ผู้เขียน หัวข้อ: “แตร” มีแล้ว ใช้ให้เป็น...ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย  (อ่าน 2183 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Far

  • บุคคลทั่วไป
“แตร” มีแล้ว ใช้ให้เป็น...ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย

 เป็นเรื่องที่ปลกมากในบ้านเรา เมื่อพูดถึงสิ่งใกล้ ตัวอย่างแตรรถยนต์  เมื่อหลายคนกลับเมินที่จะใช้งานมัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไร ทั้งรู้สึกว่าการใช้แตรไม่ใช่มารยาทที่ดีตามนิสัยคนไทยดังเดิม หรือ แล้วว่าการบีบจะไป กร่นด่าชาวบ้านชาวช่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วแตรไม่ใช่ขิงที่ผิดกฎหมาย และยังเป็นตัวช่วยลดอุบัติแหตุอย่างดีไม่น่าเชื่อ

                เราหลายคนอาจจะละเลยที่จะใช้มันทั้งๆที่อยู่ตรงหน้า และใช้สิ่งอื่นเพื่อเตือนผู้ขับขี่แทน อย่างการยกไฟสูง เพื่อบ่งบอกว่าให้ไปและไม่ให้ไป ด้วยความเข้าใจว่า “แตร” เป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรใช้ ไม่ถึงที่สุดก็ไม่ควรบีบ แต่ในแง่หนึ่งการเตือนด้วยเสี่ยงกลับให้ผลที่ดีกว่าในการป้องกันอุบัติเหตุ เพียงแต่ เราอาจจะจำเป้นพต้องเรียนรู้การใช้งาน เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าเราเป็นผู้ที่ขับรถอย่างก้าวร้าว จากการใช้แตรบ่อย

                ที่จริงตั้งแต่แตรเริ่มติดตั้งในรถยนต์เป็นมาตรฐานในปี 1910 ที่เบอร์มิงแฮม,ประเทศอังกฤษ แตรเป็นเสียงที่ถูกทำให้รับรู้ในการขอทาง ทั้งยังลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จนแม้แต่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันอุบัติเหตุขั้นสูงในปัจจุบัน  ยังยอมรับว่าการใช้แตรอย่างถูกวิธี ทำให้ผู้ขับขี่เลี่ยงอุบัติเหตุได้ดีกว่าการใช้ระบบชั้นสูงที่พวกเขาคิดค้นมา และ ในด้านการขับขี่ปลอดภัย ก็ยังมองด้วยว่า แตรเป็นการป้องกันที่ดี และไม่ได้เสียมารยาทแต่อย่างใด

                ในประเทศอังกฤษ เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งกระทู้ถามตำรวจแบบโง่ๆ ในเว็บ askth.police.uk ว่า “ ผมจะสามารถใช้แตรได้เมื่อไร” และสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตอบกลับมาก็ยอมรับว่า การแตรช่วยป้องกันภยันตรายที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุจริง ที่สำคัญไม่ได้ระบุว่า คุณเป็นคนไร้มารยาทในการขับขี่

                ความเข้าใจผิดของคนในบ้านเรา ที่ถูกปลูกฝังให้ใช้แตรน้อยที่สุด เท่าที่ทำได้ นับเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์อย่างยิ่ง ด้วยแตรมีความสามารถมากกว่าที่เราหลายคนอาจจะคาดคิด ทั้งช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันและลดอุบัติเหตุ รวมถึงยังทำให้ การขับขี่เป็นระเบียบมากขึ้นเพียงแต่เราต้องรู้วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

    อย่าใช้แตรที่ผิดกฎหมาย แตรรถยนต์ก็มีกฎข้อบังคับในการติดตั้ง ที่จริงอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์ทุกคันที่ออกมาจากผู้ผลิตต่างได้รับการตรวจสอบแล้วว่าตรงตามกฎหมายกำหนด ดังนั้น เราจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงแตรให้ดังขึ้นหากไม่จำเป็น หรือ ถ้าจะเปลี่ยนควรจะศึกษาให้ดีก่อนเปลี่ยน
    รู้จักการใช้งาน  การบีบแตรมองดูก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่การใช้ให้ถูกหลักถูกวิธีจริงกลับเป็นเรื่องยากกว่าที่คิด เพรา แตรนอกจากจะเป็นการส่งเสียงแล้ว ยังเป็นการสื่ออารมณ์ผู้ขับขี่ เหมือนๆ กับคุณตั้งสถานะให้ตัวเองไปด้วยพร้อมกัน
        รู้จักสามคำ “เตือน-ว่า-ด่า” เมื่อคุณจะใช้แตรโดยมากเราจะใช้แตรในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือการกระทำของผู้ที่เราบีบแตรอาจจะเป็นอันตราย ทั้งต่อผู้ขับขี่คนอื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเอง ดังนั้น การใช้แตร จึงมักอยู่ภายใต้ สามคำที่เราบอก “เตือน-ว่า-ด่า” แต่คนไทยด้วยความเรามีน้ำอดน้ำทนสูง การบีบแตร จึงถูกมองว่าเป็นการว่า หรือด่ามากกว่าเตือน  ทั้งที่การเตือนสามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้วิธี เช่นไม่กดแช่ยาว หรือ ขับผ่านแล้วกดแตรเป็นต้น
        รู้วิธีกดแตร การใช้แตรรถทุกคันล้วนมีวิธีการเหมือนกัน คือการกดลงไปที่แป้นตรงกลางพวงมาลัย ทว่าก็มีไม่กี่คนที่จะรู้ว่า การใช้แตรให้ถูกและไม่รบกวนโสตประสาท

วิธีการกดแตรนั้น จากหลักสามคำ “เตือน-ว่า-ด่า”  จงจำไว้ว่าการใช้แตรสื่ออารมณ์เราทุกครั้งที่กดลงไป ดังนั้นการใช้งาน จึงจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราสื่อสารออกไป แม้จะไม่ใช่คำพูดก็ตาม
                            จังหวะกด คนส่วนใหญ่มักนิยมกดแตรครั้งเดียวและยาว ด้วยความไม่รู้ และนั่นจึงเป็นที่มากว่า ทำไมคนส่วนใหญ่จึงคิดว่ามันกร่นด่าและยังสร้างความรำคาญอย่างไม่น่าเชื่อ อันที่จริงวิธีการกดเองมีความสำคัญอย่างยิ่ง และการสร้างจังหวะในการใช้แตรทำให้ไม่รู้สึกรำคาญ โดยผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศบอกว่า มันจะรู้สึกดีกว่าการบีบครั้งเดียวยาวๆ คล้ายกับเราว่ากล่าวด้วยความสุภาพไม่ใช่ด่า

                           น้ำหนักกด หลายคนคงแปลกใจว่าการใช้แตรมีน้ำหนักด้วยหรือ ใช่มันมี... เพียงแต่เราหลายคนไม่เคยคิด ตัวแตรเองมีเสียงที่สามารถใช้ในช่วงจังหวะ ตั้งแต่ไม่ส่งเสียงจนถึงเสียดังสุด ดังนั้น ใช่ มันมีระดับความดังด้วย แม้ตัวแตรจะถูกทำให้กดได้ในจังหวะเดียวเหมือนกันหมดในรถยนต์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ แต่เราเองยังสามารถควบคุมระดับที่จะปล่อยออกไปได้ในระดับหนึ่ง โดยใช้การกดและปล่อยอย่างรวดเร็ว ยิ่งเร็วมากเท่าไร เสียงแตรที่ออกไปจะดังน้อยเท่านั้น และนั่นช่วยให้คุณไม่ดูเหมือน ขับไปด่าไปตลอดเวลา ที่ขับขี่บนถนน

                                C. รู้หลักการใช้ เมื่อรู้ว่าแตรกดได้อย่างไรบ้าง ก็ได้เวลาที่เราควรจะทราบว่ามันจะใช้ได้ในรูปแบบสถานการณ์ใดบ้าง แน่นอนว่า “แตร” ถูกใช้เพื่อป้องกันเหตุที่อาจจะเป็นอันตราย แต่ก็มีหลายสถานการณ์ที่แตรสามารถใช้ได้เช่นกัน

                                ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เผยว่า แตรไม่ควรใช้ในช่วงที่ภัยเข้ามาจวนตัว เพราะ มันจะทำให้การบังคับรถมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากหนึ่งถูกใช้กระแทกแป้นแตร แต่กลับนำว่าแตรควรชิก่อนจะเริ่มต้นเพื่อบอกผู้ขับขี่คนอื่นๆ และ ใช้ในหลังเกิดเหตุเพื่อเตือนผู้ขับขี่ (ไม่ควรใช้ขณะเกิดเหตุ หรือแก้สถานการณ์) แต่ที่ไม่ควรทำเลยคิดจอดอยู่เฉยๆแล้วบีบ

                                การใช้แตรก่อนเกิดเหตุ ... เมื่อเล็งเห็นเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุกับคุณเอง จากเพื่อนร่วมทาง คุณควรเริ่มที่จะใช้แตรทันที เช่นรถมีแววว่าจะออกจากซอยทันที โดยไม่ดูซ้ายขวา การบีบก่อน จะทำให้เกิดผลมากกว่า การที่คุณยกไฟสูงแล้วค่อยบีบแตรตามทีหลัง

                                การใช้แตรหลังเกิดเหตุการณ์... ในกรณีเดียวกันข้างต้น ถ้ารถที่กำลังจะอกจากซอยเกิดโผล่พรวดออกมาแล้ว สิ่งที่คุณควรทำคือหลีกเลี่ยงเหตุก่อน จากนั้นจึงค่อยส่งสัญญาณแตร จะดีกว่าบีบก่อนอย่างแบบแรก และนอกจากนี้ ในวิธีเดียวกันยังใช้เตือนเพื่อนร่วมทางได้ เช่น เจอพวกขับช้าชิดซ้าย การบีบแตร ขณะผ่าน จะนับเป็นการช่วยเตือนกฎการขับขี่ไปด้วยในตัว

                                อย่างไรก็ดี แตรก็ไม่ใช่ว่าใช้ได้ทุกที่ เพราะตามกฎหมายพรบ.จราจร ทางบกระบุอย่างชัดเจน ถึงสถานที่ ซึ่งคุณไม่ควรใช้แตร ได้แก่ ถนนในช่วงโรงเรียน โรงพยาบาล  วัด และในเขตพระราชฐาน รวมถึงในเขตที่มีป้ายเครื่องหมายสัญญาณห้ามบีบแตร แสดงไว้ด้วย

            การใช้ “แตร” ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียมารยาทอย่างที่หลายคนเข้าใจ ถ้าเพียงคุณรู้จักแล้วใช้อย่างเข้าใจ ความคิดที่ว่ามันเป็นการสร้างความน่ารำคาญ จะกลายเป็นการสร้างวินัยในการขับขี่ และความปลอดภัย ดังนั้นอย่างมองข้ามสิ่งที่อยู่ตรงหน้าที่สามารถ ช่วยชีวิต คุณได้