ผู้เขียน หัวข้อ: เทอร์โบไทม์เมอร์จำเป็นหรือไม่สำหรับรถเทอร์โบ  (อ่าน 2827 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
เครื่องยนต์เทอร์โบยังมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ยืดอายุการใช้ของเทอร์โบ นั้นก็คือเทอร์โบไทม์เมอร์ บางท่านยังคิดว่ามันเป็นแค่ตัวตั้งเวลาดับ

เครื่องยนต์ให้ช้าลงอีก 1- 10 นาที หรือบางท่านยังนำมาใส่รถเครื่องแบบ N/A เสียด้วยซ้ำเพื่อตั้งเวลาในการดับเครื่องยนต์ และบางท่านแค่อาศัย

อุปกรณ์การวัดบนเทอร์โบไทม์เมอร์ เช่นวัดความร้อนน้ำ หรือวัดความร้อนเครื่องยนต์แค่นั้นเอง แต่แท้ที่จริงเทอร์โบไทม์เมอร์มันมีหน้าที่สำคัญอย่างไร
   
ส่วนประกอบ และการทำงานของเทอร์โบไทม์เมอร์

ภายในจะประกอบด้วยวงจรอิเลคทรอนิกส์ มากมายหลายส่วนแต่ส่วนประกอบที่สำคัญคือวงจร Counter หรือวงจรนับเวลา ที่สามารถนับเวลาหรือจับ

เวลาถอยหลัง และสามารถตั้งเวลาได้ตั้งแต่ 1 วินาที จนถึง 99 นาที แล้วแต่วงจรกำหนด แสดงผลเป็นตัวเลขแบบดิจิตอบผ่านจอแบบ LED ในรุ่น

เก่าๆหรือ LCD ในรุ่นใหม่ ต่อผ่านไปยังชุดรีเลย์สวิทย์ เพื่อใช้ตัดต่อไฟที่ผ่านจากแบตเตอร์รี่มายังสวิทย์กุญแจ ทำหน้าที่แทนสวิทย์กุญแจ คือ ตัดต่อ

ไฟที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆภายในรถและเครื่องยนต์ บางรุ่นยังเพิ่มเติม วงจรวัดแรงดันแบตเตอร์รี่ วัดแรงดันอากาศเทอร์โบ วัดความร้อนน้ำ และ อีก

หลายวงจร ที่สามารถเพิ่มเป็นลูกเล่นให้น่าสนใจมากขึ้น
   
การทำงาน

จะทำงานทันที่มีการปิดสวิทย์กุญแจเพื่อดับเครื่องยนต์ วงจร Counter จะทำงานเริ่มนับเวลาถอยหลัง แต่เครื่องยนต์จะคงทำงานต่อไปได้เนื่องจากรี

เลย์สวิทย์ตัดต่อเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่ จนถึงเวลาที่กำหนดวงจรจะตัดการทำงานรีเลย์ วงจรปิดเครื่องยนต์จึงดับ และจะเริ่มทำงานอีกครั้งเมื่อเริ่มเปิด

สวิทย์กุญแจ วงจรรีเลย์ก็จะเชื่อมต่อแบตเตอร์รี่ และสวิทย์กุญแจให้ทำงานตามปกติ

การดับเครื่องอย่างรวดเร็วมีผลอย่างไรบ้าง

ทำให้เทอร์โบพังอย่างรวดเร็วหลายสาเหตุมาจาก

1. ฟิล์มน้ำมันเครื่องบนแกนเทอร์โบ เป็นสาเหตุให้แกนเทอร์โบสึกหรออย่างรวดเร็ว ฟิล์มน้ำมันเครื่อง คือ แผ่นแข็งๆของคราบน้ำมันเครื่องที่มาหล่อ

เลี้ยงแกนเทอร์โบ และบูทแกนเทอร์โบ เพื่อป้องกันการเสียดสี ของแกนเทอร์โบที่หมุนอยู่ในบูทอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ในเทอร์โบแบบบอลแบริ่งก็

ต้องมี เครื่องยนต์ที่ทำงานในรอบสูง แกนเทอร์โบจะมีความร้อนสูงมาก การดับเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว แกนเทอร์โบจะหยุดหมุน ส่วนน้ำมันเครื่องที่มา

หล่อเลี้ยง แกนเทอร์โบก็จะหยุดทำงาน จะคงมีเพียงแต่น้ำมันเครื่องตกค้าง กับแกนเทอร์โบที่ยังร้อนจัดหลายร้อยองศา ก็จะเผาน้ำมันเครื่องตกค้างนั้น

ให้ไหม้อย่างรวดเร็ว เหลือเพียงคราบฟิล์มบางๆ สีเหลืองคล้ำๆติดอยู่รอบแกนเทอร์โบ ฟิล์มของน้ำมันเครื่องที่ว่านี้มีความอันตรายกว่าที่คาด เพราะความ

แข็งของมันขนาดน้องๆ กระดาษทรายแบบละเอียดดีๆนี่เอง ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ ฟิล์มจะมีการสะสมตัวมากขึ้น ก็เหมือนการสะสมกระดาษทรายมาขัด

แกน และบูทให้เกิดอาการสึกหรอ เป็นสาเหตุให้แกน และบูทหลวมรุนเป็นสาเหตุของอาการควันขาว คือ การที่น้ำมันเครื่องเล็ดรอด ไปยังกันหันไอเสีย

และเผาไหม้กับความร้อนท่อไอเสีย หรือถ้าหลวมมากๆใบเทอร์โบจะเกิดอาการแกว่ง ถึงขนาดสีกับโข่งเทอร์โบ ประสิทธิภาพจะตกลงอย่างรวดเร็ว ถึง

ขั้นใบเทอร์โบขาดได้
   
2. ขาดน้ำมันเข้าไปหล่อเลี้ยงเทอร์โบ เวลาที่เครื่องยนต์ยังคงทำงานจะมีน้ำมันเครื่องจากปั้มน้ำมันเครื่อง สูปฉีดไปในชิ้นส่วนต่างๆของเครื่อง และใน

แกนเทอร์โบ แต่ถ้าเราดับเครื่องอย่างรวดเร็ว จะทำให้เครื่องยนต์หยุดทำงาน และปั้มน้ำมันเครื่องก็หยุดทำงานตามไปด้วย เวลานั้นแกนเทอร์โบยังคง

หมุนอยู่ก็จะขาดน้ำมันเครื่องเข้าไปหล่อลื่น แกนเทอร์โบ และบูทจะสึกหรอย่างรวดเร็ว อาจจะมีความสึกหรอเพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้งานหลายร้อย

กิโลเมตร

3. ขาดน้ำหล่อเย็นเข้าไปช่วยลดความร้อน เทอร์โบส่วนมากจะมีน้ำหล่อเย็น จากเครื่องยนต์ต่อวนเข้ามา เพื่อช่วยลดความร้อนของเสื้อเทอร์โบ ในขณะ

ที่เครื่องยนต์ทำงานน้ำหล่อเย็นจะอาศัยการปั้มน้ำมาจากหม้อน้ำ โดยปั้มน้ำ ต่อวนเข้ามายังเสื้อเทอร์โบ การดับเครื่องอย่างรวดเร็วจะทำให้ไม่มีน้ำเข้า

ไปหล่อเย็น ส่งผลความร้อน ของแกนเทอร์โบกลับเพิ่มสูงขึ้น วัสดุที่เป็นโลหะเกิดความร้อนขยายตัวมาก แกนและบูทเทอร์โบก็จะสึกหรออีกเช่นกัน

ป้องกันการแตกร้าวของท่อไอเสีย และโข่งหลัง

ถ้าใครเคยขับเครื่องเทอร์โบอย่างแรงๆ แล้วเกิดปัญหาจนต้องรีบมาเปิดฝาการโปรงหน้าอย่างรวดเร็ว ท่านอาจได้เห็นพระอาทิตย์อีกดวงหนึ่งปรากฎอยู่

ใต้ฝากระโปรงรถคุณ จะสังเกตุเห็นว่าทั้งท่อไอเสียเฮดเดอร์ และโข่งหลังเป็นสีส้มสุกใส เหมือนกับเหล็กถูกเผาไฟ แต่เรารีบดับเครื่องเพื่อช่วยลดความ

ร้อน ผลกับไม่ดี เพราะจริงๆแล้วเหล็กพวกนี้ต้องใช้เวลาอีกสักนิดเพื่อช่วยให้เย็นตัวลง เครื่องที่กำลังติดอยู่ความร้อน จะถูกไอเสียเป่าออกมาช่วยระบาย

ความร้อน ผลเป็นว่าถ้าเราติดเครื่องต่ออีกสักระยะ ท่อไอเสีย และโข่งหลังเทอร์โบจะเย็นตัวเร็วกว่า ช่วยป้องกันการแตกร้าวของท่อเฮดเดอร์ และโข่ง

หลังเทอร์โบ การสตาร์ทเครื่องเดินเบา อีกสักระยะจะช่วยได้
   
เป็นการ Cool Down ให้กับเครื่องยนต์

อย่างที่ทราบเครื่องเทอร์โบ จะทำงานหนักกว่าเครื่องยนต์แบบธรรมดา ความร้อนของเครื่องยนต์ก็สูงกว่า ถ้าเราขับรถมาด้วยความเร็วสูงความร้อน

สะสมในเครื่องยนต์จะสูงมาก ถ้าเราดับเครื่องแบบทันทีเลย จะทำให้เครื่องยนต์หยุดทำงาน ระบบหล่อเย็นและปั้มน้ำหยุดทำงาน พัดลมไฟฟ้าหน้าเครื่อง

หยุดทำงาน ความร้อนเวลานี้อาจจะพุ่งสูงขึ้นแบบไม่รู้ตัว ถ้าท่านใดเคยมีปัญหาความร้อนขึ้น แบบน้ำดันออกหม้อพัก แล้วรีบดับเครื่องจะสังเกตเห็นว่า

น้ำยังคงเดือดต่อไปอีกพักใหญ่ หรือจะเดือดมากไปกว่าเดิม แต่ถ้ายังสตาร์ทเครื่องอยู่ให้พัดลมหน้าทำงาน และหาน้ำมาเทราดที่หม้อน้ำ ผลจะทำให้น้ำ

หยุดเดือดเร็วกว่า อีกส่วนหนึ่งก็คือระบบหมุนเวียนน้ำมันเครื่อง มีผลในการช่วยระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ โดยเฉพาะเครื่องที่มีการเพิ่มออยล์คู

เลอร์ น้ำมันเครื่องจะนำพาความร้อน มาช่วยระบายความร้อน ให้กับเครื่องยนต์ได้อีกด้วย เป็นการช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน ของเครื่องยนต์ และชิ้นส่วน

ต่างๆของเครื่องยนต์ ให้ใช้ได้ยาวนานเพิ่มขึ้น ลดคราบไหม้ของน้ำมันเครื่อง ซึ่งเป็นผลต่อความสกปรก และสิ่งอุดตันในเครื่องยนต์
   
การเลือกซื้อและ ติดตั้ง

ส่วนมากเวลาที่ซื้อเป็นของใหม่มาจากร้านแกะก่อง ต้องมีคู่มือการติดตั้งมาด้วยจะสะดวกในการติดตั้ง ในคู่มือจะบอกตำแหน่ง สีของสายไฟแต่ละเส้น ว่า

จะต้องต่อพ่วงกับสายใดภายในรถ หรือบางรุ่นที่มีอุปกรณ์เพิ่มเติมการมีคู่มือมีโอกาสทำให้เทอร์โบไทม์เมอร์ทำงานได้สมบูรณ์มากกว่า แต่สำหรับท่านที่

ซื้อแบบมือสองตามเชียงกง นอกจากจะเลือกที่ความสวยงามแล้ว ต้องคำนึงถึงว่าไทม์เมอร์รุ่นนี้ มีวิธีการต่ออย่างไร มีอุปกรณ์เสริมหรือที่จำเป็นขาด

หายไปหรือไม่ ปลั๊กต่อต่างๆต้องอยู่ครบ และเพื่อเป็นการดีที่สุดคือเมื่อตัดสินใจซื้อแล้ว ต้องให้ทางร้านต่อให้ดูว่ายังใช้งานได้ เพราะร้านขายมักจะซื้อ

แล้วไม่รับคืน ส่วนมากร้านจะต้องทดสอบแบบลองผิดลองถูก กันมาหลายรุ่นแล้ว จนสามารถเดาได้ว่าสายสีใดควรต่ออย่างไร และจดวิธีการต่อกลับมา

ด้วย การติดตั้งควรหาผู้ชำนาญงานด้านระบบไฟฟ้ารถยนต์ เพราะต้องมีการตัดต่อไฟสวิทย์กุญแจ จุดตัดต่อต้องมีการบัคกรี หรือจั้มหัวล็อคสายไฟให้เป็น

อย่างดี ถ้าสายใดสายหนึ่งเกิดหลุดหลวมอาจส่งผลให้รถสตาร์ไม่ติด หรือขับๆไปเครื่องดับไปเฉยๆ หุ้มชนวนกันช๊อตอย่างดี ก่อนการติดตั้งเองต้อง

ทดสอบเป็นอย่างดีของวงจรว่าถูกต้อง เพราะการต่อสายผิดมักจะทำให้เทอร์โบไทม์เมอร์เสียหายทันที จุดที่ติดตั้งต้องสะดวกต่อการตั้งเวลาการดับ

เครื่องได้ง่าย

ดังนั้นถ้าจะบอกว่าเทอร์โบไทม์เมอร์จำเป็นต้องติดตั้งหรือไม่ ถ้าต้องการความสะดวกสบายแบบซัดๆรถมาปุ๊ปและต้องรีบดับเครื่องมารับแฟนปั๊ป ก็คง

ต้องมีติดเอาไว้บ้าง แต่ท่านที่ใจไม่ร้อนรอให้เครื่องเย็นก่อนก็เป็นผลดี อย่างน้อยก็ยังได้มีโอกาสได้ฟังเสียงผิดปกติ ของเครื่องยนต์เอาไว้บ้าง บางท่าน

อาศัยการผ่อนคันเร่งให้เครื่องเบาลงก่อนจะถึงที่หมายก็เป็นผลดีมาก หรือทำตัวเป็นเทอร์โบไทม์เมอร์ คำนวณการ Cool Drown ของเครื่องยนต์และ

เทอร์โบของคุณเสียเองเลย เพราะตัวคุณเองที่จะรู้ว่านิสัยการขับขี่ กับเครื่องยนต์จะอยู่ไปได้ด้วยกันอีกนานแค่ไหน