้ผลิตซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ออกมาเป็นชุดคิท ที่พร้อมมาประกอบติดกับเครื่องยนต์เฉพาะรุ่น โดยได้ออก

แบบขาที่จะติดตั้งท่อดูดอากาศ พร้อมกรองอากาศที่สามารถต่อกับกรองอากาศเดิมของรถ หรือ กรองอากาศแบบเปลือย มูเลย์ที่ติดกับเครื่องยนต์

สายพานขับซุปเปอร์ชาร์จ ลูกรอกตั้งสายพาน ท่ออากาศเข้าเครื่องยนต์ ท่อไอดีชุดสำเร็จ เครื่องที่ติดตั้งซุปเปอร์ชาร์จเพิ่มส่วนมาก ต้องมีการปรับส่วน

ผสมน้ำมันใหม่ เช่น การเปลี่ยนรอมในกล่อง หรือ หากล่องมาพ่วง และปรับน้ำมันเพิ่ม การเพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง และ การเปลี่ยนปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง

ใหม ่ที่สามารถป้อนน้ำมันได้มากกว่าเดิม เพื่อความเพียงพอต่อระบบเผาไหม้

การปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพ

เนื่องจากการติดตั้งซุปเปอร์ชาร์จเจอร์มีความยุ่งยาก ต้องมีการคำนวณกันเป็นอย่างดีถึงการผลิตแรงดันอากาศ โดยอาศัยอัตตราทดระหว่างมูเลย์ที่ติด

เครื่องยนต์กับ ขนาดมูเล่ย์ของซุปเปอร์ชาร์จ ว่าจะเริ่มบูชที่กี่รอบ และบูชสูงสุดที่รอบเท่าไร โดยการเพิ่มแรงดันอากาศต้องอาศัยการเปลี่ยนมูเล่ย์หน้า

เครื่อง ที่ส่วนมาก สำนักแต่งต่างๆ ก็ได้ผลิตออกมาจำหน่ายกัน

ข้อดีและข้อเสียเมื่อเปรียบเทียบกับเทอร์โบ

ข้อดี

1 . การตอบสนองดีกว่าเทอร์โบ เพราะซุปเปอร์ชาร์จสามารถทำงานได้ตั้งแต่รอบต้น ไม่เหมือนเทอร์โบที่ต้องรอรอบ

2. มีน้ำหนักน้อยกว่า เมื่อติดตั้งแล้วจะมีความสวยงาม

3. การดูแลรักษาน้อยกว่า มีความทนทานสูง

ข้อเสีย

1.สิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงสูงกว่า เพราะต้องใช้กำลังเครื่องยนต์มาขับเคลื่อน

2. การดัดแปลง และการปรับแต่งยากกว่า เพราะต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ในการเพิ่มแรงอัดอากาศ

การดูแล และการระวังรักษา

การใช้ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ก็ต้องมีการดูแลรักษา มิฉะนั้นอาจจะเกิดอาการลาโลกไปก่อนกำหนดได้ สำหรับซุปเปอร์ชาร์จที่ติดมากับเครื่องยนต์โรงงาน

ต้องหมั่นดูแลสายพานขับซุปเปอร์ชาร์จ ครัชมูเล่ย์หน้า น้ำมันเฟืองขับซุปเปอร์ชาร์จ ที่สามารถดึงก้านวัดระดับน้ำมันได้ และ ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเสมอ

ซึ่งต้องเป็นน้ำมันที่ใช้กับซุปเปอร์ชาร์จโดยเฉพาะ กรองอากาศสำหรับเครื่องซุปเปอร์ชาร์ต้องใช้แบบที่ละเอียดเป็นพิเศษ เพราะฝุ่นระอองที่แข็งสามาร

ทำความเสียหายกับสารพวกเทฟล่อนที่เคลือบอยู่ในซุปเปอร์ชาร์จได้จนทำให้ประสิทธิภาพแย่ลง หรือ ไม่สามารถทำแรงดันอากาศได้ สิ่งที่ต้องหมั่น

ดูแลอีกตัวก็คือ ABV (Air bypass Valve ) เป็นตัวควบคุมไม่ให้แรงดันอากาศสูงมากเกินไป ถ้าแรงดันสูงมากวาว์ลตัวนี้จะยกตัวระบายอากาศกลับ

ถ้าเสียหายอาจทำให้แรงดันอากาศสูงกว่าที่เครื่องจะรับได้ เป็นผลให้เครื่องอาจพังได้ โซลินอยควบคุมครัช ( Boot control solenoie ) เป็นตัว

คอยจับแรงดันอากาศ เมื่อแรงดันสูงกว่ากำหนด จะตัดไฟที่ไปสั่งให้หน้าครัชซุปเปอร์ชาร์จ ให้ตัดการทำงาน ส่วนแบบที่ติดตั้งเองต้องได้รับการดูแล

จากผู้ที่ติดตั้ง และอย่าพยายามปรับแต่งเองเป็นอันขาด