ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือคนใช้แก๊ส ตอนที่ 1 ไฟไหม้เพราะแบ็คไฟร์ Back Fire  (อ่าน 2500 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
คู่มือคนใช้แก๊ส ตอนที่ 1 ไฟไหม้เพราะแบ็คไฟร์ Back Fire

มีสมาชิกหลายท่าน แวะเวียนมาถามว่า “ เดี๋ยวนี้เห็นข่าวไฟไหม้รถแก๊สบ่อยขึ้น รถแก๊สเนี่ย ไฟไหม้ได้ง่ายๆเลยหรือ” สำหรับผม ไฟไหม้น่ะ มันเกิดได้ตั้งหลายสาเหตุ ส่วนมากมักจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร (ไฟช๊อต) แต่สำหรับรถแก๊ส การเกิดแบ็คไฟร์ ถือเป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้รถไฟไหม้ เช่นแบบว่าสตาร์ทเครื่องดีๆก็มีเสียงดัง “ปุ๊ก” บางคนบอกว่าก็เป็นแบบนี้ประจำหละ แต่คราวนี้กลับมีควันลอยตามมาด้วย แป๊ปเดียวไฟไหม้ และแบบที่น่ากลัวที่สุด เช่นขับรถอยู่ดีๆ มีเสียงดัง “ปุ๊ก” เครื่องดับ สตาร์ทเท่าไหร่ก็ไม่ติด ยิ่งสตาร์ท ยิ่งเหยียบคันเร่ง สรุปแก๊สท่วม เครื่องไม่ติดก็ สลับแก๊ส – น้ำมัน – แก๊ส ทำทุกอย่างอยากให้เครื่องติด เสียงดังปุ๊กแรงๆ อีกครั้ง พร้อมมีควันโพยพุ่งออกมาจากฝากระโปรงหน้ารถ แบบนี้แหละครับที่เขาเรียกว่า “ไฟไหม้เพราะแบ็คไฟร์” ในบทความตอนที่ 1 (ไฟไหม้เพราะแบ็คไฟร์) พวกเราเหล่าสมาชิก Thaispeedcar ที่ใช้แก๊ส เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า แบ็คไฟร์ นั้นคืออะไร ไม่น่ากลัวแบบแค่เครื่องตดใส่จริงหรือไม่ และจะป้องกันได้อย่างไร

การติดไฟ เกิดขึ้นจาก ปริมาณส่วนผสม (แก๊ส + อากาศ) ในท่อไอดี ถูกเครื่องยนต์ดูดผ่านวาล์วไอดี เข้าสู่กระบอกสูบ แต่ด้วยปริมาณความหนาแน่นซึ่งต่ำเกินไป (แก๊สน้อย + อากาศมาก] หรือการชิงจุดระเบิดด้วยปัจจัยใดอย่างหนึ่ง ก็จะทำให้ส่วนผสมลุกติดไฟได้เอง ก่อนที่หัวเทียนจะจุดประกายไฟ และก่อนที่วาว์ลไอดี จะปิดสนิทลง จึงทำให้ เปลวไฟลุกไหม้ ย้อนกลับออกจากห้องเผาไหม้ (ในเครื่องยนต์) ลุกลามมายังส่วนผสมระหว่าง แก๊สกับอากาศ ที่บรรจุอยู่เต็มท่อร่วมไอดี ออกมาเป็นเปลวเพลิงลุกไหม้ในท่อร่วมไอดี และถ้ามีการเหยียบคันเร่ง (เป็นปกติที่คนเรา พอสตาร์ทเครื่องไม่ติด หรือเครื่องดับ มักจะต้อง เหยียบคันเร่งไป สตาร์ทไป) ลิ้นปีกผีเสื้อจะเปิดอ้าออก ซึ่งนั่นจะเป็นโอกาสให้ เปลวเพลิง วิ่งหาบริเวณ ที่มีปริมาณออกซิเจนมากกว่าภายนอก นั่นก็คือบริเวณหม้อ กรองอากาศ ซ้ำร้ายใส้กรองอากาศส่วนมาก มักจะทำด้วยกระดาษ ซึ่งลุกติดไฟได้ง่าย และหม้อกรองอากาศที่มักทำด้วยพลาสติก เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ไฟจึงมีโอกาสลุกลามได้อย่างรวดเร็ว ส่วนระยะเวลาการเผาไหม้ ขึ้นอยู่กับปริมาณแก๊ส มากหรือน้อย

แบ็คไฟร์ เกิดขึ้นได้อย่างไร
สาเหตุของการแบ็คไฟ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นได้ตั่งแต่
1.ปรับส่วนผสมของแก๊ส และน้ำมัน ไว้ไม่เหมาะสม หรือบางเกินไป
2.แก๊สใกล้หมด แต่ยังฝืนขับต่อ
3.หม้อต้มชำรุด จ่ายแก๊สได้ไม่เพียงพอ
4.หัวเทียนหมดอายุ หรือตั้งเขี้ยวหัวเทียนห่างเกินไป
5.ตั้งไฟอ่อนเกินไป
6.สายหัวเทียนชำรุด
7.ฝากะลา และหัวนกกระจอก สึกหรอมากเกินไป
8.เครื่องยนต์เริ่มหลวม และมีเขม่าสะสมในห้องเผาไหม้มาก
9.การสลับจากน้ำมันเป็นแก๊ส หรือแก๊สกลับเป็นน้ำมัน
10.เครื่องยนต์ที่มีปัญหา ระบบวาล์วรั่ว (เกิดขึ้นง่ายๆสำหรับรถใช้แก๊ส)

จะป้องกันไฟไหม้ จากการเกิดแบ็คไฟร์ ได้อย่างไร
1. เปลี่ยนเป็นระบบแก๊สหัวฉีด ระบบนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันการติดไฟ ซึ่งเกิดจากการแบ็คไฟร์ ได้อย่างแน่นอนที่สุด เนื่องด้วยการใช้หัวฉีดแก๊ส เป็นการลดการปริมาณแก๊สที่สะสมอยู่ในท่อร่วมไอดี ซึ่งถ้าเครืองยนต์เกิดการแบ็คไฟร์ บริมาณแก๊สจะน้อยมาก จนติดไฟได้นิดเดียว ก่อนที่เครื่องจะดับ และกล่องคอมพิวเตอร์ จ่ายแก๊สจะตัดการทำงาน

หัวฉีดแก๊ส เป็นอุปกรณ์ที่ราคาค่อนข้างสูง ราวๆ 15000 – 20000 บาท จึงทำให้ได้รับความนิยมน้อย แต่เป็นอุปกรณ์ที่ลดการเกิดไฟไหม้ ซึ่งเกิดจากแบ็ึคไฟร์ ได้ดีที่สุด และติดตั้งกับเครื่องยนต์ที่เป็นระบบหัวฉีดเท่านั้น (เครื่องคาบูไม่สามารถติดตั้งได้) แม้ต้องแลกกับค่าบำรุงรักษาสูง แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยง และยังได้ความประหยัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. ใส่ตัวกันแบ็คไฟร์ หรือตัวกันจาม ตัวกันแบ็คไฟร์ หรือตัวกันจาม อุปกรณ์ตัวนี้ไม่ได้ช่วยให้ไม่เกิดแบ็คไฟร์ แต่เป็นลดแรงดันจากการแบ็คไฟร์ เป็นแนวคิดแบบง่ายๆ ในการช่วยระบายส่วนผสมที่ลุกไหม้ติดไฟ หลังเกิดการแบ็คไฟร์แล้ว ส่วนผสมที่ลุกไหม้ จะเกิดแรงกดันสูง ตัวกันแบ็คไฟร์ จะยกตัวขึ้นเพื่อระบายแรงดัน ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาการติดไฟ ที่ยาวนาน ลดลง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ได้

อุปกรณ์ตัวนี้ราคาแสนถูก ราวๆ 100 -150 บาท ซึ่ง ผมนำมาทดสอบ กับรถที่เกิดการแบ็คไฟร์บ่อยๆ หลายครั้ง ทราบว่า สามารถลดการติดไฟ ได้จริง แต่การติดตั้งต้องอยู่ที่คอไอดี หรือหลังลิ้นปีกผีเสื้อเท่านั้น ส่วนการติดตั้งตัวกันแบ็คไฟร์ แถวๆหม้อกรองอากาศ หรือท่ออากาศนั้น ถือว่าไม่ช่วยป้องกันไฟไหม้ได้เลย

3. ใช้กรองเปลือยแบบแสตนเลส กรองอากาศแบบนี้ ไม่ได้ช่วยลดการเกิดแบ็คไฟร์ แต่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้ได้มาก ด้วยการเกิดแบ็คไฟร์ ส่วนมาก ไฟมักจะไหม้ จากใส้กรองอากาศแบบกระดาษที่อยู่ภายในหม้อกรองอากาศขึ้นมากก่อน แล้วลุกลามไหม้หม้อกรองพลาสติก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ถ้าไม่มีการดับเพลิง หรืออุปกรณ์ดับเพลิง ไฟจะไหม้ลุกลามไปยังอุปกรณ์รถยนต์ใกล้ๆ ที่เป็นพลาสติก และสายไฟ และถ้าเกิดการลุกไหม้สายไฟรถยนต์เมื่อไหร่ ไฟฟ้าก็จะเกิดการลัดวงจรด้วยแรงขับของแบตเตอร์รี่ สายไฟจะลุกไหม้ต่อย่างรวดเร็ว และดับได้ยาก จนกว่าจะยกขั้วแบตเตอร์รี่ หรือไฟจากแบตเตอร์รี่หมด ซึ่งคงช้าเกินไป เมื่อทราบว่า สายไฟได้ลุกไหม้จากห้องเครื่อง เข้าไปยังในห้องโดยสาร จนถึงฝากระโปรงท้ายรถเสียแล้ว การดับไฟแบบนี้อาจจะทำไม่ได้เลย

กรองเปลือย และท่ออากาสแบบเหล็กหรือ แสตนเลส เป็นการลงทุนราวๆ 1500 -2000 บาท แต่จากที่ผมทดสอบกับรถที่เกิดการลุกไหม้กับใส้กรองอากาศแบบกระดาษหลายครั้ง ทราบว่า ลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ได้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการติดตั้ง และการเลือกบริเวณที่จะติดตั้งหม้อกรองอากาศ ซึ่งต้องควรห่างจาก เชื้อเพลิง และสายไฟให้มากที่สุด อุปกรณ์ตัวนี้ อาจจะไม่ค่อยมีผลดีกับเครื่องมากเท่าไหร่ เพราะดักจับฝุ่นได้น้อย เครื่องอาจหลวมเร็วขึ้นบ้าง และยังก่อให้เกิดเสียงดัง แต่ก็คุ้มค่าในการลดความเสี่ยง

5. เปลี่ยนหัวเทียนอย่างดี หัวเทียน ถือเป็นจุดอ่อนที่สุด ของรถที่ใช้แก๊ส ด้วยอุณหภูมิการเผาไหม้ ที่สูงกว่า น้ำมัน หัวเทียนของรถที่ใช้แก๊ส จะสึกหรออย่างรวดเร็ว หัวเทียนที่สึกหรอ มาก หรือเขี้ยวหัวเทียนเริ่มห่างมากขึ้น จะส่งผลให้ ประกายไฟจุดระเบิด เกิดความล่าช้า จนส่งผลให้ แก๊สกับ อากาศ เกิดการสันดาปด้วยตัวเองเสียก่อน เรียกว่าการชิงจุดระเบิด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแบล็คไฟร์ได้ง่ายขึ้น

การเปลี่ยนหัวเทียนอย่างดี ตัวอย่างเช่น หัวเทียนเขี้ยวแบบ Platinum หรือ หัวเทียนพวก Iridium หรือ G-power ราคาต่อหัวก็ตั้งแต่ 120 - 450 บาท แบบนี้จะทำให้ อายุการใช้งานของหัวเทียนยาวนานขึ้น จุดระเบิดดีขึ้น แรงขึ้น แถมยังลดความเสียงได้อีกด้วย

หัวเทียนอย่างดีจะจุดระเบิดได้ถูกต้องแม่นยำ และทนทานต่อความร้อนมากกว่า

6.ดูแลอุปกรณ์แก๊สอย่างสม่ำเสมออุปกรณ์ที่สำคัญ ของระบบแก๊ส ที่จะเสี่ยงทำให้เกิดการ แบ็คไฟร์ ได้แก่
1. หม้อต้ม หม้อต้มอย่างดี มีอายุการใช้งานมากที่สุด ไม่เกิน 2 ปี ก่อนที่ผ้าหม้อต้มจะเริ่มหย่อนยาน สังเกตง่ายๆว่า เครื่องจะเริ่มอืด เดินเบาไม่นิ่ง เครื่องดับ หรือ ต้องปรับจูนหม้อต้มบ่อยๆ อาการนี้หม้อต้มจะเริ่มจ่ายแก๊สน้อยลง ส่วนหม้อต้มราคาถูก บางตัวอายุการใช้งานไม่ถึงปี หรือ เพี่ยงไม่กี่เดือน ก็มีอาการผ้าหย่อน และตามมาด้วยอาการหม้อต้มรั่ว ซึ่งแก๊สอาจจะรั่วอย่างรุนแรงมาก แบบไอแก๊สพุ่งเป็นควันเลยก็มี

2. มิกเซอร์ มิกเซอร์แบบวาริเอเบิล (variable mixer) มิกเซอร์แบบนี้จะอาศัย ไดอะแฟรม เป็นตัวควบคุมการจ่ายแก๊ส ถ้าแผ่นไดอะแฟรม เริ่มหย่อน จะจ่ายปริมาณแก๊สผิดเพี้ยนทันที ส่วนมิกเซอร์ แบบธรรมดา ต้องคอยสังเกตจุดติดตั้ง ว่าเกิดการหลุดคลอนหรือปล่าว ซึ่งจะมีผลต่อการจ่ายแก๊สที่ผิดเพี้ยน

3. ท่ออากาศ ท่ออากาศต่างๆ เริ่มตั่งแต่ ท่ออากาศที่ต่อจาก หม้อกรองอากาศเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ มิกซอร์บางตัวฝังอยู่ในท่อนี้ ท่อถ้าเกิดแตก หรือเหล็กรัดคลายตัว อากาศจะเกิดการรั่ว ทำให้มิกเซอร์จ่ายแก๊สบางลงได้ รวมถึงท่ออากาศรอบๆเครื่องยนต์ สายลมหม้อลมเบรก ท่อไอน้ำมันเครื่อง สายแว็คกรั้มต่างๆ ท่อพวกนี้ถ้าเกิดการรั่ว ขาด หรือหลุดออก เครื่องจะดูดอากาศเข้าจุดที่รั่วมาก ทำให้ส่วนผสมเริ่มบางลง เสี่ยงต่อการแบ็คไฟร์

4. วาว์ลปรัปกลาง หรือ แลมด้าอุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่ ในการควบคุมปริมาณการจ่ายแก๊สโดยตรง เพื่อให้ส่วนผสมมีความพอดีในทุกๆรอบเครื่องยนต์ ควรตรวจเช็ความแน่หนา ท่อยางต่างๆ ไม่ควรบิดงอ หรือฟีบ แบนลง จะมีผลต่อการจ่ายแก๊สทันที รวมถึงการปรับส่วนผสมเอง แบบขาดความเข้าใจ หรือต้องการความประหยัดเพิ่มขึ้น จะทำให้แก๊สบาง เสี่ยงต่อการแบล็คไฟร์เพิ่มขึ้น ส่วนวาล์วปรับแก๊สแบบมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ Lamda Control อุปกรณ์ตัวนี้มีอายุการใช้งาน ถ้ารถเริ่มมีอาการสตาร์ทติดยาก หรืออัตราเร่งลดง ควรเข้าอู่เพื่อรีบตรวจเช็คทันที

ถ้าเกิดการแบ็คไฟร์แล้วควรทำอย่างไร
1.แบ็คไฟร์ ตั่งแต่เริ่มสตาร์ทถ้าเกิดการแบ็คไฟร์ ในขณะเริ่มสตาร์ทครั้งแรก ส่วนมากมักเกิดจาก ระบบออโต้ ที่สตาร์ทด้วยน้ำมัน ในขณะที่ยังมีแก๊สค้างจากการใช้งานครั้งก่อน (แก๊สค้างท่อ) หรือมีอุปกรณ์แก๊ส หรือเครื่องยนต์เริ่มชำรุด จึงส่งสัญญาณเตือนด้วยการ แบ็คไฟร์ขึ้น
แนะนำให้รีบเปิดฝากระโปรงรถขึ้นดู ว่ามีควันไฟ เกิดขึ้นบริเวณหม้อกรองอากาศหรือไม่ ถ้าไม่มี ให้รอสักระยะก่อนที่จะสตาร์เครื่องอีกครั้ง ถ้าเครื่องไม่ติด หรือเกิดการแบ็คไฟร์ อีกครั้ง ให้ยกเลิกการสตาร์ทครั้งต่อไป ได้เลย เพราะปริมาณแก๊สจะสะสมมากขึ้น การแบ็คซ้อนกัน 2 ครั้ง เป็นอาการบอกได้ว่า เครื่องยนต์หรือ ระบบแก๊สมีปัญหา เครื่องยนต์บางตัวเช่น รถยุึโรป อย่าง BENZ ,BMW ,Volvo หรือ Mitsubishi และเครื่องยนต์ไดเร็คคอยล์บางรุ่น อาจจะมีการแบ็คไฟร์ในขณะเริ่มสตาร์ทเกือบทุกครั้ง เรียกได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการไฟไหม้สูง ให้เปลี่ยนเป็นระบบหัวฉีด , ใส่ตัวกันแบ็คไฟร์ หรือยกเลิกการใช้แก๊สจะปลอดภัยกว่า

2. แบ็คไฟร์ขณะเปลี่ยนจากน้ำมัน เป็นแก๊ส เกิดขึ้นกับระบบออโต้เสียเป็นส่วนมาก ระบบจะเปลี่ยนจากน้ำมัน เป็นแก๊ส ตามรอบเครื่องที่กำหนดไว้โดยช่างที่ติดตั้ง เกิดได้จาก รอบเครื่องที่เปลี่ยนเป็นแก๊สต่ำเกินไป , อุปกรณ์ระบบแก๊สเริ่มมีปัญหา , ระบบเครื่องยนต์มีปัญหา การแบ็คไฟร์ในขณะเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส มักจะมีความรุนแรงมาก เสียงดังมาก เพราะปริมาณแก๊สขณะแบ็คไฟร์ มีปริมาณมาก จึงเสี่ยงต่อการติดไฟมาก
แนะนำให้รีบจอดรถ แล้วเปิดฝากระโปรงขึ้นทันที ถ้ามีควันไฟให้รีบดับไฟ ถ้าไม่มี ให้ตรวจดูอุปกรณ์ให้ห้องเครื่อง และอุปกรณ์แก๊สทุกตัว พร้อมสำรวจกลิ่นแก๊ส ถ้ามีกลิ่นแก๊สฉุน ให้ยกเลิกการสตาร์ทต่อไปทันที และสำรวจกลิ่นฉุนแก๊สว่ารั่วมาจากที่ใด ถ้ามีกลิ่นแก๊สรุนแรงมาก ให้รีบดับสวิทย์กุญแจ ห้ามยุ่งกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด แม้แต่ยกขั้วแบตเตอร์รี่ และออกห่างรถยนต์สักระยะ

3. แบ็คไฟร์ในขณะขับขี่ปกติ มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ขับใช้งานอยู่ปกติ เช่นขับๆไป เกิดเสียงดับ ปุ๊ก เครื่องไม่ดับขับได้ต่อ แบบนี้มักจะเกิดจากการปรับส่วนผสมบางเกินไป แต่ถ้าขับๆไปแล้วกเกิดเสียงแบ็คไฟร์ ค่อนข้างดัง เครื่องดับ
แนะนำ ให้รีบจอดรถข้างทาง เปิดฝากระโปรงขึ้นดู รอสักระยะให้แก๊สเกิดการระเหยตัว แล้วลองสตาร์ทใหม่ ถ้าเครื่องไม่ติดอาจจะพยามสตาร์ท 2 – 3 ครั้ง ไม่แนะนำให้เหยีบคันเร่งไป สตาร์ทไป เพราะแก๊สจะท่วม สตาร์ทติดยากขึ้น หรือเปลี่ยนจากระบบแก๊ส เป็นน้ำมัน หรือระบบน้ำมัน เป็นแก๊ส สลับไปมา แบบพยามจะให้เครื่องยนต์ติด การทำแบบนี้ถือเป็นความเสียงสูงสุด และเป็นปัญหาสูงสุดที่รถเกิดเพลิงไหม้ในปัจจุบัน ติดตามต่อในตอนที่ 2 ไฟไหม้เพราะแก๊สรั่ว