ผู้เขียน หัวข้อ: โคม Project และไฟ Xenon  (อ่าน 2793 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
โคม Project และไฟ Xenon
« เมื่อ: ธันวาคม 20, 2013, 05:44:30 AM »
หลังจากเห็นพวกรถใส่ซีนอนในโคมเดิมเต็มท้องถนน ส่วนใหญ่ชอบใส่ 8000K-10000K เพื่อให้แสงมันขาวๆ แสบตาคันอื่นๆ โดยมักจะคิดว่าสวย ว่าเทห์ โดดเด่นในถนน เป็นความคิดผิดๆทั้งนั้น เพราะมันจะแยงตาชาวบ้านไปทั่วเมือง เจอที่ไรก็ต้องด่ากันจนเบื่อ ประมาณว่าเหมือนเจอแก็งค์เด็กแว๊นแหละครับ ป่วนเมืองไปหมด ส่วนตัวแล้วผมจะมองว่าเป็นการเอาเงินไปทิ้งโดยไม่ได้ประโยชน์ เราควรศึกษาก่อนเลยว่าของที่จะใส่ มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร  เลยต้องหาข้อมูลมาแชร์ซะหน่อยครับ เพื่อให้เพื่อนๆรุ่นต่อๆไปที่คิดจะใส่ ไม่หลงเข้าไปเป็นเหยื่ออีกครับ 

เรื่องคือ โคมเดิมๆติดรถหนะมันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสะท้องแสงแรงๆแบบซีนอน ซึ่งเมื่อใส่ไปแล้ว มันก็ฟุ้งเข้าตาชาวบ้านไปหมด ไม่ต้องไปฟังร้านค้าครับ พวกนี้ เกือบจะ 100 ทั้งร้อยต้องการขายของอย่างเดียว ไฟซีนอนในโคมเดิมๆ ไม่มีวิธีไหนทำให้มันไม่ฟุ้งหรอกครับ เพราะมันคุมแสงไม่ได้ จะอ้างว่ามีหมวกมาครอบ นั่นก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย เพราะแสงมันสะท้อนจาก reflex รอบๆอยู่ดี

สิ่งนึงที่จะมาคุมแสงแรงๆของซีนอนได้ ก็ต้องเป็นของที่ออกแบบคู่กันมา คือเลนส์ Projector ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมแสงไม่ให้ฟุ้งกระจายครับ 

ตอนผมเองก็กำลังหาข้อมูลศึกษาเรื่องโคม Project อยู่ เพราะว่ากำลังจะไปใส่เป็นชิ้นต่อไป เลยข้อมูลที่ไปอ่านๆมา มาแชร์ครับ เพราะเห็นเพื่อนๆหลายคนเริ่มเห็นความสำคัญของ Projector มากขึ้น เพื่อที่จะใส่ซีนอนได้โดยไม่เป็นภาระให้สังคมแบบที่เห็นกันทั่วท้องถนน 

ปัญหาของ Xenon ที่คนไทยชอบใส่กันคือเอาสวย เอาเด่นกันอย่างเดียว แค่คิดว่ามันเทห์ (เป็นค่านิยมผิดๆ) โดยไม่ได้ศึกษาดูก่อนว่าโคมไฟติดรถแบบเดิมนั้นเหมาะสมหรือไม่ ใส่แล้วแยงตาคันอื่นๆหรือไม่ ตัวร้านค้าเองก็แข่งกันประโคมสรรพคุณให้คนเข้าไปใส่กันเป็นแฟชั่น ค้าขายไม่มีจรรยาบรรณ เน้นแต่จะเอาเงิน ซีนอนมันถึงเกลื่อนเมืองแบบนี้ครับ จะอ้างว่าเพื่อความสว่าง สว่างมากๆจะได้ปลอดภัยก็ใช่ที่ เพราะไฟหน้าเดิมๆมันก็สว่างพอใช้งานอยู่แล้ว คนก็ใช้กันได้ทั้งโลก และที่เห็นส่วนใหญ่ก็ใส่ K สูงๆกันทั้งนั้น เน้นแสงขาว-ฟ้า โดดเด่นแยงตาไปทั่ว โดยไม่ได้ศึกษาอะไรเลยว่า K ยิ่งเยอะแสงยิ่งแย่ (ถ้าจะบอกว่าใส่ ซีนอนเพราะอยากให้สว่างมันคงจะไม่จริงมั้ง)

การออกแบบโคม Halogen การกระจายแสงไม่เหมาะกับไฟแบบ Xenon ซึ่งมีความสว่างและฟุ้งกระจายมากกว่าหลอดใส้แบบเดิมมากๆ แต่ถ้าโคมไฟหน้าออกแบบมาให้กับหลอดแบบ Xenon เช่นโคมโปรเจคเตอร์ เห็นได้จากรถรุ่นใหม่ๆ ที่ออกแบบโคมมาโดยเฉพาะ จะใช้งานเหมาะสมกว่าและไม่แยงตาชาวบ้านครับ

เมื่อต้องการใส่ Projector กันแล้ว ก็ต้องศึกษาอีกหน่อยครับ

แบ่งตามประเภทก็จะมี 2 แบบคือ

1. Single Xenon Projector คือจะมีแต่ไฟต่ำ ซึ่งชุดพวกนี้มักจะมีไฟสูงเป็น Halogen ต่างหาก (ตัวอย่างเช่น F50 Valcan จาก Nisan Cima)
2. Bi-Xenon ตัวนี้จะมีทั้งไฟสูงและไฟต่ำในตัว โดนมี Shutter ทำหน้าที่เปิดและปิดให้เป็นไฟสูงและต่ำ ถ้าจะใส่ Projector ก็ควรใส่แบบ Bi-Xenon ไปเลยนะครับ

โดยปกติแล้วไฟหน้าแบบซีนอนทั่วไปที่คุ้นเคยกันจะทำหน้าที่เฉพาะในส่วนของไฟต่ำ (Low Beam) เท่านั้น เห็นได้จากรถไม่ว่ารุ่นใดที่ใช้ไฟหน้าแบบซีนอน โคมไฟหน้ามักจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ โดยแยกเป็นไฟต่ำและไฟสูง เฉพาะไฟต่ำเท่านั้นที่เป็นแบบซีนอน ส่วนไฟสูงยังคงเป็นฮาโลเจนตามปกติ เหตุผลก็เพราะไฟซีนอนแม้ว่าจะให้ความสว่างที่มากกว่า แต่ต้องอาศัยเวลามากกว่าเช่นกันจึงจะให้ความสว่างได้เต็มที่เมื่อเทียบกับหลอดฮาโลเจน ซึ่งในกรณีที่คนขับต้องการใช้ไฟสูงในทันที เช่น ไฟขอทาง (Dip Beam) ปกติแล้วเพียงแค่ดึงก้านควบคุมเข้าหาตัวก็จะเป็นการเปิดไฟสูงโดยอัตโนมัติ กรณีนี้หลอดฮาโลเจนจะให้ความสว่างได้รวดเร็วกว่าหากใช้ไฟแบบซีนอนจะต้องใช้เวลาประมาณ 15 วินาทีเพื่อรอให้แสงที่ออกมามีความสว่างเต็มที่ จึงไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัยหากจะใช้เป็นไฟ Dip Beam ในตอนกลางวัน แต่เมื่อขับในตอนกลางคืน โดยเฉพาะบนถนนที่เปลี่ยวและแสงน้อยหลายครั้งที่จำเป็นต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลา

โดยปกติแล้วไฟหน้าแบบซีนอนทั่วไปที่คุ้นเคยกันจะทำหน้าที่เฉพาะในส่วนของไฟต่ำ (Low Beam) เท่านั้น เห็นได้จากรถไม่ว่ารุ่นใดที่ใช้ไฟหน้าแบบซีนอน โคมไฟหน้ามักจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ โดยแยกเป็นไฟต่ำและไฟสูง เฉพาะไฟต่ำเท่านั้นที่เป็นแบบซีนอน ส่วนไฟสูงยังคงเป็นฮาโลเจนตามปกติ เหตุผลก็เพราะไฟซีนอนแม้ว่าจะให้ความสว่างที่มากกว่า แต่ต้องอาศัยเวลามากกว่าเช่นกันจึงจะให้ความสว่างได้เต็มที่เมื่อเทียบกับหลอดฮาโลเจน ซึ่งในกรณีที่คนขับต้องการใช้ไฟสูงในทันที เช่น ไฟขอทาง (Dip Beam) ปกติแล้วเพียงแค่ดึงก้านควบคุมเข้าหาตัวก็จะเป็นการเปิดไฟสูงโดยอัตโนมัติ กรณีนี้หลอดฮาโลเจนจะให้ความสว่างได้รวดเร็วกว่าหากใช้ไฟแบบซีนอนจะต้องใช้เวลาประมาณ 15 วินาทีเพื่อรอให้แสงที่ออกมามีความสว่างเต็มที่ จึงไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัยหากจะใช้เป็นไฟ Dip Beam ในตอนกลางวัน แต่เมื่อขับในตอนกลางคืน โดยเฉพาะบนถนนที่เปลี่ยวและแสงน้อยหลายครั้งที่จำเป็นต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลา

ซึ่งลำพังแสงของหลอดฮาโลเจนอาจให้ความสว่างไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน (Bi-xenon) เมื่อได้ยินว่าเป็นไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไฟซีนอนคู่ 2 ดวงในโคมเดียวกัน เพราะชุดไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนยังคงใช้หลอดไฟสูงแบบอาโลเจนขนาด 55 วัตต์ควบคู่ไปด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็น Dip Beam ตามปกติ ต่อเมื่อต้องการเปิดไฟสูงค้างไว้ในขณะเปิดไฟหน้า (ซึ่งรถส่วนใหญ่ใช้วิธีดันก้านควบคุมไฟข้างหน้า) คราวนี้จึงจะเห็นความแตกต่างของคำว่า "ไบ-ซีนอน" ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนทำงานบนพื้นฐานของไฟซีนอนตามปกติ โดยจะใช้การสะท้อนของแสงคอยปรับการทำงานให้เป็นทั้งไฟสูงค้างไว้ จะมีชิ้นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนเป็น "ชัตเตอร์" เพื่อควบคุมการกระจายของแสงไฟซีนอน โดยชัตเตอร์จะขยับตัวขึ้น-ลงเพื่อให้แสงที่ออกมาเป็นไฟต่ำและไฟสูงตามต้องการ ดังนั้น ในสภาพการใช้งานจริง ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนนี้จึงนับว่าเป็นการนำข้อดีของไฟซีนอนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งความรวดเร็วของชัตเตอร์ในการเปลี่ยนจากไฟต่ำเป็นไฟสูง และความสว่างที่กว้างไกลกว่าเมื่อลำแสงถูกปรับให้เป็นไฟสูงจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มระยะการมองเห็นทางเบื้องหน้าที่ชัดเจนกว่าปกติมาก

ปัจจุบันไฟหน้าไบ-ซีนอนได้พัฒนาเป็นเจเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่งเพิ่มระบบปรับความสูงของแสงโดยอัตโนมัติ (Dynamic Headlamp Leveller) และระบบทำความสะอาดไฟหน้ามาให้พร้อม ด้วยความสว่างที่มากกว่าหลอดฮาโลเจน จึงจำเป็นต้องควบคุมแสงของไฟไม่ให้ทำลายทัศนวิสัยของรถที่สวนมา ระบบปรับความสูงของไฟหน้าอัตโนมัติจึงถูกติดตั้งมาให้สำหรับรถที่ใช้ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน ซึ่งระบบนี้จะคอยควบคุมองศาของแสงไฟในแนวดิ่งไม่ให้สูงเกินไป โดยอาศัยสัญญาณจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้ง อยู่ในชุดช่วงล่างที่จะคอยจับอาการยุบหรือยกตัว เช่น การออกตัว เบรก หรือขณะบรรทุกหนัก เพื่อปรับให้แสงของไฟหน้าอยู่ที่ระดับที่เหมาะสมตลอดเวลา แม้จะขับอยู่ในทางขรุขระก็ยังสามารถรักษา ระดับของไฟหน้าด้วยการส่งสัญญาณที่ไวถึง 1 ส่วน 1,000 วินาที ในรถยนต์ราคาสูงหลายรุ่น เซ็นเซอร์ของระบบปรับความสูงของไฟหน้าอัตโนมัติ และจะรับสัญญาณจากเครื่องยนต์และระบบเบรกด้วย นอกเหนือจากระบบกันสะเทือนเพียงอย่างเดียว
เพื่อการทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น เมื่อมีการเร่งเครื่องทันทีทันใดจะทำให้ตัวรถมีอาการหน้าเชิดขึ้น หรือการเบรกกะทันหันก็จะทำให้รถมีอาการหน้าทิ่มลงนั่นเอง สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งช่วงล่างแบบถุงลมที่ปรับความสูงตัวถุงได้องศาของไฟหน้าก็ยังสามารถปรับตัวเองให้ต่ำลงเมื่อรถอยู่นาระดับสูงสุด แม้ขณะจอดนิ่ง เป็นการรักษาระดับของไฟหน้าไม่ให้สูงขึ้นจนแยงตารถคันอื่น 

ถ้าแบ่งประเภทของ Xenon ที่มีขายในท้องตลาด ก็จะมี 2 แบบ คือ แบบเกรดโรงงาน และแบบชุด Kit ที่มักจำทำมาจาก จีน ไต้หวัน เกาหลี

แบบ HID KIT (ก็ไอ้ที่ใส่แยงตากันเกลื่อนเมืองนั่นแหละครับ)

เมื่อกล่าวถึงชุดไฟซีนอนหลายคนคงนึกถึงไฟซีนอนประเภท Plug & Play คือชุดที่นำมาใส่ในโคมเดิมประเภทต่างๆแล้วใช้งานได้เลย ซึ่งไฟซีน่อนประเภทนี้เป็นแบบชุด KIT ที่ผลิตมาให้ใช้ สำหรับโคมฮาโลเจนเดิม เช่น H4,H7,H11,HB4 คือขั้วหลอดของ Halogen ครับ (H4 คือ Halogen ประเภท 4) คือใช้หลอด Halogen ใส่ครับ แต่ทางจีนหรือไต้หวัน ก็ทำชุด HID เพื่อให้ใส่กับ ขั้วหลอด Halogen ได้ พวก After Market มักจะเน้นผลิตเอาปริมาณ คุณภาพไม่สูง เพราะประชาชนในจีนมีอยู่ 1,000 ล้านคน ขายได้สัก 1% ก็รวยแล้ว อาศัยโมษณาหน่อย คนไม่รู้ก็แห่กันไปซื้อครับ พอใช้ไปก็เจอปัญหาครับ ไม่จบ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ และความทนทาน

สำหรับชุด HID KIT ที่มีจำหน่ายกันทั่วไปนั้น มักจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังนี้ 

1) ชุดบัลลาส( HID Ballast) 
2) หลอดซีน่อน( HID Bulb )
3) ชุดสายไฟ( Wire Harness )

ซึ่งจะขาดชุดอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ชุดโปรเจคเตอร์( HID Projector ) ซึ่งการที่ไม่มีตัวโปรเจคเตอร์ตัวนี้จะทำให้ แสงที่ได้จากชุด HID KIT นันมีแต่ความสว่างเพิ่มขึ้นเพียง อย่างเดียว แสงที่ได้จะไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อทำ การติดตั้งชุด HID KIT ฐานของชุดหลอดซีน่อนนั้นจะถูกออกแบบให้ใส่กับชุดขั้วหลอดฮาโลเจนเดิม และชุดกะเปาะ( HID Capsule) ในหลอดซี น่อนนั้นจะไม่ตรงกับตำแหน่งเดิมของ ชุดหลอดฮาโลเจนเดิมซึ่งเป็นเหตุให้โคมไฟของคุณจะมีความสว่างขึ้น แต่ความแม่นยของแสงจะแย่ลง ประมาณ 50 % ของแสง ที่กระจายออก มาจะถูกสะท้อนขึ้นไปในอากาศ

มาดูเรื่องตัวโคม Projector ถ้าแบ่งตามประเภทของ Projector ที่มีขายในท้องตลาด ก็จะมี 2 แบบ คือ

1. โคม Projector OEM เป็นเกรดโรงงาน -> Retrofit

ตัวนี้เป็นการเอาโคม Projector ของรถโรงงานเลยเช่นของ Benz, BMW, Lexus  คือซื้อโคมมายกชุด แล้วเอามาแกะเอาตัว Projector ออกมาใส่รถเรา แบบนี้จะมาทั้งชุด ทั้ง Projector และชุด Xenon  พวกนี้เอามาแปลงใส่รถเราได้ เรียกกันว่า “Retrofit” ข้อดีคือ จะได้เกรทมาตราฐานโรงงาน อายุยืนนาน  ทนทาน เพราะเรายกมาทั้ง Set เลยทั้งตัว Projector และชุดซีนอนเกรดโรงงาน กลุ่มที่เป็นซีนอนของโรงงาน ขั้วหลอดจะต้องเป็นพวก D1S,D2S,D4S พวกนี้คือหลอด ซีน่อนแท้ มาจากโรงงานครับ ใช้กับตัว Projector ของโรงงาน ตัวอย่าง D2S  D คือ Discharge คือลักษณะการทำงานของหลอดที่ต้องใช้การ Discharge ไฟเข้าไปที่ตัวหลอดครับ, 2 คือ Generation ที่ 2, S คือ Shield ครับ ถ้าเป็น HID ของแท้ ต้องใช้หลอด D1S, D1R, D2S, D2R, D3S, D3R, D4S, D4R เท่านั้นครับ ถ้าเป็นพวก H4, H7, HB4 ของปลอมทั้งนั้นครับ (ไม่ใช่มาตราฐานโรงงาน) ตัว OEM Projector ออกมามาตามมาตราฐานของ ผู้ผลิตรถยนต์ ที่จะต้องส่งออกไปประเทศต่างๆ เช่นถ้าส่งไปอเมริกา ก็ต้องผ่านมาตราฐานของ DOT (Department Of Transportation) ที่อเมริกา เรื่องของการควบคุม และความเข้มของแสงที่ออกมา ถ้าส่งไปขายในยุโรปก็ต้องผ่าน ECE ซึ่งเป็นมาตราฐานของ กลุ่ม EU ตัว OEM Projector ใช้วัสดุและอุปกรณ์ ที่มีคุณภาพสูงกว่า เพราะจะต้องออกแบบให้มีความคงทน และ ใช้งานได้นาน ตามอายุรถคันนั้นๆ เลย จะต้องมีการทดสอบ Endurance ของตัว Projector ด้วยครับ




2. โคม Projector แบบ Conversion Kit

ชุด Kit ที่มักจำทำมาจาก จีน ไต้หวัน เกาหลี ตัวนี้คือแบบที่ขายๆกันตามร้านทั่วไปที่เห็นกันมากมายเวลานี้ เป็น Projector สำเร็จรูป ที่ทำออกมาแล้วมาแปลงใส่ในโคมเดิมๆ + หลอดไฟซีนอน ซึ่งเป็นชุด Kit เหมือนกัน (พวกขั้วที่เป็น H4, H7, H11 ทั้งหลายแหล่) ระบบทำไฟสูงก็มีกลายแบบ ทั้งแบบ Slide หลอด ทั้งมอร์เตอร์เปิดปิด Shutter ความคงทนก็ตามคุณภาพครับ ร้านที่รับทำส่วนใหญ่ประกันแค่ 6 เดือน เพราะอะไรก็น่าจะเข้าใจนะครับ ราคาเองก็มิใช่เล่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ตัว Projector  F50 Valcan (ไฟปืนกล) ที่ขายกันอยู่ น่าจะทำมาจากจีนหรือไต้หวันครับ หาใช่ของโรงงานแท้ๆจาก Nissan Cima หรือ INFINITI Q45

ปัจจุบันมีชุดคิต HID วางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่หลายยี่ห้อ จากหลายตัวแทนจำหน่าย และในหลายระดับราคา ไล่ตั้งแต่แถวๆ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 2 หมื่นกว่าบาท คำถามคือ "แล้วจะเลือกอย่างไหนดีล่ะ อย่างถูกหรืออย่างแพง แล้วยี่ห้อไหนดี" สถานการณ์บังคับให้ผมต้องเข้าเน็ต สถานที่ที่หลายคนบอกว่าคือห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ จนกระทั่งได้พบกับสัจธรรม "เดิมๆน่ะ ดีอยู่แล้ว"

ทำไม??? ก็เพราะ

1.ค่า K ที่เขาใช้โฆษณา เช่น 7000K หรือ 12000K นั้น ไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกถึงความสว่าง แต่เป็นค่าที่ใช้บอกเฉดสีของแสง

2.ความสว่างมีหน่วยเป็นลูเมนส์ (lm) แต่ค่า K หรือเคลวิน เป็นหน่วยของอุณหภูมิสี (Color Temperature)

3.ค่า K ของ HID จะแปรผกผันกับความสว่าง

4.HID ที่สว่างที่สุดคือ 4100K ซึ่งเป็น OEM ของรถทั่วโลก โดยมีค่าความสว่างอยู่ที่ 3200 ลูเมนส์

5.HID 5800K จะสว่างแค่ 2400 ลูเมนส์

6.HID 8000K จะสว่างเพียง 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน 100 วัตต์

7.HID 12000K จะมีค่าความสว่างต่ำกว่า 2000 ลูเมนส์ (ผมเดาเอาว่าอยู่แถวๆฮาโลเจน 100 วัตต์นั่นแหละ ซึ่งเป็นที่มาของหัวเรื่อง)

8.HID 12000K-30000K จะเป็นแสงสีม่วง ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อแสง "อุลตร้าไวโอเลต" (Ultra Violet) หรือ "แบล็คไลท์" (Black Light) (คิดดูสิว่ามันจะมองเห็นอะไรมั้ย)

9.HID 12000K แม้จะมีความสว่างเท่ากับหลอดฮาโลเจน หรือใกล้เคียง แต่มีข้อเสียมากกว่าคือ แสงฟุ้งกว่า ซึ่งเป็นธรรมชาติของแสงสีน้ำเงิน/ม่วง ทำให้ยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ นอกจากนี้แสงสีน้ำเงิน/ม่วงของ HID 12000K ยังทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งมองวัตถุ เช่น ถนน มากกว่าปกติด้วย ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายและเร็วกว่า

10.โคมรถ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับไฟ HID ดังนั้นถ้าเอาชุด HID ใส่เข้าไป จะทำให้แสงฟุ้งยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมาได้ ปรับระดับโคมอย่างไรก็ไม่หาย เนื่องจากจุดกำเนิดแสงเปลี่ยนไป (บางยี่ห้อก็ไม่เพี้ยน) อันเป็นผลจากหลอด HID ที่มีดีไซน์ต่างไปจากหลอดฮาโลเจน

ต่อไปนี้คือข้อมูลโดยสังเขปที่ผมได้ไปอ่านมา ซึ่งผู้สนใจสามารถอ่านฉบับเต็มได้ (ภาษาอังกฤษ) ที่ และ www.tbyrnemotorsports.com/hids/hids.html และ www.intellexual.net/hid.html

HID (High Intensity Discharge) คือเทคโนโลยีไฟส่องสว่างที่ต่างไปจากระบบฮาโลเจนปกติ แสงของหลอดฮาโลเจนจะเกิดจากการเปล่งแสงของขดลวดความต้านทาน ขณะที่แสงของ HID จะเกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้วิ่งผ่านก๊าซซีนอน คล้ายกับการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ การสปาร์คครั้งแรกจะใช้แรงดันไฟสูงถึง 25,000 โวลต์ ก่อนจะลดระดับลงมาเป็นไฟเลี้ยงที่ 35 วัตต์ 12 โวลต์

ข้อดีของ OEM HID 4100K คือ

1.กินไฟต่ำกว่าฮาโลเจน 3 เท่า (HID = 35 วัตต์, halogen = 55-100 วัตต์)

2.สว่างกว่าฮาโลเจน 4 เท่า (HID = 2400-3200 ลูเมนส์, halogen = 800-1700 ลูเมนส์)

3.มีความเข้มของแสงสูงกว่าฮาโลเจน 10 เท่า (HID = 202,500 แรงเทียน, halogen = 21,000 แรงเทียน)

4.อายุใช้งานนานกว่าฮาโลเจน 6 เท่า (HID = 2500 ชั่วโมง, halogen = 400 ชั่วโมง)

5.มีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตต่ำกว่าฮาโลเจน ทั้งนี้อินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตา ทั้งของผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมทาง

6.อุณหภูมิสีของ HID เป็นระดับที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติมากที่สุด และทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนที่สุด

7.หลอดฮาโลเจนที่มีอุณหภูมิสีระหว่าง 2300K-4000K จะมีความสว่างน้อยกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา เพราะใช้ฟิลเตอร์ในการเปลี่ยนสีของแสง

8.แสงของ HID จะไปได้ไกลกว่า กว้างกว่า และมีแพ็ตเทิร์นของแสงที่ชัดเจนกว่า

ฟิลิปส์ (Philips) และออสแรม (Osram) คือ 2 ซัพพลายเออร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผลิต HID ส่งให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั้งค่ายยุโรปและค่ายญี่ปุ่น โดย HID ของฟิลิปส์และออสแรมจะมีอายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 2000-2500 ชั่วโมง และมีอุณหภูมิสีอยู่ระหว่าง 4100K-5800K ซึ่งจะให้แสงใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด ส่วนอุณหภูมิสีที่สูงกว่านี้จะออกโทนฟ้า น้ำเงิน และม่วง ตามลำดับ

ภาพแสดงอุณหภูมิสี

ทั้งฟิลิปส์และออสแรมไม่มีรายใดที่ผลิตหลอด HID ที่มีอุณหภูมิสีเกิน 6000K ดังนั้นหากพบชุดคิตที่มีอุณหภูมิสีสูงเกิน 6000K และบอกว่าเป็นฟิลิปส์หรือออสแรมทั้งชุดแล้ว สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลอม เพราะส่วนใหญ่ที่เห็นจะเข้าลักษณะว่า เฉพาะบัลลาสต์เท่านั้นที่เป็นของฟิลิปส์ แต่หลอดเป็นยี่ห้ออื่น

คุณกำลังเข้าใจผิด

ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตชุดคิต HID 7000K, 8000K ไปจนถึง 12000K ออกจำหน่าย หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหลอดซีนอน 7000K-12000K สว่างกว่า, คุ้มกว่า และประสิทธิภาพสูงกว่าหลอด OEM 4100K ความจริงคือ อุณหภูมิสี (เคลวิน; K) จะแปรผกผันกับความสว่าง (ลูเมนส์; lm) นัยหนึ่งคือถ้าค่า K สูงขึ้น ความสว่างจะน้อยลง

ตัวอย่างเช่น หลอด Philips OEM D2S 4100K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 3200 ลูเมนส์ ส่วนหลอด Philips Ultinon D2S 5800K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 2400 ลูเมนส์ ขณะที่บริษัทวิชั่น (Vision) ประเทศเกาหลี ระบุว่า หลอด 8000K ของวิชั่นจะมีความสว่างที่ 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน (เดาว่าน่าจะเป็น 100 วัตต์) และ 800 ลูเมนส์ (หลอดฮาโลเจน 55 วัตต์)

ยิ่งกว่านั้น อุณหภูมิสีที่สูงยังฟุ้ง (Glare) เข้าตาผู้ร่วมทาง และทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายกว่าด้วย ทั้งนี้การวิจัยของบริษัทในเยอรมนี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการะบุว่าอุณหภูมิสีที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด มองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุด และทำให้เกิดความเมื่อยล้าทางสายตาน้อยที่สุดคือ 4100K

สำหรับรถยุโรป เช่น Benz, BMW และ Audi ถ้ามองผ่านๆจะเห็นว่าไฟหน้า HID ของรถทั้ง 3 ยี่ห้อเป็นสีม่วง ทั้งๆที่ความจริงแล้วทั้งหมดใช้หลอด 4100K นั่นเป็นผลจากส่วนประกอบของโคมไฟหน้า ไม่ว่าจะเป็นตัวโปรเจกเตอร์ เลนส์ โคมสะท้อนแสง หรือแผ่นชิลด์ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกับแก้วปริซึม

เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีพลังงานสูงสุดและไปได้ไกลที่สุดเทียบกับ แสงสีอื่น ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าแสงสีม่วงหรือน้ำเงินที่ออกมาจากโคมไฟหน้า ของรถ BMW นั้น จะออกมาเฉพาะตรงขอบด้านข้างหรือด้านบน/ล่างเท่านั้น พื้นที่ตรงกลางยังคงเป็นแสงสีขาวปกติ

การใช้ HID สีน้ำเงินหรือม่วงไม่เพียงแค่ทำให้สมรรถนะของระบบไฟหน้าลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายกับผู้ร่วมทางด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถสวนมา เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีการกระจายตัวสูง บุคลิกของมันจึงชอบแพร่กระจายออกไปทางด้านข้างมากกว่าจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ผลก็คือเกิดการฟุ้งของแสงออกนอกแพ็ตเทิร์นที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบไว้ และยอนเข้าตาของผู้ที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรุนแรงได้

ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะที่เรียกว่าการฟุ้งของแสงหรือ Glare มีไฟตัดหมอกดวงเดียวที่ใช้หลอดฮาโลเจน นอกนั้นใช้หลอด HID 8000K หลอดฮาโลเจนไม่ฟุ้ง แต่หลอด HID ฟุ้ง

แสงสีน้ำเงินยังทำให้ทุกอย่างบนถนนเป็นสีน้ำเงินตามไปด้วย แถมความสว่างก็อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้องเพ่งและใช้สายตามากกว่าปกติ นัยหนึ่งคือสายตาจะล้าเร็วและง่ายกว่า เทียบกับแสงจากหลอดฮาโลเจน
ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงระบุให้ใช้แสงสีแดงในการส่องดูแผนที่หรือตารางต่างๆในตอนกลางคืน มากกว่าจะใช้แสงสีอื่น เพราะแสงสีแดงจะตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงิน ไม่เบิร์นสายตา ทำให้ไม่ต้องปรับสายตามากนักเวลาที่อ่านแผนที่เสร็จแล้วกลับไปมองผ่านความ มืดอีกครั้ง ตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงินที่จะทำให้ตาคุณบอดไปชั่วขณะหนึ่ง

นอกจากนี้แสงสีฟ้าหรือม่วงยังมีความเข้มของแสงต่ำกว่าแสงสีขาว เพราะแสงสีขาวเป็นแสงที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลืองในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความเข้มกว่าแสงสีใดสีหนึ่งอยู่แล้ว

HID 8000K แสดงให้เห็นการฟุ้งของแสง ไม่สามารถควบคุมได้ สังเกตจากเส้นตัด (Cut Off) ที่ไม่ชัดเจนระหว่างส่วนสว่างกับส่วนมืด

HID 4100K เส้นตัดจะชัดเจน แสงไม่ฟุ้ง



Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
Re: โคม Project และไฟ Xenon
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2013, 05:48:06 AM »
อธิบายเรื่องหลอดไฟZENON  ที่คุณซื้อมาหลอดล่ะ100กว่าบาท เนี้ย ที่จิงแล้วคือ"หลอด ฮาโดรเจน"ครับ
หลอดฮาโดรเจน เนี้ยมันจะร้อนกว่าหลอด H3,H4 แบบปกติที่ใช้กัน ถ้าใช้ไปนานๆโดยไม่มีดีเลย์ จะมีอาการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ส่วน หลอดZENON ของแท้ ราคาหลักหมื่น ขึ้นไป จะมีความร้อนน้อยกว่าหลอกปกติ ในการติดตั้ง จะต้องมีกล่องรีเลย์โดยเฉพาะของหลอดZENONติดตั้งไว้ด้วย
ส่วนความสว่าง หลอดZENON จะสว่างกว่ามากครับว่ากันที่10000kเลยทีเดียว

ที่ว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด ซึ่งอันตรายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เพราะ

1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)

 เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar
 พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย

2. แกสในหลอด xenon เป็นแกสเฉื่อยชื่อ xenon (ถามเพื่อนๆที่เรียนเคมี จะรู้จักกันทุกคน) และมีแกสอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! (แรงดัน สูงกว่าไฟที่อาร์คที่ขั้วหัวเทียนเสียอีก) เพราะแกสหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแกสในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้
 ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า)กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
 แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
 เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

 การทำงานทุกอย่างที่ีว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที

 กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

 exclaim exclaim exclaim คำเตือน คำเตือน คำเตือน exclaim exclaim exclaim

แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก (200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar
 อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี
 ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอด(ที่ใช้ในรถยนต์)มีขนาดใหญ่มากไม่ได้
 หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน (ไฟแสงจันทร์ ไฟโซเดียม ฯลฯ)

 หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

 หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี
 และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

4. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
 K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K
 เสมือนร้อนกี่ K นะ
 ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

5. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ

  หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย

  หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K
  xenon ของ BMW/MB (frost ice) มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

 หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

 พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

6. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
 หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

 หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี (มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
 ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)

 ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

7. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

 สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง

 หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว)
 ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

 หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ
 การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
 ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ
 ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
 นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

 การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
 โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า
 อันตรายไหมหละ? sad sad

8. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย
 ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน
 ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาด
 หรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท)

 หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแกสเฉื่อย ไว้เล็กน้อย
 เพื่อให้เกิด Halide cycle (กรุณาหาอ่านจาก google) ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน ไม่เกิดขึ้น

 แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!

 หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง

 เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง (ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?)

 เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
 เพราะอะไร?

 ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป

 แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
 V = IR
 ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R
 เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

 แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

 หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?

 ถ้าใครเคยหลอดไฟหน้าขาดคู่พร้อมกัน ตอนขับที่ 90 กม/ชม. ... คุณจะขนหัวลุกยิ่งกว่าโดนผีหลอก exclaim
 ถ้าไม่กลายเป็นผีไปเสียก่อน ...