ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องยาง เรื่องใหญ่…กูรูแห่งวงการรถยนต์ร่วมตอบทุกปัญหาคาใจเรื่องยาง  (อ่าน 2327 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
เรื่องยาง เรื่องใหญ่…กูรูแห่งวงการรถยนต์ร่วมตอบทุกปัญหาคาใจเรื่องยาง



ในสภาวะที่อากาศในบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อย การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่สุขภาพของตัวท่านเท่านั้น หากท่านคือผู้ใช้รถใช้ถนน ท่านก็ยังต้องหมั่นใส่ใจตรวจสภาพรถยนต์ของตนเองอีกด้วย หากรถยนต์ของท่านไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้จากสภาพอากาศที่แปรปรวนนี้ได้

เรื่องยาง เรื่องใหญ่...กูรูแห่งวงการรถยนต์ร่วมตอบทุกปัญหาคาใจเรื่องยาง รูปที่ 1

ใน การตรวจสอบสุขภาพของรถยนต์นั้น นอกจากผู้ขับขี่จะตรวจสอบระบบการทำงานต่างๆ ของรถยนต์ อาทิ ระบบเบรค ที่ปัดน้ำฝน และระบบไฟต่างๆ แล้ว อีกส่วนประกอบหนึ่งของรถยนต์ที่ผู้ขับขี่ต่างให้ความสำคัญ ก็คือยางรถยนต์ เพราะเจ้าของรถทุกคนตระหนักดีว่า ยางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพดี จะยิ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น

คุณวีระพงษ์ พุ่มผกา บรรณาธิการ ผู้ดำเนินรายการวิทยุ มอเตอร์ เรดิโอ เอฟเอ็ม 101 ให้คำแนะนำแก่ผู้ขับขี่ ถึงวิธีการดูแลรักษายางรถยนต์ว่า ผู้ขับขี่ควรหมั่นตรวจสอบลมยางอย่างสม่ำเสมอ โดยเติมลมยางให้อยู่ในระดับตามที่ผู้ผลิตกำหนด และเมื่อต้องขับรถในขณะฝนตก ก็ไม่ควรขับรถเร็วมาก และหลีกเลี่ยงการเบรคกระทันหัน

“นอก จากนี้ ผู้ขับขี่ ยังควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้งานในสภาพถนนไม่เอื้ออำนวย และควรมีการสลับยางรถยนต์ทุกๆ 6 เดือน ซึ่งสามารถทำได้โดยสลับจากหน้าซ้ายไปหลังขวา หลังขวาไปหน้าขวา หน้าขวาไปหลังซ้าย แล้วหลังซ้ายไปหน้าซ้าย ขึ้นกับความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ยางมีการสึกหรอเท่าๆ กัน หรือใกล้เคียง นอกจากนี้ เราควรดูแลรักษาสภาพของระบบรองรับน้ำหนักหรือช่วงล่างไปพร้อมๆกัน เพราะหากมุมของล้อผิดเพี้ยนไป หรือช่วงล่างเสียหาย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทำให้ยางสึกไม่เท่ากันได้ และเป็นต้นเหตุทำให้ยางเสียหายเร็วขึ้นได้” คุณวีระพงษ์ กล่าว

คุณสมศักดิ์ เชาว์รังสรร บรรณาธิการและผู้ดำเนินรายการวิทยุในเครือออโต้มีเดีย ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงรถยนต์มากว่า 25 ปี เสริมว่า นอกจากการดูแลสภาพยางรถยนต์แล้ว ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงพฤติกรรมการขับขี่ของตน ที่อาจมีผลทำให้ยางเสื่อมสภาพ และส่งผลต่อสมรรถนะของยางในระยะยาวได้

“การ ที่ผู้ขับขี่ไม่ดูแลเรื่องแรงดันของลมยาง มีการใช้ยางที่เกินกว่าสภาพยางที่ถูกผลิตขึ้นมา หรือจอดรถเบียด หรือชนกับขอบฟุตบาททำให้โครงสร้างยางบิด-หัก-งออยู่เสมอ อีกทั้งยังขาดการตรวจสอบร่องรอยจากวัตถุแหลมคมที่ติดมากับยาง หรือเลือกซื้อยางชนิดที่ต่ำกว่าสภาพการใช้งานจริง ก็จะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วก่อนกำหนดได้” คุณสมศักดิ์ เผย

หากยางรถยนต์มีการใช้งานจนเสื่อมสมรรถภาพ จนมีความจำเป็นที่จะต้องซื้อยางใหม่ คุณถิรพร เนาว์ถิ่นสุข นัก ทดสอบรถ เจ้าของนิตยสาร ออน เดอะ โรด ก็ได้ให้คำแนะนำที่น่าสนใจเอาไว้ว่า นอกจากปัจจัยเรื่องราคาแล้ว ผู้ขับขี่ยังควรคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของตนด้วย

“ใน การเลือกซื้อยางนั้น ผู้ใช้รถคงต้องพิจารณาก่อนว่าต้องการยางที่ให้ความนุ่มเงียบนิ่มนวล หรือต้องการเน้นการยึดเกาะถนนในแบบรถสปอร์ต อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับภูมิประเทศ โดยดูว่ารถที่เราใช้นั้น ใช้งานในเมืองบนถนนหลวงอย่างเดียว หรือว่าวิ่งนอกถนนหลวงบ่อยๆ ต้องขนของหนักอยู่เสมอหรือไม่ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อความต้องการของยางที่แตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นเงินในกระเป๋า เพราะยางดีๆราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าแลกกับคุณสมบัติเด่นต่างๆ และความปลอดภัยเวลาเดินทางก็คุ้มค่า” คุณถิรพร กล่าว

คุณถิรพร ยังเผย ต่อไปว่า เวลาผู้ขับขี่ปรึกษาเรื่องการเลือกซื้อยาง คำถามที่มักได้ยินบ่อยได้แก่คำถามเรื่องอายุของยาง ว่าแท้ที่จริงแล้ว ควรเริ่มนับอายุยางเมื่อไร และจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่ายางหมดอายุแล้ว ในเรื่องนี้ คุณถิรพร อธิบายว่า “หลาย คนอาจจะคิดว่าอายุของยาง จะเริ่มนับจากวันที่ออกมาจากโรงงานไปอีก 3-5 ปี คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะตราบใดยางยังไม่ลงพื้นหรือประกอบใส่กับล้อ ยางก็ไม่กลับบ้านเก่าไปง่ายๆ อย่างไรก็ตาม หากกำหนดอายุการใช้งานเป็นกิโลเมตร ก็คงประมาณ 50,000-70,000 กม. แต่ทั้งนี้ ก็ควรสังเกตเนื้อยางและดอกยาง ไปจนถึงคุณสมบัติในการเกาะถนนว่าแตกต่างจากเดิมหรือเปล่า”

คุณวีระพงษ์ เสริมว่า ผู้ ขับขี่สามารถตรวจสอบเรื่องการเสื่อมสภาพของยางได้ด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากการตรวจสอบโดยเครื่องวัดระยะแล้ว ผู้ขับขี่รถยนต์ทั่วไป สามารถสังเกตด้วยตัวเองได้ โดยดูจากลักษณะของยาง หากยางสึกไม่เท่ากัน แก้มยางสึกเป็นช่วงๆ ก็ควรรีบแก้ไข

“แต่บางครั้ง เราก็ไม่สามารถสังเกตยางที่เสื่อมสภาพได้ด้วยตาเปล่า เพราะยางรถบางคันมีสภาพดีเยี่ยม ทั้งๆ ที่ใช้งานมาแล้วกว่า 30,000-40,000 กิโลเมตร แต่เมื่อลองขับขี่จริง ประสิทธิภาพในการเกาะถนนกลับลดลงอย่างมาก ซึ่งเมื่อลองออกตัวแรงๆ จนล้อฟรี แล้วสังเกตเห็นว่า รอยยางมีเศษยางร่วงหลุดมาเป็นบั้งๆ ก็แสดงว่ายางหมดสภาพแน่นอน” คุณถิรพร เผย

ขณะที่ คุณสมศักดิ์ กล่าวว่า  “เรา ยังสามารถตรวจสอบสภาพยางรถยนต์ของเรา ได้โดยการพิจารณาพฤติกรรมการใช้ยางของตนเอง และยังสามารถดูได้จากร่องรอยการสึกหรอ เมื่อเทียบกับสะพานยางที่ผู้ผลิตออกมาไว้ช่วยการสังเกต รวมไปถึงการดูจากระยะเบรคที่เพิ่มขึ้น การที่เริ่มมีเสียงดังขณะเลี้ยวในองศาสูง หรือขณะกลับรถ หรือเมื่อมีร่องรอยการแตกลายที่ผิวยาง หรือดอกยาง และยางมีการรั่วซึมบ่อยๆ เป็นต้น”

เมื่อ รู้อย่างนี้แล้ว แม้ว่าจะผ่านสภาวะอากาศที่มีทั้งแดดร้อน พายุฝนและลมหนาว ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกท่านก็คงอุ่นใจว่าจะได้รับความปลอดภัยในการขับขี่ จากการดูแลสภาพรถยนต์ และสมรรถนะยางรถยนต์ให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ อย่าลืมตรวจเช็คสภาพรถยนต์และยาง ก่อนเดินทางนะคะ

ที่มา www.mthai.com