ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ก่อนแต่ง ดีกว่าแต่งแล้วบอกไม่รู้  (อ่าน 2055 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mor

  • Type3
  • ***
  • กระทู้: 384
  • คะแนนพิษสวาท +1/-1
รู้ก่อนแต่ง ดีกว่าแต่งแล้วบอกไม่รู้
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2014, 04:48:42 AM »
ที่มา : http://www.thoentoday.com

ข้อมูลดีๆ ที่คนชอบแต่งรถควรอ่านก่อนตัดสินใจแต่งรถ รวมจากกรมขนส่ง
ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน


                                                                ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนที่ผิดกฏหมาย
 
1. ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ   ระบุโทษ
    ไม่เกิน 2,000 บาท
 
 
2. การติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น–แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจก
    หน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
 
 
3. การติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
 
 
4. การติดป้ายปลอม ( ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย  ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ   เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับหรือ
    ส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล  โดยระบุโทษไว้ที่ 100,000 บาท
 
 
5. หมายเลขป้ายไม่ตรงกับป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถ  เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ  เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐานเพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่
    ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั้งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้าน
 
 
โหลดเตี้ยๆ หรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด

 
        ในพระราชบัญญัติรถยนต์  พ.ศ.2522  ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้   ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร   ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด  แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน
 
 
ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือเปล่า

 
        ในพระราชบัญญัติรถยนต์ ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตรแต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน   แต่รถสูงมาก  มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ   และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ให้เป็นที่เรียบร้อย   แต่ถ้าไม่สูงมาก  แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ  ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ  ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่  ถ้าเสี่ยงผิดทันที
 
 
ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
 
        ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อ  และขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ   ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20  หรือจะ 22 ไม่ผิด แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมาก ๆ ข้างละหลาย ๆ นิ้ว    เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ   อาจจะสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น( เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว )  ก็ถือว่าผิดได้   หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ   ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน
 
 
ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
 
        การตีโป่งซุ้มล้อ หรือที่เรียกกันว่า Wide Body  ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร   แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ  หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน   ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา  ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก   เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียนว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่  โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถและฐานล้อ   ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพและต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก  ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดี   แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม
 
 
ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน

 
        เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด   แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ   หรือสีอื่นที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ
          โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้   เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ  เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด  แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน ( การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคคล ) 
         แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง  ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก    ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี  ( ทูโทน )  กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน  ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
 
 เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด

 
        จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ  หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น ( ยกเว้นรถพ่วง  รถโดยสารขนาดใหญ่ ) ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที  ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อ   ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่ารถยนต์ที่เกิน 7 ปี  ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ
        เพื่อตรวจวัดระดับเสียงที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล ( การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร )  สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ 3/4 รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด    และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง   คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่   แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริงก็
ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
 ไฟหน้าหลายสี

     ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอนยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงอนุญาตให้ติด ได้  เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบไม่น้อยกว่า 2 องศา   และต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน  สวนเรื่องสีของแต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง 2 สีเท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อนและสีขาว   ถ้าเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว  มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
 
        ส่วนไฟหยุด ( ไฟเบรก ) ต้องเป็นสีแดง  ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน  ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตรการเปลี่ยนโคมไฟเป็นโคมสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก  ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่านถ้าผิดปรับ2,000 บาท
 
 
ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่  ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด

 

        โคมไฟสปอร์ทไลท์ หมายถึง โคมไฟแสงพุ่งไกลแบบกระจายวงกว้างแบบนี้ห้ามติดโดยเด็ดขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
 
        ไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536   อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (  เท่ากับ2 ดวง )  ในระดับแนวเดียวกัน  ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร  ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน 55 วัตต์  ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่า แนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา  หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
 
        ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่  เช่น มีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก   มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมา   ในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท   รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง  หรือกรอบป้ายทะเบียน   ก็เป็นสิ่งต้องห้ามผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท   
 
 
ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร

           ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นรถยนต์ประเภท ไหน( รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3 ) ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ ( 2 เพลา )
         ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่ ใบรับรองวิศวกรนำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง   ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก  ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน   มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต
 
 
เปลี่ยนดิสเบรกหลัง  ใส่หลังคาซันลู๊ป  ผิดจริงหรือ
 
         การเปลี่ยนหลังคาซันรูป  ส่วนมากต้องมีการดัดแปลง เช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ  แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด 
           ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก  เป็นดิสเบรกหลัง  เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็
มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน  ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน
 
 
ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือเปล่า
 
        กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนดเรื่องของจำนวนที่นั่ง   มาตราวัดความเร็ว   และไฟห้องโดยสารเท่านั้น   ส่วนการตีโรลบาร์นั้น ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด   แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์  จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน   ถือว่าผิดรวมถึงความแน่นหนา ( เช่นเอามือจับแล้วโยกได้ )  ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ  ( เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร )   ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน   แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด  ข้อหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคง แข็งแรงของตัวรถ
 
ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม

 
        ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง ( กระจกมองหลัง )  และเครื่องส่องหลังภายนอก ( กระจกมองข้าง ) อย่างน้อย 1 อันซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ  ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง  ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมายแต่ถ้าไม่มีกระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง   หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพพบว่า มีเครื่องส่องหลังจริง  แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน ก็จะถือว่าผิดต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน
 
 
เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือเปล่า
 
        เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่  และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริง ๆ แล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย  ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบุจำนวนผู้โดยสาร  เบาะแต่ง  หรือเบาะไฟเบอร์    ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด  แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง   ถอดเหลือตัวเดียว   หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษ    แบบนี้จะถือว่าผิด ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนดมาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุด แม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน  แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาดแบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจร
 
ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่

 
          การขยายซีซี  เพิ่มความจุ  ถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ One Make Race  ถือว่าผิด  สั่งถอนการแข่งขัน แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด  หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก 
          จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่ เท่านั้น ถ้าเลขเครื่องถูก  ถือว่าไม่ผิด  จะขยายความจุ  เปลี่ยนลูกยืดข้อ  เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด โมกล่องจนได้500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด  เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปลอดภัย 
          แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
   
        โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
     
        1. รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536  ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
        2. รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พค 2536  ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM
   
         ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล ไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่   แต่งปั้มเพียงใด   มาตรฐานการวัดควันดำ จะต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง   และ 45 เปอร์เซ็นต์  ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง  ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี จะต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ  ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร  ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย